‘ว.เทคโนโลยีสยาม’ รับนศ. หลักสูตรป.โท สาขาวิศวกรรมการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

จันทร์ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๕๐
“ผู้สนใจสมัครเป็นรุ่นแรกรับทันทีส่วนลดค่าธรรมเนียมการศึกษา 20-50%”

ดร.ฐกฤต ปานขลิบ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา ดันหลักสูตรใหม่ที่จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของโลก “สาขาวิศวกรรมการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม” ระดับปริญญาโทรุ่นที่ 1 เริ่มรับสมัครเพื่อคัดเลือกศึกษาต่อในภาคการศึกษาที่ 2/2556 พร้อมส่วนลดค่าบำรุงการศึกษา 20-50 %

“วิกฤตของธรรมชาติกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ แหล่งพลังงานจากฟอสซิลในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าสธรรมชาติหรือน้ำมันปิโตรเลียมที่ใช้กันทุกวันโดยทั่วไป กำลังลดลงอย่างรวดเร็วและกำลังจะหมดไป ที่สำคัญยิ่งคือการเผาผลาญพลังงานดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน

ประเทศไทยมีพลังงานจากธรรมชาติไม่เพียงพอ ต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งน้ำมัน ก๊าสธรรมชาติและถ่านหินจากต่างประเทศมีมูลค่านับล้านล้านบาทและมีอัตราการสั่งนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้ต้นทุนในภาคอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ขาดโอกาสการแข่งขันในภาคธุรกิจ สาเหตุทั้งหมดสืบเนื่องมาจากการขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และยังไม่มีการผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญพอที่จะรับมือกับวิกฤตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม และขาดองค์กรที่จะให้การสนับสนุนทรัพยากรบุคคลทางด้านนี้ได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้มีผลงานสู่สังคมให้ทันต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว”

ผู้อำนวยการหลักสูตรฯกล่าวต่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา)ได้โดยคณะท่านผู้บริหารวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการรับมือกับวิกฤตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จึงอนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ขึ้นเพื่อสนองต่อความต้องการอย่างเร่งด่วนในอนาคตของประเทศไทย และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและภาคอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมาถึงในเวลาอันใกล้ มหาบัณฑิตจากสาขาวิชาการจัดการด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมจะเป็นวิศวกรและนักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งในเรื่องพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ การอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสามารถวิเคราะห์ วิจัย ค้นคว้าและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมผู้เรียนจะได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมากด้วยประสบการณ์ ทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครับ”

คุณสมบัติของผู้สมัคร เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต เทคโนโลยีบัณฑิตหรือชื่อปริญญาและสาขาวิชาอื่นที่เทียบเท่า (โดยความเห็นชอบของสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและบัณฑิตวิทยาลัย) สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

ระยะเวลาการศึกษา กำหนดไว้ 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษา โดยใน 1 ปีการศึกษามี 2 ภาคเรียน สำหรับผู้ที่สนใจสมัครแล้วเริ่มเรียนทันทีภาคการศึกษาที่ 2/2556 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ สามารถเลือกเรียนหลังเลิกงานในวันปกติหรือวันเสาร์-อาทิตย์ สนใจสอบถามโทร. 0 2878 5001-3 (ฝ่ายแนะแนวและประชาสัมพันธ์) รับจำนวนจำกัด

ฝ่ายแนะแนวและประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา เลขที่ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 (อาจารย์ อุบลวรรณ สุวรรณ โทร.0 2878 5001-3) Error! Hyperlink reference not valid. [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ