เยอรมนีจีบกลุ่มซอฟต์แวร์ไทย เล็งว่าจ้างผลิตซอฟต์แวร์บริหารจัดการองค์กรและค้าปลีก

อังคาร ๒๕ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๔:๓๙
บีโอไอแฟรงก์เฟิร์ต จับมือสถานทูตไทยที่เยอรมนี นำ 4 บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นนำของไทย ไปร่วมงาน ASIA PACIFIC WEEKS 2013 ประสบผลสำเร็จเกินคาด โดยบริษัทในเยอรมนีสนใจให้ผู้ผลิตของไทยผลิตซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจค้าปลีก และซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมการผลิตในโรงงานและโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน

นายชนินทร์ ขาวจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ กรุงแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ แฟรงก์เฟิร์ต เปิดเผยว่า จากการที่ นางสาวกรองกนก มานะกิจจงกล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (OSOS) ได้นำคณะผู้บริหารจากบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำ 4 บริษัทของไทยไปร่วมงาน ASIA PACIFIC WEEKS 2013 ที่กรุงเบอร์ลินช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งระหว่างนั้น สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลินได้ร่วมกับบีโอไอ แฟรงก์เฟิร์ต จัดงานไทยแลนด์ บิสสิเนสเดย์ ( THAILAND BUSINESS DAY ) เพื่อให้ภาคธุรกิจของ 2 ประเทศได้จับคู่ธุรกิจและหารือเรื่องการค้าการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งผลของการหารือในเบื้องต้นผู้ประกอบการไทย 4 รายได้เจรจาธุรกิจกับผู้แทนของบริษัทเยอรมนี 7 ราย และมีแนวโน้มจะได้รับงานผลิตซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจค้าปลีก รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การบริหารจัดการองค์กรทั่วไป และด้านสุขภาพ ,โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะหรือมูลสัตว์ ( BIOMASS ) เทคโนโลยีแก๊สชีวภาพ ( BIOGAS ) เป็นต้น

“ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสให้บริษัทจากเยอรมนีเข้ามาทำตลาดในอาเซียนได้มากขึ้น ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับฝ่ายไทย ซึ่งบริษัทซอฟต์แวร์ของไทยที่พาไปนั้นมีฐานลูกค้ามากมายในอาเซียนอยู่แล้ว และหากมีความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย เพราะบริษัทจากเยอรมนีมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะในด้าน Automation หรือการใช้เครื่องจักรทำงานแทนคนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยด้วย” นายชนินทร์กล่าว

สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยนั้น ตลาดส่วนใหญ่เป็น ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจซอฟต์แวร์ด้านการบริการ และซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่บริษัทซอฟต์แวร์ 4 บริษัทที่ได้ไปร่วมงานไทยแลนด์ บิสสิเนสเดย์ ได้แก่ บริษัท Soft Square Group of Companies และ บริษัท Bery l8 Plus ผู้นำด้านการให้บริการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการภายในองค์กร บริษัท Tropical Tech จำกัด ผู้นำด้าน Infrastructure and Factory Automation, Software Engineering รับผลิตงานด้านการออกแบบ พัฒนาโปรแกรม Interfacing การทดสอบ และบริษัท Ecartstudio จำกัด บริษัทชั้นนำด้าน Location-Based Information Systems

ขณะที่การลงทุนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในไทย พบว่า จากสถิติการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ตั้งแต่ปี 2539 -2555 มีคำขอรับการส่งเสริมลงทุนในกิจการซอฟต์แวร์ทั้งสิ้น 1,080 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 12,302 ล้านบาท เป็นโครงการของคนไทยยื่นขอรับส่งเสริมมากถึง 666 โครงการ เงินลงทุน 7,187.5 ล้านบาท เป็นโครงการลงทุนจากต่างประเทศ 414 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 5,114.7 ล้านบาท โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในกิจการซอฟต์แวร์มากที่สุด คือประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ และเยอรมนี ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม