หอการค้าไทยวอนรัฐพิจารณารอบคอบ ร่าง พ.ร.บ. กู้เงินพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม 2 ล้านล้านบาท เชื่อมั่นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

อังคาร ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๓๒
หอการค้าไทยยื่น 3 ข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง 2 ล้านล้านบาท ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เร่งเดินหน้ารถไฟรางคู่เชื่อมต่อการขนส่งอื่น

เร่งก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง เพิ่มความสำคัญขนส่งทางท่อ ด้านบริหารจัดการภาครัฐ เน้นประสิทธิภาพโปร่งใส ด้านความพร้อม เน้นพัฒนาคนลดพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ พร้อมย้ำผู้ประกอบการและภาครัฐดูแลต้นทุนด้านการบริหารจัดการและสินค้าคงคลัง ควบคู่ต้นทุนการขนส่ง เชื่อมั่นสอดคล้องยุทธศาสตร์ประเทศ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ก้าวสู่ศูนย์กลางเชื่อมโยงโลจิสติกส์ภูมิภาค เศรษฐกิจไทยเติบโตยั่งยืน

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมสัดส่วนการขนส่งสินค้าของประเทศไทย มีการใช้รูปแบบทางถนนมากถึง 86% ขณะที่การส่งทางน้ำ มีสัดส่วน 12% และการขนส่งทางรางมีสัดส่วนเพียง 2% โดยรูปแบบการขนส่งทางถนนมีต้นทุนสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางน้ำ และทางราง ส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยสูงถึง 15.2% ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย 15.2% หรือประมาณ 1.75 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยต้นทุนด้านการขนส่ง7.2% สินค้าคงคลัง 6.7% และต้นทุนบริหารจัดการ 1.3% ดังนั้น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท จึงจะสามารถช่วยลดต้นทุนได้เฉพาะด้านการขนส่งเท่านั้น ในขณะที่ยังไม่มีการพิจารณาถึงการลดต้นทุนของสินค้าคงคลังและการบริหารจัดการ”

นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า “หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ และจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยและภูมิภาค หากมีการพิจารณาทบทวนความสำคัญของแต่ละโครงการอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ทั้งด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสังคม และการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชิวิตที่ดี โดยมีการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของประเทศไทยโดยรวมลดลง และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยง ระบบโลจิสติกส์สำหรับภูมิภาคต่อไป”

ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะต่อร่างดังกล่าว 3 ด้าน คือ

1 .โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง

รถไฟรางคู่ ควรได้รับความสำคัญสูงสุด และถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่จะตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศ

ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้ประโยชน์ทั้งกับสินค้าและผู้โดยสาร อีกทั้งขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยในจุดที่ทางรถไฟตัดกับถนน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะความเร็วรถไฟเพิ่มขึ้นแต่ระบบการกั้นรถไฟยังมีความเสี่ยงอยู่

การขนส่งทางน้ำ หลายโครงการขาดการวิเคราะห์ด้านอุปสงค์ (Demand) ที่เหมาะสม จึงใช้ประโยชน์ได้

ไม่เท่าที่ควร อาทิ ท่าเรือระนอง ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ ท่าเรือที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดอยุธยา เป็นต้น จึงควรศึกษาด้านอุปสงค์ให้รอบคอบ นอกจากนี้ การขาดการดูแลการขนส่งทางลำน้ำและชายฝั่งอย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาการขนส่งชายฝั่งไม่ต่อเนื่อง โดยพิจารณาอัตราค่าภาระสำหรับเรือชายฝั่งที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถแข่งขันกับรูปแบบการขนส่งทางถนนได้ รวมทั้งเปลี่ยนเงื่อนไขการให้สัมปทานแก่ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาดำเนินการท่าเรือของรัฐ โดยให้เรียกเก็บค่าภาระที่ต่ำที่สุดแทนการให้ผลตอบแทนแก่ภาครัฐสูงสุด เพื่อลด Supply Chain Cost ลง

การขนส่งทางท่อ เสนอให้เพิ่มความสำคัญการขนส่งในระบบท่อ ซึ่งยังไม่ได้รวมอยู่ในโครงการฯ เนื่องจาก

มีความปลอดภัยสูง ลดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมได้มากกว่า และมีต้นทุนค่าขนส่งต่ำ เมื่อเทียบกับการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ

รถไฟความเร็วสูง ควรต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมถึงผลประโยชน์ที่ประเทศพึงได้รับอย่างถี่ถ้วนและควรคำนึงถึงความพร้อมในการเชื่อมโยงระบบเข้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต

2. ด้านการบริหารจัดการของภาครัฐ

เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรมาบริหารจัดการโครงการ 2 ล้านล้าน เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบัน ยังไม่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่

เนื่องจากเป็นการลงทุนที่อยู่นอกระบบงบประมาณ ทำให้ยากในการตรวจสอบและควบคุม จึงควรมีองค์กรกลางทำหน้าที่ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณลงทุนให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

ควรมีการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ เรื่องขนส่งสินค้าและการค้าขายผ่านชายแดน ให้มีความคล่องตัวเพื่อรองรับการเชื่อมโยงในภูมิภาคของโครงการ 2 ล้านล้าน

เนื่องจากโครงการนี้ยังไม่ได้รวมงบประมาณค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซม (Maintenance) ดังนั้นรัฐบาลควรคำนึงถึงงบประมาณสำหรับของโครงการนี้ให้รอบคอบ

3. ด้านการเตรียมความพร้อมของบุคคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอในการบริหารงาน สำหรับการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ โดยให้สถานศึกษาเตรียมการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในการต่อยอดเทคโนโลยี เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย รวมถึงการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนประกอบ

ในประเทศ (local content) เพื่อให้มีการพัฒนาในภาคการผลิตของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศจีน และเกาหลีใต้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว

นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในระหว่างที่รอการดำเนินงานร่างพ.ร.บ.โครงการดังกล่าวฯ ภาครัฐสามารถเร่งดำเนินการปรับปรุงระบบขนส่งที่มีอยู่เดิม อาทิ การปรับปรุงท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือคลองเตย ด่านการค้าชายแดน รวมถึงระบบพิธีการศุลกากรให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการส่งออกของไทยในปัจจุบัน”

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรหลักด้านธุรกิจของภาคเอกชน มีหน้าที่ในการส่งเสริมการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่ผ่านมา นอกจากจะทำหน้าที่พัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการแล้ว ยังส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีจรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO