ผู้ประกอบการไทยและผู้ใช้ตื่นปลุกจิตสำนึกเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก่อนเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้า หลังเข้าสู่เออีซี ระดมทุกฝ่ายต้องให้ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จริงจัง ซิป้ารุกปฏิบัติการสัมมนาทั่วไทยเข้าใจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หลังประสบความสำเร็จ

จันทร์ ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๔๗
นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงมูลค่าตลาดการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ในปีที่ผ่านมาว่า มีมูลค่ากว่า 55,000 ล้านบาท และในปี 2556 ตลาดจะมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีผู้ประกอบการด้าน ICT กว่า 5,000 ราย มีบุคลากรในวงการนี้มากว่า 23,000 ราย อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมมากกว่า17.2% และเพื่อเร่งสร้างความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ก่อนเข้าสู่ AEC 2015 โดยมีแผนงานดังนี้ มุ่งเน้นการจัดสรรกำลังคนทางด้านซอฟต์แวร์เพื่อรองรับ AEC อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเร่งผลิตบุคลากรคุณภาพด้านซอฟต์แวร์ เพื่อที่จะทำให้ประเทศที่จะเข้ามาแข่งขันในอาเซียนไม่สามารถเข้ามาแย่งตลาดบุคลากรในด้านนี้ได้

ทั้งนี้จะมีการจัดจัดสัมมนา เรื่อง "การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Intellectual Property management for AEC)” ในทุกภาคทั่วประเทศ ที่ผ่านมาได้จัดขึ้นแล้ว 3 ครั้งที่จังหวัดขอนแก่นและ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ จังหวัดภูเก็ต ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักศึกษา สื่อมวลชนเป็นอย่างมากมีผู้เข้าร่วมแต่ละครั้งมากกว่า100 คน ทั้งนี้ในวันที่ 18 กรกฎาคมที่ จังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางจัดในวันที่ 1 สิงหาคม ที่ กรุงเทพฯ

สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาข้อมูลด้านไอที ซอฟต์แวร์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้มี "บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือ One Stop Services" ของบริการภาครัฐ เช่น การให้บริการของภาครัฐสู่ประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือภาคการศึกษาในการเห็นพ้อง สนับสนุนบรรจุหลักสูตรซอฟต์แวร์เพื่อการเพิ่มและพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทยอีกด้วย

ด้าน ดร.คมน์ทนงชัย ฉายไพโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลล้มละลายกลาง เปิดเผยในงานสัมมนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจัดที่อ.หาดใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้ว่า กรณีผู้ที่ทำผิดกฎหมาย

ด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไทยปัจจุบันนั้นมีคดีความสูงมาก และที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้านกฎหมาย ผิดกฎหมายไทย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กฎหมายต่างประเทศ เช่นกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม UCA (Unfair Competition Act) กฎหมายนี้บังคับให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ทแวร์ที่ถูกต้อง ในการประกอบธุรกิจ ทั้งในการผลิต และจำหน่าย และการทำตลาด โดยกฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึง36รัฐ และ3 ดินแดนในอาณาเขตการปกครองของสหรัฐอเมริกาแล้ว

“สำหรับประเทศไทยต้องยอมรับว่า กฎหมายเอาผิดด้านซอฟต์แวร์ยังมีจุดอ่อนอีกมาก อยู่ในช่วงการปรับปรุงนำเสนอ ดังนั้นจะต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกไม่ให้ใช้ของเถื่อน ของปลอม รวมถึงการระดมกำลังให้ความรู้ถึงข้อเสีย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ให้ความรู้ทั้งภาพประชาชนทั่วไป และภาคของผู้ประกอบการธุรกิจด้วย ผมมองว่าการดำเนินการให้ความรู้ การจัดงานสัมมนาฟรี!! ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่หน่วยงานซิป้า ดำเนินการอยู่นี้ถือว่าดำเนินการมาถูกทาง และถูกต้องแล้ว เราจะต้องสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าระดับนานาชาติ ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างยั่งยืนแน่นอน”ดร.คมน์ทนงชัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ