ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดราคารับจำนำข้าวหรือสมดุล 4 ด้าน ได้แก่ การรักษาสมดุล วินัยการเงินการคลัง การสะท้อนต้นทุนจริงของชาวนาต่อรอบการผลิต รายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาที่ดีและยั่งยืน สะท้อนกลไกราคาตลาดโลกและความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย การส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ข้าว และคุณภาพข้าวเพื่อรักษาราคาที่สูงกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งรัฐบาลมีกรอบการช่วยเหลือชาวนาได้ปีละไม่เกิน 70,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าหากราคาจำนำสูงเกินไป อาจไม่มีเงินเหลือสำหรับรอบต่อไป และภาครัฐก็ได้วางแนวทางการลดต้นทุนให้ชาวนาไว้ด้วยแล้ว ซึ่งตัวแทนชาวนาก็ได้ให้ความร่วมมือและเข้าใจเหตุผลของรัฐบาล โดยเบื้องต้นตัวแทนชาวนาได้เสนอให้กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 13,500 บาท ณ ความชื้น 15% โดยพิจารณาจากต้นทุนผลิตของชาวนาประมาณตันละ 8,000-9,000 บาท วงเงินรับจำนำไม่เกิน 400,000 บาท/ราย โดยขอให้ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดที่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต ทั้งนี้ สมาคมจะนำข้อเสนอเบื้องต้นกลับไปหารือกับสมาชิกเพื่อให้ได้ข้อยุติ และจะแจ้งกลับมาให้ทราบ โดยจะได้มีการประชุมหารือกับชาวนาอีกครั้งในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 และในสัปดาห์หน้ากรมการค้าภายในจะได้มีการเชิญโรงสีมาหารือเพื่อพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเช่นกัน รวมทั้งจะมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนนำเสนอ กขช. พิจารณาต่อไป
- ม.ค. ๒๕๖๘ ปตท. ส่ง GML จับมือ อ.ต.ก. ผลักดันสินค้าเกษตร ขยายเส้นทางตลาดส่งออกผ่านระบบขนส่งทางราง นำร่องเส้นทางไทย - จีน
- ม.ค. ๒๕๖๘ เชิญจับจ่ายสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ในงาน "อ.ต.ก. สินค้าเกษตรคุณภาพสูง ORTORKOR SELECT THAILAND BEST AGRICULTURAL" 11- 15 ส.ค.นี้
- ม.ค. ๒๕๖๘ อ.ต.ก.จับมือ ททบ. เปิดพื้นที่จำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาลจากสวนของเกษตรกร หวังกระตุ้นยอดขาย เร่งระบายผลผลิตสู่ผู้บริโภค