กรมหมอดิน ชูอนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นชีวิตเกษตรกรไทย

พุธ ๑๐ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๑๙
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผนวกปัญหาดินเสื่อมและปัญหาน้ำท่วมภัยแล้ง ผุดโครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ หวังพลิกฟื้นที่ทำกิน ช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ดร.พิทยากร ลิ่มทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ปัจจุบันทรัพยากรดินที่ใช้ทำการเกษตรมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรมและอินทรีย์วัตถุต่ำมากเกือบทั่วทั้งประเทศ เห็นชัดที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว เป็นต้น ส่วนเรื่องน้ำ ปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่คือ น้ำท่วมและภัยแล้ง ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ผนวกทั้งสองปัญหาเข้าด้วยกันเกิดเป็นโครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยมีหลักการคือ เก็บดินไว้ในพื้นที่ เก็บน้ำไว้ในดิน

ดร.พิทยากร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการอนุรักษ์ดินและน้ำจะใช้หลักวิชาการ 2 วิธี คือ วิธีกลและวิธีพืช สำหรับวิธีกลนั้น เป็นการควบคุมนํ้าไหลบ่าหน้าดิน โดยการสร้างสิ่งกีดขวางความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของนํ้า ช่วยลดความเร็วของกระแสนํ้า โดยความยาวของความลาดเทจะถูกแบ่งออกเป็นระยะๆ มาตรการวิธีกลมีหลายวิธี เช่น การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ การยกร่องตามแนวระดับ การทำร่องนํ้าไปตามแนวระดับ การยกร่องปิดหัวท้าย ประโยชน์ที่ได้คือ การกักเก็บนํ้า ลดปริมาณนํ้าไหลบ่า และลดการชะล้างพังทลายของดิน ส่วนวิธีพืช คือ การปลูกพืชที่มีประโยชน์ด้านอนุรักษ์ ป้องกัน ฟื้นฟูบำรุงดินและน้ำให้อยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ ปลูกพืชสลับเป็นแถบ ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชแซม ปลูกพืชเหลื่อมฤดู และการปลูกหญ้าแฝก วิธีเหล่านี้จะช่วยควบคุมการระเหยน้ำจากผิวดิน ดินอุ้มน้ำไว้ได้ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยลดแรงปะทะของหน้าดินกับเม็ดฝนทำให้ดินร่วนซุยซึ่งวิธีพืชที่ทางกรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมคือการปลูกหญ้าแฝกเพราะรากของหญ้าแฝกจะประสาน กันอย่างหนาแน่น สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ ป้องกันการพังลายของหน้าดินได้ การปลูกหญ้าแฝก ควรปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดเทในช่วงต้นฤดูฝน

สิ่งที่สำคัญของการอนุรักษ์น้ำคือเก็บให้พอใช้ ส่วนที่เหลือปล่อยให้เกษตรกรพื้นที่ด้านล่างได้ใช้ โดยจะมีหลักการคำนวณว่าพื้นที่นั้นจะใช้น้ำเท่าไหร่ ดินก็เหมือนกัน เมื่อเราใช้วิธีการอนุรักษ์เข้าไปช่วย ดินก็ไม่ไหลลงมาข้างล่าง ไม่ถูกชะล้าง ดินก็จะถูกเก็บไว้ในพื้นที่ เมื่อนำการจัดการน้ำ ผนวกเข้ากับการจัดการดินแล้วก็จะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ดินและน้ำดร.พิทยากรกล่าว

สำหรับเกษตรกรที่สนใจเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900 โทร. 0-2579-2875 หรือ call center 1760 และ www.ldd.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ