รชค.ยืนยันรอยร้าวบริเวณไหล่ทางทสภ. ไม่กระทบการขึ้น-ลงของเครื่องบิน

อังคาร ๐๙ สิงหาคม ๒๐๐๕ ๑๓:๐๔
กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่น
ในวันนี้ ( 8 สิงหาคม 2548 : สำนักงานใหญ่ ทอท.) พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (รชค.) ยืนยันรอยร้าวของไหล่ทาง (Runway Shoulder) เป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นทางเทคนิค เนื่องจากการปรับปรุงคุณภาพดินของทางขับเชื่อมระหว่างทางวิ่ง (Runway) ตะวันตกกับทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ในขั้นตอนของการออกแบบแล้ว ไม่ใช่รอยร้าวบนพื้นผิวทางวิ่ง ที่จะเปิดใช้งานแต่อย่างใด
รชค. กล่าวเพิ่มเติมภายหลังเข้าพบ นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. และผู้บริหารทอท.ว่า จากการตรวจสอบพื้นที่บริเวณพื้นผิวทางวิ่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยสังเขป ไม่พบว่ามีรอยแตกร้าวแต่อย่างไร รอยแตกที่พบตามที่เป็นข่าวนั้น เกิดบริเวณไหล่ทางวิ่งฝั่งตะวันตก บริเวณที่กำลังดำเนินการปรับปรุงคุณภาพดิน (การทำ Ground Improvement) ของทางขับเชื่อมที่เตรียมไว้สำหรับเชื่อมกับทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดินเดิม จนถึงระดับการทรุดตัวที่ต้องการตามแนวทางการออกแบบหลังจากการทรุดตัวได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะต้องทำการรื้อย้ายทรายถมที่เป็นน้ำหนักกดทับออก และจะเริ่มทำโครงสร้างชั้นฐานใหม่ สำหรับรองรับผิวจราจรของพื้นผิวทางขับ (Taxiway Pavement) ในส่วนนี้ ซึ่งรอยร้าวบริเวณดังกล่าวอยู่ในขอบเขตที่จะต้องถูกขุดและรื้อออกด้วยเช่นกัน เพื่อก่อสร้างโครงสร้างชั้นฐานใหม่ และทำพื้นผิวจราจรให้เชื่อมต่อทางวิ่งฝั่งตะวันตกในปัจจุบัน ทั้งนี้ในขั้นตอนการออกแบบปรับปรุงคุณภาพดินทางขับเชื่อมนี้ วิศวกรผู้ออกแบบได้คาดการณ์รอยร้าวนี้ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งจะไม่ส่งผลถึงความเสียหายของทางวิ่งที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและได้เปิดใช้
สำหรับในขั้นตอนของการปรับปรุงคุณภาพดินของทางวิ่งที่ผ่านมา มีการนำเอาวัสดุ Filter Fabric (หรือแผ่น Geotextile ) มาปูใช้งานอยู่ 2 ชั้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทำหน้าที่เป็น Separator เพื่อแบ่งแยกชั้นของวัสดุ โดยในชั้นแรกปูระหว่างชั้นดินเดิมกับชั้นทรายล้าง และชั้นที่ 2 ระหว่างชั้นทรายล้างกับวัสดุที่ใช้เป็นน้ำหนักกดทับ คือหินคลุก เพื่อเป็นการเพิ่มคุณสมบัติการระบายน้ำที่ดีของชั้นทรายล้าง โดยไม่ให้วัสดุปะปนกัน อันทำให้ทรายล้างลดความสามารถในการระบายน้ำ และยังเป็นการคัดแยกวัสดุที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้สะดวก Filter Fabric ที่ใช้นี้มีหน้าที่เป็นเพียง Separator ที่ไม่มีผลต่อการรับน้ำหนักของ Pavement Structure (โครงสร้างผิวทาง) นอกจากนั้นวัสดุนี้ใช้ปูรองเฉพาะงาน Ground Improvement เท่านั้น ไม่ใช้ทำหน้าที่ต่อเนื่อง สำหรับการรับน้ำหนักของโครงสร้างผิวทาง (Pavement Structure) ทั้งนี้ได้มีการทดสอบตัวอย่างของวัสดุ Filter Fabric ที่นำมาใช้งานอย่างดี และสม่ำเสมอจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก