สนพ. ทุ่มงบกว่า 33.5 ล้านบาท ศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดสำหรับทดแทนก๊าซ LPG

อังคาร ๐๙ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๒๖
สนพ. จับมือ มช. ต่อยอดขยายการใช้ก๊าซชีวภาพ เดินหน้าศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดทดแทนก๊าซแอลพีจี เพื่อใช้ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม อนาคตเตรียมทดลอง ใช้จริง ในชุมชนต้นแบบ

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สนพ. ได้สนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำ “โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในเชิงพาณิชย์” เพื่อศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดสำหรับทดแทนก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และจัดสร้างต้นแบบศูนย์สาธิตระบบผลิตและบรรจุก๊าซชีวภาพอัดสำหรับนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 33,542,300 ล้านบาท

“ที่ผ่านมา สนพ. ได้สนับสนุนการศึกษาและวิจัย การนำก๊าซชีวภาพมาต่อยอดเพื่อนำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพอัด (Compressed Bio-methane Gas : CBG) ทดแทนก๊าซ NGV ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ และในส่วนการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ในเชิงพาณิชย์นั้น ล่าสุด สนพ. ได้ส่งเสริมการผลิตซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้แทนก๊าซแอลพีจีต่อไปได้” ผอ.สนพ. กล่าว

รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้ดูแลโครงการฯ กล่าวว่า เพื่อให้การวิจัยมีความสมบูรณ์ ทางสถาบันฯ จึงได้ร่วมกับ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ซึ่งเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ ตั้งอยู่ที่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ในการทดสอบผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันได้นำก๊าซชีวภาพไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม และแจกจ่ายให้ชุมชนใกล้เคียงใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 40-50 ครัวเรือน ซึ่งจะเป็นชุมชนต้นแบบในการเปลี่ยนมาใช้ชุดถังบรรจุก๊าซชีวภาพอัดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG)

รศ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ทาง มช. อยู่ระหว่างการติดตั้งสถานีต้นแบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดด้วยวิธีดูดซึมด้วยน้ำ พร้อมกับทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อน ทั้งนี้จากผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่าก๊าซชีวภาพอัดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับก๊าซ LPG สามารถใช้ทดแทนได้ และในลำดับต่อไป ทางโครงการฯ จะทำการออกแบบถังบรรจุก๊าซชีวภาพอัดให้เหมาะสมกับการใช้งาน พร้อมทั้งศึกษาระบบความปลอดภัยและทดสอบการเผาไหม้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งาน ก่อนจะนำไปทดลองใช้จริงในชุมชนต้นแบบ จากนั้นจะนำมาวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๑๘ รพ.ยันฮี และ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ประสาน องค์กรทำดี มูลนิธิกระจกเงา และ กัน จอมพลัง มอบน้ำดื่มและยารักษาโรค มูลค่ากว่า 6
๐๘:๓๔ โรงพยาบาลยันฮี ฉลองความสำเร็จ 40 ปี ตอกย้ำผู้นำด้านสุขภาพและความงามครบวงจร พร้อมมอบสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ผ่าตัดรักษาต้อเนื้อฟรี 20 ราย
๐๘:๔๓ อบรมผู้ประกาศฯ ไทยพีบีเอส อัดแน่นคุณภาพ มุ่งเตรียมพร้อมผู้ประกาศหน้าใหม่สู่วงการสื่อ
๐๘:๓๘ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ขอชวนร่วมงาน Global Day of Discovery และคอนเสิร์ตสุดพิเศษจาก บุรินทร์
๐๘:๔๔ คริสตี้ส์ เอเชีย: การประมูลศิลปะศตวรรษที่ 20/21 ในเดือนพฤศจิกายน
๐๘:๕๖ ไทยพีบีเอส จับมือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผลักดัน หม่อมเป็ดสวรรค์ สู่ตลาดคอนเทนต์ ระดับสากล ในงาน TIFFCOM
๐๘:๔๕ ครั้งแรกในไทย! ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจโรงงานสกัดแยกโลหะมีค่าจากวัสดุใช้แล้ว ยกระดับสู่มาตรฐานสากล
๐๗:๒๔ Chappell Roan ตอกย้ำความปัง HOT TO GO! ส่งวิดีโอแดนซ์รวมแก๊ง Pink Pony Club จาก South East Asia
๐๗:๕๗ JPARK ร่วมพิธีเปิด Tops สาขา JPark Avenue Nonthaburi
๐๘:๔๓ การเคหะแห่งชาติจับมือสปสช.นำร่องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ 5 ชุมชนฟรี