“ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บุคลากรของบริษัทมีการตื่นตัวและสร้างสรรค์นวัตกรรมตลอดเวลา ซึ่งผลงานต่างๆจะถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบ ทุกวันนี้เรามีหน่วยงานที่เรียกว่า Business Innovation Unit กว่า 17 หน่วยงาน กระจายอยู่ในทุกธุรกิจของบริษัทครอบคลุมทั้ง Feed Farm Food และ Trade โดย ซีพีเอฟกำลังเดินหน้าสร้างระบบบริหารนวัตกรรมให้เทียบเท่าสากลตามมาตรฐาน BS 7000 พร้อมตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี จะมีนวัตกร หรือนักวิจัยและพัฒนาของบริษัท ไม่น้อยกว่า 1,000 คน พร้อมนำไปสู่การเพิ่มการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป ที่ผ่านมาบริษัทยังได้สนับสนุนให้มีการมอบรางวัลด้านนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับบรรดานวัตกรทุกปี และ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานภายใน ตลอดจน คู่ค้า ภาครัฐ และ ภาคเอกชน เพื่อเสริมศักยภาพด้านนวัตกรรมของประเทศให้เป็นที่ยอมรับ ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การเป็นครัวของโลกอย่างแท้จริง”
ยกตัวอย่างเช่น ระบบกวนกากตะกอนก้นบ่อ Cover lagoon คือ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของผลงานนวัตกรรม ซึ่งสร้างสรรค์โดยนวัตกรของบริษัท เกิดจากการคิดค้น และพัฒนาระบบกวนกากตะกอนแบคทีเรียที่ก้นบ่อ เพื่อกระตุ้นให้ตะกอนแบคทีเรียที่อยู่ก้นบ่อบำบัด มีการเคลื่อนที่ เพิ่มปฏิกิริยาช่วยให้เกิดแก๊สชีวภาพเพิ่มมากขึ้น ผลงานดังกล่าว ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สชีวภาพของฟาร์มประมาณ 10 %
ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ ใช้งบประมาณสำหรับด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) กว่า 500 ล้านบาทต่อปี สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตจากนวัตกรรมที่องค์กรสร้างขึ้นกว่า 1,100 ล้านบาท และเพิ่มยังโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในอนาคต ซีพีเอฟเตรียมเพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ไว้ที่ 1 % จากยอดขายของบริษัท