นางสาววฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทยกล่าวว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์นั้นเป็นผู้นำเทรนด์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมอ ไม่ว่า‘การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3’ จะเกิดขึ้นหรือไม่ กลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่ประกอบกับการแข่งขันใหม่ๆจากการรวมกิจการของกลุ่มแบรนด์รถยนต์ระดับโลก”
กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์“เรามองเห็นแนวโน้มที่มุ่งความสนใจมาทางภูมิภาคตะวันออกทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสื่อสารแบรนด์ โดยเฉพาะในตลาดสำคัญอย่างประเทศอินเดียและจีน โดยภาพรวมแรงผลักดันหลักๆคือ นวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ความเป็นดิจิตอลในรถยนต์ การออกแบบเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง และการบริการโซลูชั่นสำหรับการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ ซึ่งเราเชื่อว่า การเข้าใจถึงเทรนด์เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องก้าวทันการตลาดในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้”
ซึ่งในห้าเทรนด์หลักๆที่พบในโลกของยานยนต์นี้ เทรนด์ของ “NEW IDENTITIES, NEW ASPIRATIONS”และ “CONNECTIVITY ON WHEELS” ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อนวัตกรรมด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ ในขณะที่ “SUSTAINABLE MOBILITY”, “SPIRIT AND SOUL” และ “PIONEERS IN INTERACTIVITY” จะเน้นวิธีใหม่ๆที่แบรนด์รถยนต์สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าเกิดความผูกพันกับแบรนด์ในตลาดต่างๆทั่วโลกรวมไปถึงตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างเอเชีย
1. แรงบันดาลใจใหม่เพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่(NEW IDENTITIES, NEW ASPIRATIONS)
รถยนต์ไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะในการเดินทางเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์สำหรับการแสดงความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคลอีกด้วย ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของทัศนคติและความเป็นตัวตนของผู้บริโภคที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางประชากรศาสตร์(demographics)และการใช้ชีวิต ผู้ผลิตรถยนต์นั้นจึงหันมาออกแบบผลิตภัณฑ์และการสื่อสารแบรนด์ที่ตรงกับความต้องการใหม่ๆของกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆที่เกิดขึ้นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคใหม่เหล่านี้ขึ้นคือ 1) ‘Upwardly Mobile’จำนวณชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นและวาดฝันฐานะทางสังคมที่สูงขึ้น 2) ‘What Women Want’ผู้หญิงสมัยใหม่ที่ประสบความสำเร็จและมีอิสรภาพทางการเงินมากกว่าที่เคย3) ‘The Creative Class’คนรุ่นใหม่ที่ต้องการแสดงเอกลักษณ์ความมีสไตล์ที่ไม่ใช่เพียงฐานะทางการเงิน
2. ความเป็นดิจิตอลในทุกอณูยานยนต์ (CONNECTIVITY ON WHEELS)
คนเมืองทุกวันนี้ใช้เวลามากที่สุดกับการอยู่ในรถและการอยู่หน้าสกรีนดิจิตอลหลากหลาย จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการจะมุ่งหน้าผสมผสานเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เข้ากับรถยนต์ รถยนต์รุ่นใหม่ๆมักอัดแน่นด้วยฟังก์ชั่นดิจิตอลมากขึ้น โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล ท้องถนน และผู้ขับขี่ได้อย่างลงตัว
เริ่มจาก 1) ‘The Fourth Screen’ซึ่งรถยนต์กลายเป็น ‘จอที่สี่’ ที่ผู้บริโภคใช้ในการเชื่อมต่อกับข้อมูลและคอนเท้นต์จากอินเทอร์เน็ต 2) ‘Natural User Interface’รถยนต์ที่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ขับขี่อย่างไร้รอยต่อด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่ล้ำสมัยและยังเป็นมิตรต่อการใช้งานในชีวิตจริง3) ‘Assisted Driving’ที่ยกระดับความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์โดยการโต้ตอบโดยตรงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวแบบอัตโนมัติ
3. ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้รถใช้ถนนแบบยั่งยืน (SUSTAINABLE MOBILITY)
ด้วยทุกวันนี้ผู้คนหันมาตื่นตัวกับผลกระทบจากการใช้รถต่อสภาวะโลกร้อนและกังวลกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแนวโน้มของความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่จะขับรถส่วนตัวนั้นน้อยลงเรื่อยๆ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์จึงหันมาเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนที่มีต่อชีวิตของผู้บริโภค และปรับวิสัยทัศน์ของบริษัทไปสู่แนวทางการทำธุรกิจใหม่ๆ เช่น
1) ‘Mobility Solutions’การเสริมบริการโซลูชั่นสำหรับการเดินทางส่วนบุคคลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของรถยนต์2) ‘Zero Emission Target’การสร้างสรรค์และคิดค้นต้นแบบล้ำสมัยสำหรับรถที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมยุคใหม่ และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์3) ‘The Sustainability Culture’ การที่แบรนด์รถยนต์มีส่วนร่วมในการแชร์ความรู้และสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม การรักษาสิ่งแวดล้อม และความตื่นตัวต่อสถานการณ์โลกเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของคนเมืองและสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับสิ่งที่แบรนด์จะนำเสนอต่อผู้บริโภคในโลกอนาคต
4. จุดยืนด้านความเป็นตัวตนและจิตวิญญาณของแบรนด์ (SPIRIT AND SOUL)
ในยุคสมัยที่อะไรก็ไม่แน่นอนและวิกฤตในด้านต่างๆผู้คนหันมามองหาความหมายและที่พึ่งทางจิตใจเพื่อก้าวสู่อนาคตข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งเพราะฉะนั้นการสื่อสารแบรนด์ที่เข้าถึงจิตใจของผู้บริโภคไม่ใช่เพียงตอบโจทย์ทางด้านเหตุผล จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนานและมีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น
1) ‘The Human Spirit’แบรนด์รถยนต์เริ่มสื่อถึงจิตวิญญาณของแบรนด์ด้วยการสื่อสารที่พูดถึงคุณลักษณะที่น่าชื่นชมต่างๆของมนุษย์เพื่อปรอบประโลมเรื่องราวด้านลบที่ผู้บริโภคต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน2) ‘Brand Heritage’ การสื่อสารแก่นแท้และความเป็นมาของแบรนด์เป็นวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์และวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมายในภาพกว้าง3) ‘Connections to Culture’การสร้างจุดเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้บริโภคโดยการนำสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีความหมายอันลึกซึ้งต่อผู้บริโภคมาใช้ในสื่อสาร ซึ่งเป็นวิธีที่หลายแบรนด์ปรับเข้าหาตลาดเกิดใหม่ยักษ์ใหญ่เช่นประเทศจีนและอินเดีย
5. สร้างสรรค์มิติประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส (PIONEERS IN INTERACTIVITY)
เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนตร์นั้นถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม แบรนด์รถยนต์จึงเป็นผู้นำในการใช้นวัตกรรมทางด้านใช้สื่อดิจิตอลในการโฆษณาเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้บริโภคเช่นเดียวกัน
ในยุคสมัยนี้ มุมมองระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่เช่นดิจิตอลมีการผสมผสานกันอย่างแยกออกไม่ได้ ทำให้1) ‘Integrated Campaigns’การสื่อสารไอเดียหลักผ่านสื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อที่จะจับความสนใจของผู้บริโภคได้ 2) ‘Larger-Than-Life’การเปลี่ยนการโต้ตอบกับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันมาสร้างเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานน่าตื่นเต้นเพื่อสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค3) ‘Mobile Engagement’การเชื่อมโยงรถยนต์เข้ากับแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนโดยเน้นการสร้างความสนุกสนานและสื่อสารถึงประโยชน์ที่จับต้องได้จริงพร้อมผสานความเป็นโซเชียล เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับและแบรนด์อย่างต่อเนื่อง