ก๊าซชีวภาพเวิร์ค สนพ. เดินหน้าสนับสนุนผลิตก๊าซฯ จากขี้ไก่ เฟสแรก 16 ฟาร์ม ทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ 40 ล้านบาทต่อปี

จันทร์ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๘:๓๑
สนพ. โชว์ผลการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงไก่ ระยะที่ 1 ผู้ประกอบการเข้าร่วม 16 ฟาร์ม คาดผลิตก๊าซชีวภาพได้ 11,025,960 ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 40 ล้านบาทต่อปี

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้สนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (ERDI) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลาง-ใหญ่ โดยมุ่งเน้นไปที่ฟาร์มสุกรจนประสบความสำเร็จมาแล้ว และปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพอย่างต่อเนื่องจนสามารถประยุกต์ใช้กับปศุสัตว์ได้หลากหลายประเภทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มไก่เลี้ยง ซึ่งจากการสำรวจศักยภาพของฟาร์มเลี้ยงไก่ทั่วประเทศพบว่า มีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ ได้ไม่น้อยกว่า 462 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 554 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1,663 ล้านบาท ดังนั้น ระหว่างปี 2553 - 2556 กองทุนฯ จึงได้สนับสนุนงบประมาณ 118 ล้านบาท ให้ ERDI ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ ในฟาร์มเลี้ยงไก่ ระยะที่ 1

“จากผลการดำเนินโครงการฯ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการให้การตอบรับ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ ระยะที่ 1 มากถึง 16 ฟาร์ม สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 11,025,960 ลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 40 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สนพ. มีเป้าหมายจะดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555 - 2564) หรือแผน AEDP ที่กำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 7,413 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) เพิ่มเป็น 25,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ในปี 2564 หรือคิดเป็น 25% ของการใช้พลังงานรวม” ผอ.สนพ. กล่าว

ด้านนายชุมพร แสนขวา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีวิโรจน์ ฟาร์ม จำกัด จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สนพ. และ ERDI โดยระบบดังกล่าวทำให้บริษัทฯ สามารถนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนช่วยลดค่าใช้จ่ายและยังสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและกลิ่นเหม็นจากมูลไก่ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี

โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีปริมาณมูลไก่ประมาณ 120 ตันต่อวัน ซึ่งทางบริษัทฯ ได้แบ่งสัดส่วนการใช้มูลไก่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ใช้เลี้ยงปลา ผลิตปุ๋ย และผลิตก๊าซชีวภาพ สำหรับมูลไก่ที่เข้าสู่ระบบก๊าซชีวภาพมีประมาณ 40 ตันต่อวัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละ 3,200 ลูกบาศก์เมตร นำไปใช้เป็นพลังงานความร้อนเพื่อทดแทนก๊าซแอลพีจีในการอบแห้งปุ๋ย ได้ประมาณ 1,500 กก.ต่อวัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30,000 บาทต่อวัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ