บทความ "ชะลอคิวอี โลกพร้อมหรือยัง??" โดย จีทีเวลธ์ แมเนจเมนท์

พุธ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๐:๕๒
ชะลอคิวอี โลกพร้อมหรือยัง ??

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าสัญญาณการชะลอมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้น กดดันสินทรัพย์แทบจะทุกประเภท โดยหลังการรายงานผลการประชุมในช่วงวันที่ 19 ที่ผ่านมาราคาหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงทันที ไม่เว้นแม้แต่ราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำก็ร่วงลงตามกัน ซึ่งในภาวะปกติสถานการณ์ที่เราเห็นการร่วงลงของสินทรัพย์เสี่ยงแรง ๆ นั้น มักจะตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อเป็นการพักเงินหรือหนีความผันผวนแต่เหตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันคือการร่วงลงอย่างหนักของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ และต่อเนื่องถึงตลาดพันธบัตรในชาติอื่น จากสิ่งที่เกิดขึ้นเราพอจะกล่าวได้หรือไม่ว่าความสำคัญของนโยบายสภาพคล่องหรือ QE สหรัฐฯ มีความสำคัญต่อตลาดการลงทุนโลก และคำถามที่สำคัญกว่านั้นคือโลกพร้อมหรือยังที่จะออกจากการพึงพานโยบายสภาพคล่อง ซึ่งในมุมมองส่วนตัวผมเชื่อว่า “ยังไม่พร้อม”

ก่อนที่จะอธิบายถึงความไม่พร้อมในการ “exit policy” ผมก็อธิบายสิ่งที่เกิดในตลาดพันธบัตรและทิศทางดอกเบี้ยกันเป็นปฐมก่อน หลังการส่งสัญญาณชะลอ QE ของสหรัฐ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของชาติต่าง ๆ ทั่วโลกดีดตัวสูงขึ้นอย่างมากตัวอย่างเช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปีสหรัฐฯ พุ่งขึ้นประมาณ 40 basis point หรือ 0.40% อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปีญี่ปุ่น พุ่งขึ้นประมาณ 3 basis point หรือ 0.03% อิตาลี สเปนและโปรตุเกสปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 30 basis point ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 27 basis point หรือประมาณ 0.27% ทำให้ประเมินโดยรวมจึงอาจจะกล่าวได้ว่าจุดต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาจจะผ่านไปแล้ว หมายถึงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคต

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการขยับขึ้นของดอกเบี้ย (ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากความวิตกชะลอ QE) สำหรับประเทศไทยในระยะกลางอาจจะกระทบเพียงเล็กน้อย แต่ระยะสั้นความผันผวนจากการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วส่งผลต่อค่าเงินบาท ส่วนระยะยาวต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย แต่สำหรับบางประเทศการเร่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่แล้วมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น และตัวสหรัฐอเมริกาเอง

สำหรับยุโรปแล้วชาติที่น่าห่วงคือกลุ่มที่กำลังประสบปัญหาหนี้สินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงปริมาณหนี้แล้วระดับของหนี้สินยังไม่ได้ลดลง โดยหนี้ที่ครบกำหนดชำระมีการ refinance ผ่านการรับเงินช่วยเหลือและการออกพันธบัตรเพิ่ม การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทำให้การ refinance ในอนาคตมีต้นทุนที่สูงขึ้น และเมื่อภาระดอกเบี้ยสูงขึ้นความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตก็จะลดลง และเป็นตัวแปรสำคัญต่อเครดิตความน่าเชื่อถือ ขณะที่ชาติที่ยังไม่ได้ประสบปัญหาหนี้สินโดยตรงก็มีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดไม่เว้นแม้แต่ชาติผู้นำกลุ่มอย่าง เยอรมนีและฝรั่งเศส การเดินหน้าเพื่อลดความเข้มงวดในการขาดดุลในอนาคตเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นก็จะไปบดบังความน่าสนใจในการลงทุนภาคเอกชนขณะที่เพิ่มภาระให้ภาครัฐ เนื่องจากการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งทำให้อัตราการกู้ยืนเงินของภาครัฐเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ขณะที่สหรัฐฯ เองมีความอ่อนแอในภาคการเงินและอสังหาฯ การขยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดก็อาจจะไปชะลอการฟื้นตัวที่เป็นไปอย่างอ่อนแออยู่แล้วในปัจจุบัน ประกอบกับราคาสินทรัพย์ที่ร่วงลงยิ่งลดสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจและกระทบต่อภาคการลงทุน ด้านการพึ่งพานโยบายการคลังสหรัฐฯ เองยังประสบปัญหาการผ่านมาตรการต่าง ๆ ในสภาคองเกรส และด้วย sequestration ที่ลดทอนรายจ่ายการคลังอยู่แล้วยิ่งทำให้การพึ่งพาการใช้จ่ายภาครัฐทำได้น้อยลง

ดังนั้นโดยสรุปผมเชื่อว่าโดยสภาวะที่เราอยู่ในปัจจุบันนั้น เรายังไม่พร้อมที่จะออกจากทิศทางนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเหมาะกับการผ่อนคลายนโยบายตลอดไป ท้ายสุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนโยบายการเงินต้องมีทางลง มิเช่นนั้นก็จะก่อให้เกิดปัญหาในรูปแบบอื่นตามมา เพียงแต่จังหวะเวลาและขั้นตอนในการก้าวลงต่างหากที่ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนผลกระทบที่เกิดกับตลาดการลงทุนก็คงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าพื้นฐานของสิ่งที่เราลงทุนยังดี ผมเชื่อว่าโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคตก็มีเช่นกัน

โดย กมลธัญ พรไพศาลวิจิต

ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด

GT Wealth Management

www.gtwm.co.th

TEL : 02-673-9911

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version