กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และมูลนิธิรักษ์สัตว์ป่า จัดกิจกรรมปล่อยปลาฉลามกบ 99 ตัว ลงสู่ท้องทะเลไทย

ศุกร์ ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๑๔
กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และมูลนิธิรักษ์สัตว์ป่า จัดกิจกรรมปล่อยปลาฉลามกบ 99 ตัว ลงสู่ท้องทะเลไทย พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม หวังอนุรักษ์และเพิ่มผลผลิตปลาฉลามให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ปล่อยฉลามกลับบ้าน” ณ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี ว่า ปลาฉลามเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่ปัจจุบันมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากถูกคุกคามจากการประมงทั่วโลก แต่เนื่องจากปลาฉลามมีผลผลิตตามธรรมชาติต่ำ เติบโตช้า และให้ลูกในปริมาณน้อย ด้วยเหตุนี้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการสากลเพื่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการปลาฉลาม (International Plan of Action for the Conservation and Management of Sharks; IPOA-Sharks) ขึ้นในปี 2541 และผลักดันให้ประเทศสมาชิกจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการปลาฉลามในระดับชาติ (National Plan of Action for the Conservation and Management of Sharks; NPOA-Sharks) เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรปลาฉลามอย่างมีประสิทธิภาพ

นายศิริวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ในขณะนี้ พบว่า ปลาฉลามในน่านน้ำไทย ทั้งหมด 19 วงศ์ 34 สกุล 63 ชนิด เกือบทุกชนิดถูกจัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากความนิยมในการบริโภคหูฉลามซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ราคาแพง ปัจจุบันมีปลาฉลามบางชนิดที่พบในประเทศไทยได้ถูกขึ้นบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่ (Sphyrna mokarran) ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน (Sphyrna lewini) ปลาฉลามหัวค้อน (Sphyrna zygaena) ปลาฉลามครีบยาว(Carcharhinus longimanus) และปลาฉลาม (Lamna nasus) ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ จะต้องมีการผลักดันให้มีการขึ้นบัญชีชนิดปลาฉลามเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

“กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ภายใต้โครงการ “ปล่อยฉลามกลับบ้าน” เป็นกิจกรรมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และมูลนิธิรักษ์สัตว์ป่า จัดขึ้น โดยปล่อยปลาฉลามกบชนิด Chiloscyllium punctatum และ C.hasselti จำนวน 99 ตัว ลงสู่ท้องทะเลไทย ซึ่งจุดที่ปล่อยนี้เป็นพื้นที่อนุรักษ์อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่ปลอดจากการทำประมงพาณิชย์ จึงเป็นแหล่งที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลาฉลามที่จะถูกปล่อยและเจริญเติบโต ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และเพิ่มผลผลิตปลาฉลามให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุดและยั่งยืนในอนาคตต่อไป” นายศิริวัฒน์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ