รมว.ทส. มอบนโยบายกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเน้นรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมรับมือภัยแล้ง-น้ำท่วม และสร้างการมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำบาดาลกับประชาชน

จันทร์ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๗:๑๐
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00 น. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมมอบนโยบาย แก่คณะผู้บริหาร ข้าราชการและพนักงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ให้บริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ พร้อมกำชับให้เตรียมแผนแนวทางการรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม รวมทั้งสร้างระบบการทำงานให้ใกล้ชิดกับภาคประชาสังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยเปิดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำบาดาลที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการให้มากที่สุด

ทั้งนี้ นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 2 ท่าน คือ นายสัมฤทธิ์ ชุษณะทัศน์ และนายสุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย ได้นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมให้การต้อนรับนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้บรรยายสรุปภารกิจหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และรายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ 2556 ประกอบด้วย

1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 457 แห่ง งบประมาณ 633 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 2,547 แห่ง

2) โครงการจัดหาน้ำสะอาดให้กับหมู่บ้านหาน้ำยากทั่วประเทศ จำนวน 650 แห่ง งบประมาณ 156 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 3,115 แห่ง

3) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 31 แห่ง งบประมาณ 484 ล้านบาท

4) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 77 พื้นที่ งบประมาณ 72 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 479 พื้นที่

สำหรับแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ 2557 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รับงบประมาณ ดังนี้

1) โครงการจัดหาน้ำสะอาดให้กับหมู่บ้านหาน้ำยากทั่วประเทศ จำนวน 683 แห่ง งบประมาณ 164 ล้านบาท

2) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 700 แห่ง งบประมาณ 753 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 รูปแบบ เพื่อรองรับโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 300 คนขึ้นไป จำนวน 200 แห่ง และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 100 คน จำนวน 500 แห่ง

3) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 1,285 แห่ง งบประมาณ 523 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 รูปแบบ เพื่อรองรับพื้นที่ขนาด 100 ไร่ จำนวน 40 แห่ง และพื้นที่ ขนาด 30 ไร่ จำนวน 1,245 แห่ง

หลังจากนั้น นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กล่าวมอบนโยบายแก่คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหลักในการทำงาน คือ ทำงานด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ บริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และประสาน การทำงานระหว่างหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลนอกจาก จะมีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลแบบบูรณาการเป็นเขตน้ำบาดาลหรือแอ่งน้ำบาดาล รวม 27 แอ่ง ทั่วประเทศแล้ว ยังมีภารกิจหลักด้านการสำรวจและประเมินศักยภาพแหล่งน้ำบาดาล การพัฒนาแหล่ง น้ำบาดาล การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล รวมถึงการกำกับดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 สามารถขยายผลหรือต่อยอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำบาดาลอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ดังนั้น จากการที่กรมทรัพยากร น้ำบาดาลได้รับงบประมาณให้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างต่อเนื่องนั้น แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของแหล่งน้ำบาดาลทั่วประเทศยังสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกเป็นจำนวนมาก ประกอบกับบุคลากรของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลไม่ว่าจะเป็นสายวิชาการหรือสายงานสนับสนุนสามารถประสาน ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยจะต้องมีแผน ในภาพรวมที่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงและหน่วยงานภายนอกกระทรวงด้วย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำชับในเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติด้านน้ำไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรืออุทกภัย ซึ่งได้ให้นโยบายเร่งด่วนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้วเพื่อวางระบบแจ้งเตือนและป้องกันภัยพิบัติ โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า โดยทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสามารถบูรณาการข้อมูลและระบบสารสนเทศร่วมกันได้ และในกรณีที่เหตุการณ์ภัยพิบัติด้านน้ำเกิดขึ้นแล้ว จะต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้เร็วที่สุด พร้อมกันนี้ขอให้มีการสร้างระบบการทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคประชาสังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำบาดาลที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการให้มากที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ