ดังนั้น เพื่อให้การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น จึงได้มอบนโยบายให้กรมส่งเสริมการเกษตรจัดสัมมนาเกษตรอาเภอ เกษตรตำบลทั่วประเทศ กว่า 6,000 คน ทั้งนี้ได้แบ่งการสัมมนาเป็น 4 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 วันที่ 1 สิงหาคม 2556 ที่ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 2 วันที่ 10 สิงหาคม 2556 ที่ จังหวัดเชียงใหม่
ครั้งที่ 3 วันที่ 17 สิงหาคม 2556 ที่ จังหวัดขอนแก่น
ครั้งที่ 4 วันที่ 30 สิงหาคม 2556 ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายวราเทพ กล่าวต่อไปว่า การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการซักซ้อมความเข้าใจและขั้นตอนการ ปฎิบัติในการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวรอบปี 2556/57 ซึ่งการขึ้นทะเบียนรอบนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการทบทวนและปรับปรุงการขึ้นทะเบียน ทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การรับ ขึ้นทะเบียน จะมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบและตระหนักถึงโทษในการแจ้งข้อมูลหรือใช้เอกสารเท็จ พร้อมทั้งเข้มงวดในการตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งเกษตรกรที่ขอขยายครัวเรือนจะต้องนาเอกสาร การรับรองการขยายครัวเรือนจากกานันหรือผู้ใหญ่บ้านมาแสดง และเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนต้องเป็นหัวหน้า ครัวเรือน และเป็นเจ้าของผลผลิตในแปลง หากไม่สามารถมาขึ้นทะเบียนได้ด้วยตนเองให้มอบอานาจให้สมาชิกที่ มีชื่อใน ทบก. ไปขึ้นทะเบียนแทน ขั้นตอนที่ 2 การประชาคม แบ่งเป็น การประชาคมกลุ่มย่อย 5 - 10 ราย และลงชื่อรับรองข้อมูลร่วมกัน หากแจ้งข้อมูลเท็จ จะตัดสิทธิการเข้าร่วมโครงการทั้งกลุ่ม และการประชาคม ภาพรวม จะมีมาตรการเข้มงวด โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายตาบล และแผนที่ภาษีที่ดินของ อบต. (ถ้ามี) ประกอบการประชาคมภาพรวมทุกรายและให้เกษตรกรชี้ที่ตั้งแปลงบนภาพถ่ายดาวเทียม นอกจากนั้นในการ ตรวจสอบพื้นที่ จะมีการเพิ่มการสุ่มตรวจวัดพื้นที่ปลูกจาก10% เป็น 20% โดยเน้นให้ตรวจสอบกลุ่มที่ไม่มีสัญญาเช่า หรือไม่มีเอกสารสิทธิ์มาแสดงร้อยละ 70 และตรวจสอบพื้นที่จริงด้วย GPS จาก 10% เป็น 20% โดยเน้นให้ตรวจสอบกลุ่มที่ไม่มีสัญญาเช่า หรือไม่มีเอกสารสิทธิ์มาแสดงร้อยละ 70 ขั้นตอนที่ 3 การออก ใบรับรอง มีการเข้มงวดการพิมพ์และการจ่ายใบรับรองให้ถูกต้องและทันเวลา ซึ่งเกษตรกรที่มารับใบรับรองแทน จะต้องมีหนังสือมอบอานาจให้ผู้ที่มารับแทนและเพิ่มคาเตือนในใบรับรอง “ให้ใช้สิทธิจานาผลผลิตตามจานวน ที่ได้จากการปลูกจริงเท่านั้น การขายใบรับรองและยินยอมให้ผู้อื่นใช้สิทธิในใบรับรองของตัวเอง มีความผิด ตามกฎหมาย”
ทั้งนี้ หากเกษตรกรมีการแจ้งข้อมูลเท็จก็จะเพิกถอนสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการรับจานาข้าวจาก เดิม 1 ปี เป็น3 ปีและมีความผิดตามกฏหมายสาหรับผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี2555/56ระยะเวลาการ สำหรับความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555- 31 พฤษภาคม 2556 (ตัดยอดข้อมูลวันที่ 29 กรกฎาคม 2556) พบว่า มีการขึ้นทะเบียนแล้ว4,195,048 ครัวเรือน ผ่านประชาคม 4,146,123 ครัวเรือน ออกใบรับรอง 4,121,943 ครัวเรือน ดังนั้น การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวชาวนาต้องให้ความร่วมมือแจ้งข้อมูลที่เป็นจริง ไม่ให้ใครมาใช้สิทธิแทน โครงการดีๆอย่างนี้จะมีและอยู่คู่กับเกษตรกรตลอดไป
สำหรับการกำหนดราคารับจำนำข้าวปี 2556/57 คาดว่าคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) จะมีการประชุมเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์หน้าถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆในการเข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะราคารับจำนำที่ 15,000 บาท หรือไม่นั้นก็ต้องมาพิจารณากันอีกครั้ง. อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการที่รัฐบาลดำเนินการอยู่นั้นมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับรายได้ให้กับชาวนา ซึ่งในอนาคตหากราคาข้าวมีความเหมาะสมและสมดุลกับต้นทุนการผลิต เงื่อนไขในการรับจำนำก็อาจจะลดลงได้.