ธัญญารักษ์เผย นโยบายบำบัด “ติดยา หายขาดได้” เตรียมลงพื้นที่เข้าถึงส่วนภูมิภาค หวังเพิ่มจำนวนบำบัดสมัครใจ ผู้เสพ — ครอบครัวมีส่วนร่วม

พฤหัส ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๒๔
กรมการแพทย์ และ สถาบันธัญญารักษ์ หวังสร้างประสิทธิภาพการบำบัด รักษาผู้ติดยาเสพติด เน้นกระบวนการสมัครใจ เล็งเห็นประโยชน์การบำบัด และโทษของยาเสพติดด้วยแรงขับจากตัวผู้เสพ และครอบครัว จัดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจภายใต้แนวคิด “ติดยา หายขาดได้” เตรียมลงพื้นที่ส่วนภูมิภาค พร้อมกระจายสื่อ เข้าถึง ตรงจุด สร้างทัศนคติ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย หายขาดได้ ถ้าได้รับโอกาส

นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ยาเสพติด ปัจจุบันยังมีตัวเลขที่สูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะลดลงไปบ้างจากในอดดีต เนื่องจากการเอาจริงเอาจังด้านการปราบปรามและเฝ้าระวัง แต่จากการคาดประมาณของสำนักงาน ป.ป.ส. คาดว่า มีผู้เสพยาเสพติดมากกว่า 1,200,000 คน และจากข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาซึ่งกรมการแพทย์โดยสถาบันธัญญารักษ์ และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในเขตภูมิภาคอีก 6 แห่งทั่วประเทศ พบว่าจากการรวบรวมสถิติผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมด จำแนกตามปีงบประมาณ 2552-2556 เมื่อแยกตามช่วงอายุของผู้เข้ารับการบำบัด พบว่า ในปี 2555 - 2556 ผู้ป่วยยาเสพติดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20 — 24 ปี ซึ่งต่างจากในช่วงแรกที่อยู่ในกลุ่มอายุ 15 — 19 ปี ซึ่งยังถือว่า เป็นกลุ่มของวัยรุ่นและวัยรุ่นตอนปลาย สอดคล้องกับการจำแนกสถิติที่แยกตามกลุ่มการศึกษา พบว่า นับตั้งแต่ปี 2552 — 2556 กลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดส่วนใหญ่ คือ กลุ่มมัธยมศึกษา โดยเปรียบเทียบในปี 2555 มีจำนวนร้อยละ 58.50 และในปี 2556 มีจำนวน 59.64 ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ การดำเนินงานด้านการรณรงค์ และสร้างความรู้ความเข้าใจ จึงต้องมุ่งเน้นไปที่กลุ่มครอบครัว เยาวชน และสถาบันการศึกษาเป็นหลัก เพื่อสามารถสร้างความตระหนัก และลดสถิติของผู้ที่ใช้สารเสพติดได้อย่างสัมฤทธิ์ผล และหากดูสถิติของผู้เข้ารับการรักษาโดยมีการจำแนกตามประเภทของสารเสพติด พบว่า “ยาบ้า” มีปริมาณสูงที่สุดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 — 2556 โดยในปี 2556 มีจำนวนมากถึงร้อยละ 55.97 รองลงมาคือ ยาเสพติดประเภท สุรา ร้อยละ 17.96 นอกจากนี้ ยังพบว่า “ยาไอซ์” ก็เป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่งที่พบแนวโน้มการแพร่ระบาดสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง

และการดำเนินโครงการ ภายใต้สโลแกน “ติดยา หายขาดได้” มีสาระสำคัญสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบำบัดรักษา ปี 2556 โดยประมาณการผู้เสพยาเสพติดไว้ที่ ประมาณ 1.9 ล้านคน มีสาระสำคัญของการดำเนินงาน ประกอบด้วย ควบคุมและลดระดับปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน “ให้ได้” จัดให้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ป้องกัน ? ลดรายใหม่+ซ้ำ ,ปรับระบบบำบัดฯ จำแนก — คัดกรอง — ติดตาม พร้อมสานต่อไปยังพื้นที่กำหนดเป้าหมายตนเอง ?ควบคุมและลดปัญหาให้ได้

ด้วยเหตุนี้ การดำเนินงานในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ ในด้านการปราบปราม และคอยตรวจสอบ จับกุมผู้กระทำผิดอย่างเอาจริงเอาจัง หรือในภาคส่วนของสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องให้ความใส่ใจ ติดตามผล ดูแลทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจ ตลอดจนภาคประชาชน ก็ต้องร่วมมือต่อต้าน ปลูกฝังเยาวชนทั้งในระดับครอบครัว และสถานศึกษา ไม่ให้มีค่านิยมข้องเกี่ยวกับยาเสพติด และช่วยให้ปริมาณของผู้ใช้สารเสพติด เข้ามาสู่กระบวนการบำบัดรักษาด้วยวิธีการสมัครใจให้มากที่สุด จนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นโอกาสที่ดีในการส่งคืนคนดีกลับสู่สังคมไทยอย่างได้ผล

นายแพทย์วิโรจน์ วีรชัย ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของนโยบายกรมการแพทย์และสถาบันธัญญารักษ์นั้น โจทย์สำคัญที่เล็งเห็นว่าควรดำเนินการอย่างจริงจัง คือ “จะทำอย่างไร ให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแล้ว ไม่กลับไปเสพซ้ำ และเลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างถาวร โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เสพเอง และครอบครัว” ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า “มีจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาประมาณร้อยละ 30 มีการกลับไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดอีก” จึงเกิดเป็นการดำเนินโครงการ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลวิชาการด้านยาเสพติดสู่ประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลวิชาการด้านยาเสพติดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก แก่ประชาชน เยาวชน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ กลุ่มติด เรื่องโรคสมองติดยา โทษของยาเสพติดต่อสมอพฤติกรรม แนวทางการช่วยเหลือโดยการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที มีแนวทางในการเลือกวิธีการลดละเลิกยาเสพติด และการเข้ารับการบำบัดรักษา ไม่ปล่อยจนเรื้อรั้ง และสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสื่อมวลชน นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์เพื่อถ่ายทอดสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางวิชาการสู่ประชาชน และมีสโลแกน “ติดยา หายขาดได้” ซึ่งนับเป็นโครงการสำคัญที่มีการลงลึกมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยกระบวนการประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของโทษและพิษภัยของยาเสพติด

ซึ่งกำลังสำคัญส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการนี้คือ การสานความร่วมมือมายังสื่อมวลชนทุกแขนง ในการเป็นสื่อกลาง หรือกระบอกเสียงสำคัญเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องโทษของยาเสพติด ที่สามารถส่งผลกระทบทั้งตัวผู้เสพ ครอบครัว และสังคม เพื่อลดจำนวนผู้ที่ติดยาเสพติด รวมถึงช่วยให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการสมัครใจมากขึ้น ตลอดจนช่วยให้ครอบครัวหรือคนในสังคมเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อผู้เคยผ่านการเข้ารับการบำบัดรักษามาแล้ว เปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้ ไม่เกิดความรู้สึกกดดันและกลับไปเสพซ้ำในที่สุด

โดยในกระบวนการดำเนินงาน จะมีการลงพื้นที่ไปยังส่วนภูมิภาค เพื่อจัดกิจกรรม “ติดยา หายขาดได้” และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ โดยอาศัยสื่อมวลชนประจำส่วนท้องถิ่น ตลอดมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจในรูปแบบต่างๆ และอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสื่อกลาง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนได้รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การประชาสัมพันธ์ทางสื่อ BTS, Bus Ad รถประจำทาง ,Roll up สำหรับแจกโรงเรียนและสถานพยาบาลยาเสพติดทั่วประเทศ , การจัดทำ Facebook ติดยา หายขาดได้ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมแสดงพลัง และร่วมทำกิจกรรมในภาคส่วนต่างๆที่จะมีขึ้นต่อไปในโครงการนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ