โดยประเด็นสำคัญมาจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอมาตรการคิวอีของทางสหรัฐอเมริกา โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ธนาคารกลางสหรัฐเดือนมิ.ย.ได้แสดงถึงมุมมองเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในตลาดแรงงาน ส่งผลให้การคาดการณ์เกี่ยวกับชะลอมาตรการคิวอีเพิ่มมากขึ้นและฉุดรั้งราคาทองคำลงมา
สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลัง วายแอลจี มองว่าราคาทองคำยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,045 -1,520 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 15,300-22,400 บาทต่อบาททองคำ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความเคลื่อนของทิศทางราคาทองคำยังคงเป็นประเด็นเรื่องของมาตรการคิวอี รวมทั้งตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯด้วย ซึ่งหากมีกระแสข่าวเกี่ยวกับคงมาตรการคิวอีต่อไปหรือตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังออกมาไม่ดีนัก ก็อาจส่งผลบวกต่อราคาทองคำได้ แต่หากออกมาในทางตรงกันข้าม จะเป็นแรงฉุดราคาทองคำอีกครั้ง รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซนหากยังส่อเค้าของความรุนแรงอยู่ ก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆคือ มุมมองทางราคาของสถาบันการเงินต่างๆ และการซื้อขายทองของกองทุน ซึ่งในสิ้นไตรมาส 2 ปรากฎว่าทางกองทุน SPDR ได้มีการขายทองคำสุทธิถึง 381.32 ตัน ซึ่งอาจส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนและราคาทองคำได้
นางพวรรณ์ กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนนั้น แนะนำให้เน้นการเก็งกำไรระยะสั้นตามกรอบแนวรับ-ต้านคือ 1,150-1,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 16,900-21,300 บาทต่อบาททองคำ โดยมีแนวรับถัดไปบริเวณ 1,045-930 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 15,300-13,700 บาทต่อบาททองคำ ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,520-1,600 หรือ 22,400-23,500 บาทต่อบาททองคำ และตัดขาดทุนทันทีหากราคาเคลื่อนไหวผิดทางจากการคาดการณ์