ซีพีเอฟ ตุรกี เปิดแผน 5 ปี เดินหน้ามุ่งธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสและการผลิตอาหารสัตว์สร้างสมดุลธุรกิจ

พฤหัส ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๕๒
ซีพีเอฟ ตุรกี ตั้งเป้าเปิดร้านซีพี ช็อพ (CP Shop) ให้ครบ 1,000 ร้านภายใน 5 ปี พร้อมขยายกำลังการผลิตอาหารสัตว์ให้เต็มศักยภาพในโรงงานปัจจุบัน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ กรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ตุรกี (Rewat Hathaisattayapong, President of CPF Turkey) กล่าวว่า การขยายร้านซีพี ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ซีพี ทั้งของสดและอาหาร จะเป็นการดำเนินการในลักษณะแฟรนไชส์ และเปิดไปแล้ว 42 แห่งขณะนี้ โดยเป็นการลงทุนของนักธุรกิจท้องถิ่น และจะเพิ่มเป็น 170-180 แห่ง ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและธุรกิจให้คนท้องที่ เพื่อลดภาระต้นทุนแรงงานของบริษัทเนื่องจากมีการปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้บริษัทบริหารร้านซีพี ช็อพ อยู่ทั้งหมด 420 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 450 แห่งภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งรวมทั้งที่บริษัทบริหารเองและเป็นการให้แฟรนไชส์ นอกจากร้านซีพี ช็อพแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการขยายตลาดไปยังกลุ่มฟู้ดเซอร์วิสด้วย เช่น ภัตตาคาร โรงแรม และโมเดิร์นเทรด

นอกจากนี้ การผลิตอาหารสัตว์ของ ซีพีเอฟ ขณะนี้ยังไม่ได้เดินเครื่องเต็มศักยภาพการผลิตและสามารถเพิ่มได้อีกเพื่อรองรับความต้องการในประเทศ อย่างไรก็ตามบริษัทจะมีการพิจารณาการการลงทุนเพิ่มเพื่อขยายโรงงานอาหารสัตว์ในอีก 2 ปี ข้างหน้า โดยบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายโรงงานสีเขียว (Green Policy) เป็นหลัก

“แผนธุรกิจ 5 ปี ของบริษัทต้องการให้บริษัทเติบโตตามเป้าหมายคือการเป็นผู้นำการผลิตอาหารและอาหารสัตว์ในตุรกี โดยจะเป็นเน้นการจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดของบริษัทโดยเฉพาะร้านซีพี ช็อพ และฟู้ดเซอร์วิส” นายเรวัติ กล่าว

สำหรับ ซีพีเอฟ ตุรกี ก่อตั้งปี 2529 เพื่อดำเนินธุรกิจครบวงจรประกอบด้วย อาหารสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์และอาหาร ซึ่งขณะนี้บริษัทมีโรงงานอาหารสัตว์ 6 แห่ง ผลิตเพื่อป้อนให้กับฟาร์มของบริษัทและเกษตรกรภายใต้คอนแทรคฟาร์ม และยังขายตลาดในประเทศในอัตราส่วน 50:50 ส่วนฟาร์มนั้นแยกเป็นเนื้อไก่ โดยมีกำลังการผลิต 140,000 ตันต่อปี ในจำนวนนี้ใช้เป็นวัตถดิบเพื่อป้อนโรงงานอาหารแปรรูปของ ซีพีเอฟ 5,000 ตัน หรือ 3.5% ของกำลังการผลิตต่อปี และ 90% ของผลผลิตเป็นการผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศ ที่เหลือเพื่อการส่งออกไปยังประเทศซีเรีย อิรัก และอิหร่าน และธุรกิจไข่ไก่ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 720 ล้านฟองต่อปี

บริษัทยังมีธุรกิจโรงชำแหละ (slaughter house) ใน 4 เมืองใหญ่ และคลังสินค้าซึ่งเป็นทั้งห้องเย็น (cold storage) และศูนย์กระจายสินค้า (distribution center) ด้วย อีก 5 แห่ง เพื่อเป็นจุดพักสินค้าก่อนขนถ่ายเข้าสู่เมืองหลวงอิสตันบูลปัจจุบัน ตุรกีมีประชากรทั้งสิ้น 75 ล้านคน เป็นมุสลิมประมาณ 90% และมีการบริโภคเนื้อไก่ 22 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยมีกำลังการผลิตเนื้อไก่ทั้งประเทศมีประมาณ 1.8 ล้านตันต่อปี และเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศแม้ว่าเนื้อไก่ที่ผลิตในตุรกีขณะนี้จะมีการส่งออกไม่มากนัก แต่ตุรกีจะเป็นประเทศที่เป็นฐานการผลิตเนื้อไก่และส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในอนาคตได้ ทั้งนี้รัฐบาลตุรกีมีการเพิ่มกฏระเบียบและมาตรฐานในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารในสอดคล้องกับมาตรฐานของสหภาพยุโรป เช่น เรื่องสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) การสุ่มตรวจเชื้อซาลโมเนร่า (Salmonella) และยาแอนตี้ไบโอติก เป็นต้น

นายเรวัติ กล่าวว่า ปีที่แล้ว ซีพีเอฟ ตุรกี มีรายได้รวม 562 ล้านเหรียญสหรัฐ และตั้งเป้าเติบโตที่ 610 ล้านเหรียญ หรือเติบโต 8.5% ในปีนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ