ทส. รับมอบภาชนะบรรจุน้ำ 5 ลิตร จำนวน 10,000 ใบ จากกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อังคาร ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๓๙
นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานรับมอบภาชนะบรรจุน้ำ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 10,000 ใบ จากกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมส่งมอบให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลนำไปใช้บรรจุน้ำดื่มสะอาด เพื่อแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ และพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาดอุปโภคบริโภค

วันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00 น. ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีรับมอบภาชนะบรรจุน้ำ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 10,000 ใบ จากนายประศิษย์ ชาญสิทธิโชคประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะส่งมอบภาชนะบรรจุน้ำดื่มทั้งหมดให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลนำไปบรรจุ น้ำสะอาดตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติต่อไป

ทั้งนี้ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวขอบคุณ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือประชาชน และให้การสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ ในส่วนที่ดำเนินการอยู่แล้วให้สามารถบังเกิดผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนนายประศิษย์ ชาญสิทธิโชค ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาภัยธรรมชาตินับวันมีแต่จะรุนแรงมากขึ้น ทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค การจัดหาภาชนะบรรจุน้ำดื่มน้ำใช้ เพื่อแจกจ่ายในยามจำเป็นคับขัน จะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอีกทางหนึ่ง ซึ่งตนพร้อมยินดีจะเป็นแรงเสริมที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคราชการอย่างเต็มกำลังและเต็มประสิทธิภาพ

ด้านนายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า ทุกๆ ปี ประเทศไทย จะประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติโดยเฉพาะภัยแล้งและอุทกภัย มีประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนจากการ ขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มอบหมายให้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดทำแผนงาน/โครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสะอาดเพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพออยู่แล้ว แต่เนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งมีเป็นจำนวนมาก บางกรณีเป็นพื้นที่หาน้ำยากและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากเป็นประจำทุกปี หน่วยงานทั้งภาคราชการและภาคเอกชนจึงจำเป็นต้องประสานความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในปีงบประมาณ 2557 นี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีแผนการดำเนินงานที่สำคัญ หลายโครงการ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรได้ในหลายพื้นที่ ทั่วประเทศ ได้แก่

- โครงการจัดหาน้ำสะอาดให้กับหมู่บ้านหาน้ำยากทั่วประเทศ จำนวน 683 แห่ง งบประมาณ 164 ล้านบาท

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 700 แห่ง งบประมาณ 753 ล้านบาท มี 2 รูปแบบ เพื่อรองรับโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 300 คนขึ้นไป จำนวน 200 แห่ง และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 100 คน จำนวน 500 แห่ง

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 1,285 แห่ง งบประมาณ 523 ล้านบาท มี 2 รูปแบบ เพื่อรองรับพื้นที่ขนาด 100 ไร่ จำนวน 40 แห่ง และพื้นที่ขนาด 30 ไร่ จำนวน 1,245 แห่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ