สภาวิชาชีพรับแก้ไขพัฒนาด้านจริยธรรมสื่อบรอดแคสหลังเหตุ TGT

พฤหัส ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๐๘:๑๙
ตามที่มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สมาคมสายใยครอบครัว สมาคมผู้บกพร่องทางจิต เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อการนำเสนอรายการที่มีความไม่เหมาะสมในฟรีทีวี กรณีรายการ Thailand Got Talent Season 3 ที่ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ได้ออกอากาศการแสดงของผู้เข้าร่วมแข่งขันชื่อนายสิทธัตถะ เอมเมอรัล ต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ นั้น

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกสทช. ในฐานะประธานอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง ได้ส่งเรื่องเข้าสู่วาระการพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เนื่องจากประเด็นข้อร้องเรียนในหนังสือระบุว่าการออกอากาศขัดกับหมวดที่ ๒ จริยธรรมของการแพร่ภาพและการกระจายเสียง ข้อ ๒.๕.๑.๓ ,ข้อ ๒.๕.๑.๖ และ ๒.๕.๑.๘ แห่งข้อบังคับสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียงว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ คือไม่ระมัดระวังหรือรัดกุมเพียงพอในการนำเสนอเรื่องราว ภาพ และเสียงเกี่ยวกับบุคคล ผู้ที่อาจมีลักษณะของความเปราะบาง (Vulnerable) หรือพิการ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยขอให้เชิญสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียงมาพิจารณาและดำเนินการใช้กลไกการกำกับดูแลกันเองอย่างเต็มที่ในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าผิดจริงตามกฎข้อบังคับต่างๆ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯได้มีการพิจารณาไปเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ชั้น ๑ โรงแรมเดอะสุโกศล โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ ได้แก่ นางอรุณีประภา หอมเศรษฐี ประธานสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 ได้แก่ นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย รองประธานผู้จัดการและรักษาการผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการและนางนิมะ ราซิดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และนายปัญญา นิรันดร์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Workpoint Entertainment จำกัด (มหาชน) ผลจากการหารือที่ประชุมมีมติให้ส่งกรณีข้อร้องเรียนดังกล่าว ไปยังสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) เพื่อดำเนินการพิจารณาตามกระบวนการของสภาวิชาชีพฯ เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสังคม โดยขอให้แจ้งผลการพิจารณากลับมายัง กสทช.ภายใน ๑ สัปดาห์

นางสาวสุภิญญา มีความเห็นเพิ่มเติมว่า หากกระบวนการในการกำกับดูแลกันเองมีประสิทธิภาพและสามารถปฏิบัติได้จริง จะเป็นการลดผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมาก แต่หากเป็นไปในทางตรงข้าม กระบวนการทางกฎหมายก็จำต้องเข้ามามีบทบาทแทนเกือบทุกกรณี สำหรับการร้องเรียนกรณีนี้ตนและคณะอนุกรรมการฯเข้ามามีบทบาทด้วยเหตุผลสองประการคือ ๑. ผู้ร้องเรียน (มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวฯ) ยื่นข้อร้องเรียนโดยตรงมายัง กสทช.โดยข้อร้องเรียนระบุชัดว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณจริยธรรมในการนำเสนอและการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ๒.ตนและคณะอนุกรรมการฯพิจารณาแล้วเห็นว่า การกำกับดูแลกันเองจะเกิดผลก็ต่อเมื่อองค์กรวิชาชีพมีการดำเนินการตรวจสอบและจัดการกับสมาชิกให้อยู่ในกรอบมาตรฐานจริยธรรมที่กำหนดขึ้นได้จริง กรณีนี้สภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) มีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการช่องฟรีทีวีและผู้ผลิตรายการรายใหญ่ รวมทั้งได้มีการกำหนดข้อบังคับและกลไกการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว จึงเป็นการสมควรต้องผลักดันให้สภาวิชาชีพฯดำเนินการตามกลไกที่มีอยู่ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ส่วนกรณีการดำเนินการทางปกครองตามมาตรา ๓๗ ตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกสทช.เป็นประธาน

ภายหลังการประชุมและการประสานงานในกรณีดังกล่าว สภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและกระจายเสียง (ประเทศไทย) มีหนังสือที่ PBC ๐๑๒/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ ถึงประธานอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง เพื่อแจ้งความคืบหน้าการพิจารณาข้อร้องเรียนการออกอากาศรายการ “Thailand Got Talent” กรณี “นายสิทธัตถะ เอมเมอรัล” มีสาระสำคัญ ดังนี้

๑. สภาวิชาชีพฯ ได้ดำเนินการตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมเพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามข้อบังคับสภาวิชาชีพการแพร่ภาพและกระจายเสียงว่าด้วยวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการจริยธรรมได้เชิญเกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยจะมีการดำเนินการเพื่อบรรเทาเยียวยา ดังนี้

(๑) สภาวิชาชีพฯ จะจัดเสวนาในหัวข้อ “จรรยาบรรณวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการการแพร่ภาพและกระจายเสียงในมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม

(๒) บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จะจัดสรรเวลาเพื่อออกอากาศรายการที่ให้ความรู้ต่อประชาชนอันเกี่ยวข้องกับผู้ด้อยโอกาส โดยจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนี้ และประธานสภาวิชาชีพฯ มาสนทนาในรายการ

๒. สภาวิชาชีพฯ จะมีการดำเนินการส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม โดยจะมีการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการทำรายการ และคัดเลือกผู้แข่งขัน และการตรวจสอบประวัติของผู้แข่งขันรายการ TGT และจะได้พิจารณาระบบการตรวจสอบการออกอากาศรายการของช่อง ๓ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสภาวิชาชีพฯ และได้ตัดเตือน บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในเรื่องจรรยาบรรณของวิชาชีพแล้ว ซึ่งจะแจ้งให้ทราบต่อไป

สำหรับการเยียวยาสังคมที่สภาวิชาชีพฯ แจ้งมานั้น คณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองจะประสานงานให้มีการแจ้งความคืบหน้าและรายงานผลให้คณะอนุกรรมการฯทราบ เพื่อเสนอต่อ กสท.เพื่อทราบตามลำดับต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ