บทความ "จากถ้อยแถลงและการตอบคำถามของประธานเฟด เราเห็นอะไร??" โดย จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์

อังคาร ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๕๐
"จากถ้อยแถลงและการตอบคำถามของประธานเฟด เราเห็นอะไร??"

การแถลงผลงานครึ่งปีและการตอบคำถามต่อวุฒิสภาของนายเบน เบอร์นันเก้ในวันที่ 17-18 กรกฎาคมที่ผ่านมาดูว่าจะแทบไม่มีผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนเท่ากับการแถลง การประชุม FOMC และการแถลงหลังแสดงรายงาน การประชุม FOMC ครั้งล่าสุด แต่สำหรับผู้ที่ติดตามจะเห็นว่าในถ้อยแถลงครั้งนี้มีความนัยสำคัญไม่น้อย เพราะในเนื้อหาสามารถสะท้อนมุมมองของผู้กำหนดนโยบายทั้งในมุมของกรรมมาธิการ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงท่าทีที่กลุ่มผู้กำหนดนโยบายเหล่านี้มีต่อตลาดโดยรวม

ถ้อยแถลงและการตอบคำถามของประธานเฟดสื่ออะไร??

คำหนึ่งที่สำนักข่าว Reuters ใช้ในการรายงานถ้อยแถลงดังกล่าว เขียนไว้น่าสนใจดังนี้ครับ “He remained silent on his future plans during the two hour hearing” ซึ่งในมุมมองส่วนตัวผมว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะจากการให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดมาตรการสภาพคล่องลงก่อนช่วงสิ้นปี หลังการประชุม FOMC ครั้งก่อน ตลาดเงินตลาดทุนตอบรับอย่างรุนแรงท้ายสุดก็ต้องออกมาบอกว่ายังไม่มีการชะลอ ในเร็วนี้ตลาดถึงฟื้นตัวได้ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เห็นข้อเท็จจริงสองข้อด้วยกันครับ ข้อแรกคือมาตรการสภาพคล่องหรือ QE เป็นสิ่งตลาดการลงทุนให้ความสำคัญและมีผลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของนักลง ทุนโดยรวม ข้อที่สองคือการให้ “สัญญาณ” โดยยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายผลกระทบที่เกิดขึ้นก็อาจจะไม่ต่างกันและ อาจจะเลวร้ายกว่าที่คาดไว้ เพราะเงื่อนไขที่จะชะลอมาตรการ QE หรือที่ใช้คำว่า Tapering คือการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระดับเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อในระยะยาว ตลาดการจ้างงานฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ ระดับการผลิตกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ ตลาดที่พักอาศัยมีการฟื้นตัวทั้งในเชิงของราคาและความต้องการซื้อที่เพิ่ม ขึ้น แต่กลับกายเป็นว่าหลังสัญญาณชะลอมาตรการ QE สินทรัพย์และความเชื่อมั่นในการลงทุนกลับหดหาย อัตราดอกเบี้ยในตลาดขยับตัวขึ้น แทนที่จะได้ชะลอมาตรการตามแผนสุดท้ายก็ต้องกลับมาแก้ปัญหาเรื่องความเสี่ยง ในระบบ และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอีกครั้ง

แต่การให้สัญญาณชะลอมาตรการในครั้งก่อนผิดหรือไม่ ผมเชื่อว่าที่จริงแล้วการให้สัญญาณแบบนี้เป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงถึงความโปร่งใส ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดคนปัจจุบันต้องการที่จะฝากไว้ก่อนลงจากตำแหน่งในช่วงต้นปีหน้า การให้สัญญาณจะทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายได้ “รับรู้และปรับตัว” เมื่อวันหนึ่งที่มีการชะลอมาตรการจริงจะได้ไม่กระทบต่อตลาดมากนัก ซึ่งก็เป็นหลักปฎิบัติที่ดีของธนาคารกลางที่มีหน้าที่ดูแลนโยบายสำคัญที่มี ต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่นโยบายสภาพคล่องของเฟดมีความซับซ้อนมากกว่านโยบายการเงินทั่วไปเนื่องจาก สหรัฐฯ เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ มีความสำคัญเป็นสกุลเงินหลักของโลกเป็นสกุลเงินหลักสำหรับการซื้อขายแลก เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ เป็นทุนสำรอง และเป็นแหล่งที่มาของเงินลงทุนอีกจำนวนมาก ดังนั้นการบอกว่านโยบายการเงินสหรัฐฯ จะมีการเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญซึ่งจะต้องกระทบต่อดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ในเชิงเปรียบเทียบก็ทำให้ตลาดการลงทุนอยู่ในภาวะ “Shock” อย่างไม่ยาก

ดังนั้นผมเชื่อว่าหลังจากนี้ประธานเฟดจะให้สัญญาณแบบ “กลาง ๆ” แต่วางกรอบไว้ไม่ให้ตื่นตระหนก ซึ่งในการแถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็เป็นตัวอย่างการให้สัญญาณที่ไม่ทำให้ ตลาดตื่นตระหนก คือจะลดปริมาณการซื้อลงถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นตามที่เฟดพอใจ ถ้ายังไม่ถึงระดับที่พอใจก็ใช้ต่อในปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ลงก็มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มมาตรการ แบบนี้ถ้าตลาดอยากเดาก็ไปเดาว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ก็บอกชัดว่าจะต้องมีการชะลอในอนาคตและหยุดการใช้มาตรการในที่สุดแบบนี้ ตลาดก็ไม่ผันผวน

คำถามขอวุฒิสภา แสดงความเป็นห่วงเรื่องอะไร??

ผมจับประเด็นสำคัญหลัก ๆ ได้ประมาณ 6 เรื่อง โดยเป็นเรื่องที่น่าสนใจและผมเชื่อว่ามีนัยสัก 3 เรื่องด้วยกันโดยสรุปได้ดังนี้

1. ผลกระทบของนโยบาย QE (มองว่ามีนัยสำคัญ) การใช้นโยบาย QE เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงและมีต้นทุน และตัวเบน เบอร์นันเก้เองก็ทราบว่านโยบาย QE ไม่ได้สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่เป็นการฟื้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่า นั้น เพียงแต่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจปัจจุบันยังทำให้ออกจากการใช้นโยบาย QE ไม่ได้

2. ตลาดพี่พักอาศัย (มองว่ามีนัยสำคัญ) ตัวประธานเฟดเองมองว่าตลาดอสังหาฯยังเป็นความเสี่ยงหนึ่งที่ต้องเผชิญ และเมื่อพิจารณาจากการตอบคำถามเรื่องของการลดขนาด balance sheet ในอนาคต ประธานเฟดก็เน้นย้ำว่าจะไม่มีการขาย MBS หรือตราสารที่มีการจำนองที่พักอาศัย เป็นการสะท้อนว่าในระยะต่อไปตลาดที่พักอาศัยยังเป็นเรื่องที่เฟดยังคงให้ ความสำคัญ เนื่องจากยังมีหนี้เพื่อที่พักอาศัยจำนวนมากในระบบและปัจจุบันผู้ผ่อน ชำระยังคงชำระหนี้ในขนาดที่ใหญ่กว่าราคาที่พักอาศัยและนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่ง เหตุผลของนโยบายดอกเบี้ยต่ำ

3. งบดุลของเฟด (มองว่ามีนัยสำคัญ) เป็นที่ทราบกันดีว่าเฟดมีการขยายขนาดงบดุล (balance sheet) จำนวนมากจากการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่าน QE1,2,3 และ4 ทำให้ปัจจุบันขนาดงบดุลของเฟดสูงกว่า 3.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั้งที่ก่อนวิกฤติ subprime งบดุลมีขนาดประมาณ 6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ การลดขนาดงบดุลลงในอนาคตจึงเป็นประเด็นที่มีการตั้งคำถาม ซึ่งประธานเฟดกล่าวว่ามีหลายวิธีการที่มีการประเมินกันไว้แต่ที่แน่ ๆ คือจะไม่ขายตราสาร MBS (ประเด็นนี้เพื่อเป็นการผยุงราคา MBS ไม่ให้เกิดแรงขายและกระทบต่อระบบธนาคารอีกครั้ง) โดยการลดขนาดจะใช้วิธีการให้ตราสารถึงกำหนดไถ่ถอนและจะไม่นำเงินจากการไถ่ ถอนมาซื้อสินทรัพย์เพิ่ม เป็นการบอกว่าวิธีที่เฟดเตรียมพร้อมไว้ค่อนข้าง conservative และจะให้กระทบต่อตลาดให้น้อยที่สุด

4. ความเสี่ยงในระบบธนาคาร เป็นการสะท้อนว่ายังมีความกังวลเรื่องระบบธนาคารต่อความพอเพียงของเงินกอง ทุน แต่การทำงานของธนาคารกลางได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Basel III ได้มีการกำหนดกองทุนขั้นต่ำไว้ ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องเสถียรภาพ ทำให้โดยส่วนตัวเชื่อว่าหลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติน่าจะมี กฏเกณฑ์ควบคุมการดำเนินงานของภาคธนาคารเพิ่มขึ้นคล้ายกับที่เกิดหลัง great depression ในช่วงปี 1929 ที่เกิดกฏหมาย Glass-Steagall Act ตามมาในปี 1933

5. นโยบายดอกเบี้ยต่ำ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ขึ้นเมื่อเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านการเงิน (financial risk) ในระบบ

6. เรื่องทองคำ ในมุมมองของประธานเฟดมองว่าความต้องการทองคำในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนลดลง (เพราะเศรษฐกิจดีขึ้นนั่นเอง) แต่คำหนึ่งที่ผมชอบคือ “nobody really understands gold prices” ซึ่งผมว่าจริง !!

เงื่อนไขจริง ๆ ของ QE Tapering คืออะไร??

หลังจากอ่านเนื้อความทั้งหมดผมพยายามหาว่าการชะลอมาตรการสภาพคล่องหรือ QE Tapering มีเงื่อนไขอะไร และอะไรเป็นข้อจำกัดขอนำเสนอผ่านมุมมองส่วนตัวดังนี้

ประการแรกความจำเป็นและความพร้อมต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น : ดังที่เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ปัญหาระยะสั้นคือการใช้จ่ายภาครัฐเริ่มชะลอตัวลงผลจากการทำ sequestration หรือการตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงอัตโนมัติ กฏหมายนี้เป็นหน่อเนื้อจากการเพิ่มเพดานหนี้ตามกฏหมายในช่วงสิงหาคม 2011 ซึ่งปัจจุบันมีการตัดลดงบประมาณไปกว่า 4.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หมายความว่าถ้าเราวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจจาก demand side อันมีองค์ประกอบจาก การบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ และการส่งออกหักออกด้วยนำเข้า จะพบว่าการใช้จ่ายภาครัฐเริ่มจะมีปัญหา จึงอาจจะทำให้นโยบายการเงินยังต้องทำงานแทนอยู่หรือไม่

ประการที่สองการรับช่วงต่อ : ความสามารถในการบริโภคของสหรัฐฯ ยังไม่กลับมาตราบเท่าที่ยังมีจำนวนผู้ว่างงานจำนวนมาก ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ พึ่งพาการบริโภคเป็นสาระสำคัญ ถ้าจะให้เศรษฐกิจเดินต่อได้โดยไม่พึ่งพานโยบายการเงินจำเป็นต้องให้ส่วนอื่น อย่างการลงทุน และการบริโภครับช่วงต่อ ที่สิ่งที่น่าสนใจคือผมเชื่อว่าการกำหนดตัวเลข 7% เป็นการสะท้อนว่านโยบาย QE ไม่สามารถใช้ได้ในระยะยาว ขณะที่ประเมินแล้วว่าอัตราการว่างงานอาจจะไม่ได้ลดลงจนถึง 6.5% ในระยะเวลาที่ยังสามารถใช้ QE อยู่ได้ ด้านภาคการลงทุนอาจจะรอให้ระดับผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่ดีกว่าในปัจจุบัน

โดยสรุปจึงเชื่อว่าเฟดจะยังไม่ชะลอมาตรการ QE ลงในช่วงการประชุม FOMC ช่วงวันที่ 30-31 กรกฎาคมนี้ แต่ในการประชุมวันที่ 17-18 กันยายนอาจจะต้องพิจารณาเศรษฐกิจโดยรวมประกอบว่าเศรษฐกิจมีความพร้อมหรือยัง

โดย กมลธัญ พรไพศาลวิจิต

ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด

GT Wealth Management

www.gtwm.co.th

TEL : 02-673-9911

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ