ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม มิ.ย. วูบ หวั่นหลายปัจจัยเสี่ยงกระทบเร่งรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง

อังคาร ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๐๘:๕๒
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในประจำเดือนมิถุนายน 2556 จำนวน 1,039 ราย ครอบคลุม 42 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 29.5, 39.9 และ 30.6 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 38.6,14.2,21.7,14.2, และ11.3 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 84.7 และ 15.3 ตามลำดับ ผลการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 93.1 ลดลงจากระดับ 94.3 ในเดือนพฤษภาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ปัจจัยลบที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ในเดือนมิถุนายน ได้แก่ ความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ การชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่ภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัญหาการเมืองที่ผู้ประกอบการให้น้ำหนักมากขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกันภาคการส่งออกมีสัญญาณการชะลอตัวจากความเปราะบางของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ตลอดจนต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลายหน่วยงานเริ่มปรับลดประมาณการ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย จากความกังวลดังกล่าวยังส่งผ่านไปยังดัชนีความเชื่อมั่นฯในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวลดลงและมีค่าต่ำกว่า 100

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับลดลงจากระดับ 100.4 ในเดือนพฤษภาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ปรับเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับลดลงจากเดือนพฤษภาคม

โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 89.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 86.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน, อุตสาหกรรมแก้วและกระจก, และอุตสาหกรรมเซรามิก เป็นต้นขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 97.9 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 94.2 ลดลงจากระดับ 96.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ,อุตสาหกรรมโรงเลื่อย โรงอบไม้ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.8 ลดลงจากระดับ 99.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 95.3 ลดลงจากระดับ 98.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ,อุตสาหกรรมเหล็ก, และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.8 ลดลงจากระดับ 103.4 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ด้าน ดัชนีความเชื่อมั่นฯรายภูมิภาค ประจำเดือนมิถุนายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ภาคเหนือ ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม

ภาคกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 95.3 ลดลงจากระดับ 97.8 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ ปัญหาการเมือง การส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทำให้มีผลต่อการปรับแผนการดำเนินกิจการเพื่อรองรับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก ในเดือนมิถุนายน มียอดคำสั่งซื้อเหล็กเส้นและเหล็กแผ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา ลดลง และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มียอดสั่งซื้อเม็ดพลาสติกในประเทศลดลง สินค้าประเภทโทลูอีนและไซลีนซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสี ทินเนอร์ เส้นใย มียอดสั่งซื้อลดลง ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.4 ลดลงจากระดับ 101.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 91.0 ปรับลดลงจากระดับ 95.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรม SMEsทั้งจากราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน การขาดแคลนแรงงาน อุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าทอ เสื้อไหมพรม มียอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง รวมถึงเส้นไหมดิบ ผ้าไหมมียอดส่งออกไปตลาดหลักอย่าง ญี่ปุ่น ตุรกี เกาหลี เวียดนามลดลง และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องนวดข้าว ผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนเครื่องจักรการเกษตรมียอดขายในประเทศลดลงขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ

ภาคตะวันออก พบว่ามีดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 98.8 ปรับลดลงจากระดับ 105.6 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อ และยอดขายในต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง ขณะที่การบริโภคภายในประเทศได้ส่งสัญญาณชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความกังวลต่อปัญหาการเมือง อุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ สินค้าประเภท เครื่องซักผ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า โทรทัศน์ มียอดขายในประเทศลดลง สินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า มีคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ลดลง และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ผลิตภัณฑ์ประเภท แผงโซลาร์เซลล์ มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.4 ลดลงจากระดับ 105.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคใต้ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 86.0 ลดลงจากระดับ 86.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ได้ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และมีค่าต่ำกว่า 100 สะท้อนภาพรวมของการประกอบการของภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับที่ไม่ดี ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงโดยเฉพาะภาคการส่งออก พบว่า คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าลดลง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง และแปรรูป ด้านอุตสาหกรรมยางแปรรูป ประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่างจีน มีสต๊อกสินค้าจำนวนมาก จึงทำให้ชะลอการสั่งซื้อ ส่วนอุตสาหกรรมถุงมือยาง คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการพบว่า มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และไม้ยางพารามีราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

และภาคเหนือ พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 87.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 84.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ แม้ว่าค่าดัชนีฯจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ซึ่งผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ต่างประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนเรงงาน ประกอบกับกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง ดังนั้นจึงเสนอให้ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก ในเดือนมิถุนายน ยอดขายเครื่องสุขภัณฑ์และกระเบื้องปูพื้นในประเทศเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์จาน ถ้วยเซรามิค มีคำสั่งซื้อจากอเมริกาและฮ่องกง เพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมเครื่องประดับ สินค้าประเภททองคำ พลอย เพชร เงินทองคำขาว พลอยเครื่องเงิน มียอดการส่งออกไป ดูไบ ตะวันออกกลาง สเปน ออสเตรเลีย ฮ่องกง เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 97.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศกับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 94.4 ลดลงจาก 95.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.8 ลดลงจากระดับ 100.4 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ 89.2 ลดลงจากระดับ 89.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลงได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้นขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.7 ลดลงจากระดับ 100.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2556 จากการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลก มากที่สุด รองลงมา คือ ราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมืองในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นในปัจจัย สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันและสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมิถุนายนนี้ คือให้ภาครัฐเร่งหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง อีกทั้งขยายขอบเขตความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างโอกาสในการขยายตลาดสินค้าและบริการให้แก่ผู้ประกอบการSMEsไทย พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศเพื่อทดแทนสินค้านำเข้าที่ด้อยคุณภาพและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ให้กับผู้ประกอบการ SMEs

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้