(โลโก้: http://www.prnasia.com/sa/2013/06/20/20130620123459460562.jpg )
(โลโก้: http://www.prnasia.com/sa/2013/06/13/20130613143647718391-l.jpg )
ในการนำเสนอของรัฐมนตรีอัลไบรท์ เธอได้พูดถึงการพัฒนาทิศทางการบริหารปกครอง และผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาทั้งในภาคการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยกล่าวว่า “รัฐบาลมีหน้าที่รับใช้” ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย และควรให้ความสำคัญเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นต่อความเป็นประชาธิปไตย และระบบกฏหมาย
รัฐมนตรีอัลไบรท์ได้กำชับถึงความจำเป็น ในการพัฒนาชนชั้นกลาง ที่เธอถือว่าเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ยิ่งประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐบาล การพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มแหล่งรายได้หลักของประเทศมากเท่าใด โครงสร้างสังคมก็จะแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเธอได้ยกประเทศอินเดียมาเป็นตัวอย่างในการบรรยาย อินเดียไม่ได้เป็นประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นประเทศที่มีแรงผลักดันสำคัญมากขึ้น
เธอได้กล่าวถึงเฮอร์บาไลฟ์ ในฐานะบริษัทที่มีโมเดลทางธุรกิจที่เป็น “ตัวอย่างอันน่าประทับใจ ที่มีส่วนทำให้ผู้คนสามารถทำมาหากิน สร้างเนื้อสร้างตัวจนกลายเป็นชนชั้นกลาง และมีบทบาทมากขึ้นในการปกครองระดับชุมชนและประเทศในที่สุด”
นายเดส์ วอลช์ ได้พูดถึงเรื่องโภชนาการและเศรษฐกิจ อีกทั้งความมุ่งมั่นของเฮอร์บาไลฟ์ในการส่งเสริมความสำเร็จ รวมถึงโอกาสที่ตัวแทนจำหน่ายอิสระสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของตนเองสู่ชนชั้นกลาง และมีบทบาทในเศรษฐกิจที่มีชีวิตชีวา
แมดเดอลีน เค อัลไบรท์
นางแมดเดอลีน เค อัลไบรท์ ดำรงตำแหน่งประธานอัลไบรท์ สโตนบริดจ์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทยุทธศาสตร์ระดับโลก และยังเป็นประธานของอัลไบรท์ แคปิตอล แมเนจเมนท์ แอลแอลซี อันเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการลงทุน โดยเน้นไปที่ตลาดเกิดใหม่ เธอเคยได้รับการแต่งตั้งให้ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐคนที่ 64 และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ดร.อัลไบรท์ ได้รับเกียรติจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ขึ้นรับเหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี (Presidential Medal of Freedom) ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สูงสุดของพลเรือนของสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี 2540 ดร.อัลไบรท์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศหญิงคนแรกของสหรัฐ และได้กลายเป็นสตรีผู้ทรงอิทธิพลอันดับหนึ่งในประวัติศาสตร์รัฐบาลอเมริกาขณะที่เธอดำรงตำแหน่ง ในวาระที่เธอเข้าทำงานในกระทรวง เธอได้กระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตร อุทิศตนให้กับความเป็นประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน อีกทั้งส่งเสริมการค้า ธุรกิจ แรงงานและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของสหรัฐสู่ตลาดโลก เมื่อปี 2536-2540 ดร.อัลไบรท์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนถาวรของยูเอ็น และสมาชิกคณะรัฐมนตรีอีกด้วย ในปี 2532-2535 เธอได้ดำรงตำแหน่งประธานศูนย์นโยบายแห่งชาติ และก่อนหน้านั้น เธอเคยเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติในสมัยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ และเจ้าหน้าที่ของทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐ และดำรงตำแหน่งประธานผู้ช่วยฝ่ายนิติบัญญัติให้กับนายเอ็ดมุนต์ เอส มัสกี้ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
เมื่อเร็วๆนี้ ดร.อัลไบรท์ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการทูต ที่คณะรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งประธาน สถาบัน National Democratic Institute for International Affaires และประธานโครงการสำรวจความคิดเห็น Pew Global Attitudes และยังเป็นประธานมูลนิธิทุน Truman Scholarship Foundation อีกด้วย
นายเดส์ วอล์ช เป็นบุคคลมีส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ เขาได้ทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเข้าใจและเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของเฮอร์บาไลฟ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยกรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือจาก 6 ภูมิภาคดำเนินงานโดยขึ้นตรงต่อเขา วอลช์ยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกเรื่องการตลาด การส่งเสริมการขาย ให้เงินสนับสนุน แนะนำกลวิธีทางธุรกิจ จัดกิจกรรม และการสื่อสารระหว่างตัวแทนจำหน่าย
นายวอลช์ เข้าร่วมงานกับเฮอร์บาไลฟ์เมื่อปี 2547 ในตำแหน่งรองประธานอาวุโสฝ่ายดูแลยอดขายของผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก โดยรับผิดชอบในส่วนของกลยุทธ์ด้านการขาย การพัฒนาธุรกิจ กิจกรรมของบริษัท การส่งเสริมการขายทั่วโลก และการให้บริการตัวแทนจำหน่าย หลังจากนั้น เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารฝ่ายขายและปฏิบัติการระหว่างประเทศ ซึ่งดูแลเรื่องการดำเนินกิจการบริษัทในตลาดของเฮอร์บาไลฟ์ทั้งหมดทั่วโลก
นายวอล์ชมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งสั่งสมมาจากการทำงานด้านการขาย การตลาด และการบริหารจัดการมาเป็นเวลาถึง 20 ปี
เกี่ยวกับหอการค้าอเมริกันในอินเดีย
หอการค้าอเมริกันในอินเดีย (AMCHAM - India) เป็นสมาคมที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรธุรกิจอเมริกันในประเทศอินเดีย AMCHAM — India อยู่ภายใต้การควบคุมของหอการค้าสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา (COCUSA) และยังเป็นองค์กรสมาชิกสภาหอการค้าอเมริกันแห่งเอเชียแปซิฟิค (APCAC) อย่างเต็มตัว AMCHAM ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 ปัจจุบันมีสมาชิกในองค์กรประมาณ 500 ราย ซึ่งมีบริษัทสัญชาติอเมริกันคิดเป็นสัดส่วน 95% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นสมาชิกรายบุคคลและสมาชิกกิตติมศักดิ์ โดยมีเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศอินเดียคนปัจจุบัน เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคม AMCHAM มีความยินดีในการทำงานกับทางสถานทูตสหรัฐอย่างใกล้ชิด และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสมาคม
เกี่ยวกับเฮอร์บาไลฟ์
เฮอร์บาไลฟ์ (จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กในชื่อ: HLF) เป็นบริษัทโภชนาการระดับโลก ที่จำหน่ายสินค้าประเภทควบคุมน้ำหนัก โภชนาการ และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เฮอร์บาไลฟ์ได้วางจำหน่ายสินค้าของบริษัทในกว่า 80 ประเทศ ผ่านเครือข่ายตัวแทนอิสระทั่วโลก นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้ให้การสนับสนุนมูลนิธิครอบครัวเฮอร์บาไลฟ์ (Herbalife Family Foundation) และโครงการคาซาเฮอร์บาไลฟ์ (Casa Herbalife) เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีสำหรับเด็กๆ โดยในเว็บไซต์เฮอร์บาไลฟ์ได้มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทอย่างละเอียดในด้านการเงินและข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆสำหรับนักลงทุนที่ http://ir.Herbalife.com นักลงทุนควรจะเข้าไปดูเว็บไซต์เป็นระยะๆ เนื่องจากบริษัทจะคอยอัพเดทข้อมูลและหาข้อมูลใหม่ๆลงเว็บไซต์อยู่เสมอ
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
หอการค้าอเมริกันในอินเดีย
อนิชา คาปัว (Anisha Kapoor)
หัวหน้าโครงการ
โทร: + 91-11-26525201/02
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: www.amchamindia.com
เฮอร์บาไลฟ์ เอเชีย แปซิฟิค
ดาเลีย โมฮัมหมัด เลียว (Daliea Mohamad-Liauw)
รองประธานฝ่ายสื่อสารองค์กร ภูมิภาเอเชีย แปซิฟิค
โทร: +852-3589-2643
อีเมล: [email protected]