จดหมายเหตุอุเทนถวาย ฉบับพิเศษ (ครบรอบ 100 ปี อุเทนถวาย)

จันทร์ ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๓๐
จดหมายเหตุอุเทนถวาย ฉบับพิเศษ (ครบรอบ 100 ปี อุเทนถวาย)เนื่องใน วันคล้ายวันสิ้นพระชนน์ครบ ๙๐ ปี สมเด็จฯกรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราชัยผู้วางรากฐานโรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างแห่งแรกของสยามประเทศนามว่า ” อุเทนถวาย ”

โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย... ข้อโต้แย้งกรณี ที่จุฬาฯ ตอบจดหมายของสโมสรนักศึกษา มทร.วิทยาเขตอุเทนถวาย วันที่ ๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอุเทนถวาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ขอชี้แจงแทนสโมสรนักศึกษาฯ เรื่องขัอโต้แย้งกรณี ที่จุฬาๆตอบจดหมายของสโมสรนักศึกษาวิทยาเขตอุเทนถวาย ลงวันที ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖ ถึงอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้แก่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ในเอกสาร จุฬาสัมพันธ์ ฉบับพิเศษ ลงวันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖

คณะกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ฯ เชื่อมั่นว่า ข้อมูลที่ค้นคว้ามานำเสนอต่อสาธารณชนนั้น เป็นหลักฐานทางเอกสารต้นฉบับ ที่มีจำนวนมากและใช้เวลาค้นคว้าอยู่หลายปี ประกอบกับมีหลักฐานทางวัตถุที่สูญหายไปนาน สามารถอ้างอิง เชื่อมโยงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของผู้ให้กรรมสิทธิ์และผู้ให้กำเนิดโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายที่แท้จริง ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

ประเด็นที่หนึ่ง

สถาบันการศึกษาแห่งนี้เป็นหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการเพื่อประโยชน์การศึกษาของชาติ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อที่จะสืบทอดกระแสระราชดำริ ของ สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยในศิลปะการช่างของไทยจะถูกอิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรมชาติตะวันตกที่แพร่หลายเข้ามาครอบงำ อาจถึงคราวเสื่อมสูญได้ โดยเฉพาะวิชาช่างก่อสร้าง ตามพระราชกระแสรับสั่ง ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ที่ว่า “ . . . ถ้าหากว่าเราเลือกจับช่องที่เหมาะ เช่น นักเรียนการปลูกสร้าง ให้ตัวอย่างที่จะออกไปทำการได้ในกระทรวงโยธาฤาตามหัวเมือง เช่นนี้ การคงสำเร็จ . . .” และทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ทรงเป็นที่ปรึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕ พระองค์ได้นำผลกำไรจากการค้าของโรงเรียนเพาะช่าง เตรียมไปสร้างโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง “ ทรงกะแบบและก่อพระฤกษ์ด้วยพระองค์เอง แต่กลับสิ้นพระชนน์เสียก่อน โรงงานหลังนี้จะทำสำเร็จได้ในจำนวนเงินหมื่นบาท” จางวางเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ทูลเกล้าถวายรายงานเรื่องอนุโมทนาในพระมหากรุณาธิคุณ ส่งกระทรวงมุรธาธร พระองค์ทรงสิ้นพระชนน์วันที่ ๘ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๖๖

ประเด็นที่สอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆ พระราชทานเงินการพระราชกุศล จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้สร้าง โรงงานนักเรียนเพาะช่าง (แผนกก่อสร้าง) มีพระราชประสงค์ ทรงพระราชอุทิศพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ” ในปี พศ. ๒๔๖๖ บนที่ดินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะเป็นโครงการถาวรวัตถุสืบยั่งยืนนานตลอดกาล ไม่มีผู้ใดจะยกเลิกโครงการอนุสรณ์สถานที่รำลึกแห่งพระอนุชาของพระองค์ท่านได้ ที่ดินถือเป็นส่วนควบกับตัวโรงงานฯ อ้างตาม เอกสาร หนังสือหอรัษฏากรพิพัฒน์และหนังสือจากกระทรวงวัง นับว่าเป็นพินัยกรรมฉบับสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคต อีก๒ปีต่อมา ในปี พุทธศักราช ๒๔๖๘

ล้นเกล้ารัชกาลที่๖ ทรงประสงค์ให้สร้างโรงงานพระราชทานฯนี้เพื่อเป็น โรงเรียนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ระบุทายาทผู้รับมรดกคือ “ นักเรียนเพาะช่าง (ก่อสร้าง)ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ” บนที่ดินพินัยกรรมของพระราชบิดา ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ฉะนั้นหลังจากโครงการพระราชทานนี้อุบัติขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๖๖ ถือว่ามีผล ยุติสัญญาเช่าที่ดินของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯในทันที ๒ปีก่อนครบสัญญาเช่าในพ.ศ.๒๔๖๘

หลังจากที่รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคตแล้ว ๑๖ ปี ก็ไม่ปรากฏ หลักฐานการพระราชทานที่ดินจากพระมหากษัตริย์พระองค์ใด กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ ในปีพ.ศ.๒๔๗๕ และมีมติจากสภาผู้แทนราษฏร สมัยหลวงพิบูลยสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่ ล้นเกล้ารัชกาลที ๘ ยังทรงพระเยาว์ โดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้ ในลักษณะ พระราชบัญญัติ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของพระมหากษัตริย์ทั้งหมดจำนวน ๑,๒๗๗ ไร่ ๑ งาน๑วา ให้กับหน่วยงานราชการชื่อว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๘๒

ประเด็นที่สาม

เอกสารดังกล่าวเพียง แสดงขอบเขตที่ดินประกอบ สัญญาเช่าที่ดิน ระหว่างโรงเรียน ข้าราชการพลเรือนฯกับพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๒๗๗ ไร่ ๑ งาน๑วา เป็นเวลา ๑๐ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๙ — ๒๔๖๙ เงินค่าเช่าเดือนละ ๑,๒๐๐ บาท (ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๘ หลังจากที่ รัชกาลที่๖ เสด็จสวรรคตแล้ว๑๐ปี มีการทำสัญญาเช่าที่ดินต่ออีก ๓๐ ปี) จุดประสงค์ให้ใช้เป็น พื้นที่เพื่อการศึกษา เท่านั้น ห้ามมิให้ผู้เช่าทำประโยชน์อื่นเช่นทำธุรกิจการค้าพาณิชย์ หรือปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบนที่ดินผืนนี้ ถ้าฝ่าฝืนจะถือเป็นยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินในทันที

ประเด็นที่สี่ . พยานบุคคลผู้ที่ได้รับพระบัญชาโดยตรง ปรากฏอยู่ในพระบรมราชโองการ พ.ศ.๒๔๖๖ คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้สนองพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยการสานต่อโครงการพระราชทาน “ โรงงานนักเรียนเพาะช่างก่อสร้าง ” ให้สมบูรณ์เป็น “โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างแห่งแรกของสยามประเทศ” เรียกชื่อว่า “โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ทรงอุทิศพระราชทานแด่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราชัย ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ (เป็นปีที่เหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ในสภาวะสับสน ๔เดือนหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของชาติ ๓เดือนก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ) นับเป็นอาคารอำนวยการหลังแรกของโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดย ระบุตำแหน่งที่ตั้งตัว “ โรงงานของโรงเรียนเพาะช่าง ” เชิงสะพาน อุเทนถวาย ถนนพญาไท ณ.ศูนย์กลางของที่ดินทรัพย์สินพินัยกรรมส่วนพระองค์ผืนนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จสวรรคต ในวันที ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ข้าราชการและพนักงานกรมสรรพากร ร่วมบริจาคเงินสร้างสะพานฯ เพื่อน้อมเกล้าฯถวายเป็นทั้งอนุสรณ์สถานถาวรวัตถุ เชิดชูพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชกุศลรำลึกแด่พระองค์ท่าน (กรมสรรพากรมีตราประจำกรมเป็นรูป "พระเจ้าอุเทนดีดพิณ" ) บนที่ดินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ผืนนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานว่า "อุเทนถวาย" และทรงเสด็จเปิด เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

ในปีพ.ศ.๒๔๗๕ โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการท่ามกลางเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเมืองขณะนั้น สะพานอุเทนถวายได้ถูกลบชื่อออก และ คลองอุเทนถวาย (คลองสวนหลวง) ถูกถมกลบอย่างเร่งด่วน ในปีพ.ศ.๒๔๕๗ จึงไม่สามารถทราบตำแหน่งที่ตั้งของ โรงงานพระราชทานฯ ที่ระบุว่าอยู่เชิงสะพานฯ ส่วนตัวสะพานอุเทนถวายหลงเหลือเพียง แนวระเบียงและถูกรื้อถอนทั้งหมด ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ โดยสำนักจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ และไม่เคยยืนยันหรือเปิดเผยหลักฐานต่อสาธารณชนว่า มีสถานที่ดังกล่าวอยู่จริงหรือไม่ พบแต่ประกาศว่า โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างฯ เช่าที่ดินของจุฬาฯ ตลอดเวลาที่ผ่านมา

ประเด็นที่ห้า การตราพระราชบัญญัติ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๘๒ ในสมัยที่ จอมพลแปลก พิบูลยสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทน ล้นเกล้ารัชกาลที่๘ ขณะที่ยังทรงไม่บรรลุนิติภาวะ และควบตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ นั้น กระทำมิได้เนื่องจาก ไม่พบพระบรมราชโองการที่ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขณะที่พระองค์ยังทรงครองราชย์อยู่ ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบแต่สัญญาเช่าที่ดิน ระหว่างโรงเรียน ข้าราชการพลเรือนฯกับพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๒๗๗ ไร่ ๑ งาน๑วา เป็นเวลา ๑๐ปี และพบเพียงพระพินัยกรรมให้สร้าง โรงงานนักเรียนเพาะช่าง(ก่อสร้าง) ทรงอุทิศพระราชทานแด่ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ในปีพ.ศ.๒๔๖๖ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เท่านั้น เป็นการตีความที่ คลาดเคลื่อนและขัดพระราชประสงค์ ฉะนั้นจึงสมควร ยกร่างพระราชบัญญัติ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คืนให้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยผ่านพระคลังข้างที่ ตรงตามพระราชประสงค์ทุกประการ

โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ของ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ จวบจนถึงณ.ปัจจุบันนี้ พ.ศ.๒๕๕๖ รวมระยะกว่าเวลา ๙๐ ปี ได้รับสนองตามพระราชประสงค์ มิเคยเปลี่ยนแปลงพระราชปฏิธานในการเพาะ“นักเรียนช่างฯพระราชทาน” แห่งสยามประเทศ เพื่อผลิตและวางรากฐานนักเรียนช่างก่อสร้างไทยให้มีทักษะทางวิชาชีพ แพร่ขยายไปพัฒนาประเทศชาติ เจาะจง เฉพาะการศึกษาสายวิชาชีพเทคโนโลยีการก่อสร้างเท่านั้น จึงมิบังควรที่ข้าราชการหน่วยงานใดๆ จะกระทำการอันขัดแย้งกับพระราชประสงค์ โดยการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของ โครงการโรงเรียนช่างก่อสร้างพระราชทาน ที่พระองค์ฯ ทรงพระราชอุทิศพระราชทาน เป็นอนุสรณ์สถานถาวรวัตถุ เชิดชูพระเกียรติยศ แด่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นมรดกถาวรวัตถุของแผ่นดินแห่งสยามประเทศสืบตลอดไป

“ การสืบทอดมรดกย่อมได้รับการคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบทอดมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ” มาตรา๔๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

กรรมการและรักษาการเลขานุการ

คณะกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอุเทนถวาย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

ติดต่อ:

คณะกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินฯ วข.อุเทนถวาย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 02-2527029

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION