สรุปสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจภาคตะวันออก

อังคาร ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๑๘
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของภาคตะวันออกในช่วงครึ่งปีแรกปี 56 ยังคงมีการขยายตัวได้อยู่ในระดับดี โดยจะเห็นได้จากหอการค้าจังหวัดภาคตะวันออกตอบว่า ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีอยู่ในระดับดี ถึง 50% ในระดับปานกลาง 37.5% และอยู่ในระดับแย่เพียง 12.5% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาคการท่องเที่ยว การเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงดี และเมื่อพิจารณาด้านการบริโภคก็พบว่าอยู่ในระดับปานกลางถึงดี แต่การลงทุนของภาคตะวันออกถือว่ายังคงขยายตัวได้ดีทั้งการลงทุนภาครัฐ และภาคเอกชน

สำหรับสถานการณ์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ของภาคตะวันออกยังคงมีแนวโน้มที่ขยายตัวได้ในระดับดี แต่เริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัวลงจากช่วงครึ่งปีแรกเล็กน้อย ดังจะเห็นได้จากการตอบของหอการค้าจังหวัดในภาคตะวันออกที่ตอบว่าอยู่ในระดับดี ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน หรือแม้แต่ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการค้า รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวม

แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ยังคงมีความโดดเด่นอยู่ในภาคตะวันออก ได้แก่ การค้าชายแดนที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านชายแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงการท่องเที่ยว นอกจากนี้ระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ของภาคตะวันออกยังคงมีระดับราคาทรงตัวในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ด้านของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวได้ดีในภาคตะวันออก เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมที่กรุงเทพเมื่อ 2 ปีก่อน ทำให้มีการหาซื้อที่ดิน และบ้าน/คอนโดในภาคตะวันออกมากขึ้น

ธุรกิจในภาคตะวันออกที่ชะลอตัวลง ได้แก่ ภาคธุรกิจอัญมณี ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่ผันผวน รวมทั้งนโยบายรถคันแรกของรัฐบาล ที่ทำให้กำลังซื้อในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง นอกจากนี้แล้วภาคอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งค่าเงินบาท

ดังนั้นโดยภาพรวมของเศรษฐกิจธุรกิจของภาคตะวันออกยังคงอยู่ในระดับที่ดีและยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่สัญญาณของการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นยังคงมีให้เห็น

สิ่งที่ภาคธุรกิจภาคตะวันออกมีความกังวล

ความไม่แน่นอน และความผันผวนของค่าเงินบาท เป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคธุรกิจที่มีการส่งออก

โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอย่างมาก เนื่องจากแรงงาน

ส่วนใหญ่กลับเข้าไปทำงานในภาคเกษตรเป็นจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้ขาดแคลนแรงงาน

แรงงานมีการเลือกงานมากขึ้น จากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้ขาดแคลนแรงงาน

แรงงานที่เข้าสู่ภาคธุรกิจจะขาดทักษะฝีมือ ทำให้ธุรกิจต้องมีภาระในการพัฒนา

ปัญหาเรื่องของผังเมืองที่ดำเนินการโดยเฉพาะพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อภาคธุรกิจในพื้นที่

ในช่วงกลางปีนี้ ถือเป็นช่วงที่ภาคธุรกิจหลายภาคส่วนที่จะต้องมีการจ่ายเงินภาษีกลางปี ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องลดลงได้

เรื่องของระบบ Logistics ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ และให้ครอบคลุม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๑ OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
๑๖:๒๒ เทลสกอร์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนโครงการ 'Help You, Help Me' สู่ปีที่ 6 ผสานพลังคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม
๑๖:๐๐ เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว สนับสนุนภารกิจกู้ภัย มอบอาหารและเครื่องดื่มให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
๑๖:๐๐ ร้อนๆแบบนี้ มาหมุนให้ฉ่ำ!!สนุกสุดมันส์ไปกับเครื่องเล่น Water Roller ลูกบอลน้ำมหาสนุก
๑๖:๕๒ ซัมเมอร์นี้ชวนเช็กอินสมุย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวเวลเนส ที่ BDMS Wellness Clinic สาขา Celes Samui
๑๖:๑๑ โซเชียลจับตา ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
๑๕:๐๐ กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
๑๕:๐๐ GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการบิวตี้ครบวงจรอันดับ 1 ในไทยเปิดตัวบริการ GoWabi POS พร้อมประกาศรางวัล GoWabi Top Rated
๑๕:๐๓ ทีทีบี เชิญชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์ครุฑ สืบสานพลังศรัทธา สรงน้ำ สมเด็จมหาราชทรงครุฑ เสริมพลังบุญรับปีใหม่ไทย
๑๕:๕๑ บัตรเครดิต ทีทีบี มอบโปรฯ ฟรีอัปเกรด! HUT บุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น จ่ายเพียง 399 บาท