กนอ. โชว์สาธิตคันกั้นน้ำติดตั้งเร็ว ป้องกันน้ำท่วม สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ

พฤหัส ๒๙ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๒๘
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากเหตุการณ์วิกฤติมหาอุทกภัย เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งประสบปัญหาน้ำท่วม สร้างความเสียหายมหาศาล ต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงได้เตรียมมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือลดความเสียหายหากเกิดอุทกภัยต่อฐานการผลิตอุตสาหกรรมของประเทศ อาทิ การซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดภาวะน้ำท่วมเฉียบพลัน และให้การสนับสนุนสร้างระบบเขื่อนป้องกันอุทกภัยนิคมฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เพื่อป้องกันความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และจะมีส่วนช่วยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการในเขต/นิคมอุตสาหกรรม และนักลงทุน ตลอดจนช่วยป้องกันฐานการผลิตอุตสาหกรรมของประเทศ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย วงเงิน 15,000 ล้านบาท และเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปีงบประมาณ 2555 เพื่อก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในนิคมฯ 6 แห่ง ได้แก่ นิคมฯ ลาดกระบัง นิคมฯบางชัน นิคมฯบางปู นิคมฯบางพลี นิคมฯสมุทรสาคร และนิคมฯพิจิตร วงเงิน 3,546.24 ล้านบาท โดยให้กู้ยืมเงินจากธนาคารออมสินในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ระยะเวลา 15 ปี ให้จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยโดยไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้น ใน 5 ปีแรก ปัจจุบัน กนอ. ได้มีการทบทวนปรับแบบก่อสร้างให้มีประสิทธิผล เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ และคุ้มค่ากับการลงทุน คิดเป็นงบประมาณในวงเงิน 3,140 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในนิคมฯ 6 แห่ง ตามมติ ครม. ประกอบด้วย 5 ระบบงานหลัก ได้แก่ งานติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบสื่อสารและระบบเฝ้าระวัง งานซื้อคันกั้นน้ำชนิดติดตั้งเร็วตามแผนสำรองฉุกเฉิน งานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนฯ และงานก่อสร้างเขื่อนและระบบป้องกันน้ำท่วมนิคมฯ สถานภาพความคืบหน้าปัจจุบัน งานติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างฯ และงานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง กนอ. ดำเนินการจนได้ผู้รับงาน ส่วนงานก่อสร้างเขื่อนและระบบป้องกันน้ำท่วมนิคมฯ กนอ. ได้ผู้ประมูลงานก่อสร้างเขื่อนฯ นิคมฯพิจิตรเพียงแห่งเดียว นิคมฯ ที่เหลืออีก 5 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคางานก่อสร้างฯ ตามระเบียบพัสดุ

สำหรับคันกั้นน้ำชนิดติดตั้งเร็วตามแผนสำรองฉุกเฉิน กนอ. ได้จัดซื้อโดยวิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบพัสดุ จากบริษัท ยูนิเวอร์แซล เทคโนโลยีส์ จำกัด จำนวนเงิน 141.500 ล้านบาท และได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 ระยะเวลารับประกัน 2 ปี ยี่ห้อ HESCO รุ่น F4315 เป็นอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม (Flood Protection /Flood Defence Unit) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการใช้งานจากสถาบัน ERDC (Engineer Research and Development Center) ภายใต้สังกัด USACE (US Army Corps of Engineers) มีจำนวน 2,188 ชุด 1 ชุด มีขนาดความสูง 1.219 เมตร ความกว้าง 0.914 เมตร ความยาว 9.144 เมตร รวมความยาวเมื่อติดตั้งทั้งสิ้นประมาณ 20 กิโลเมตร อุปกรณ์ชนิดนี้จะเป็นตัวสำรองเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ชั้นในของนิคมฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำท่วมในกรณีฉุกเฉิน และความรวดเร็วในการจัดการกับปัญหา มีคุณลักษณะที่สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และทันท่วงที เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถถอดประกอบได้เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ สามารถรับแรงดันน้ำในระดับสูงได้ มีโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ แข็งแรง ทนทาน อีกทั้งยังสามารถจัดวางในพื้นที่โค้งงอ 45 - 90 องศา ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับเพิ่มความยาวหรือปรับให้สั้นลงได้ มีอัตราการรั่วซึมต่ำ ประหยัด

แรงงานคน และกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยกำหนดส่งมอบงวดที่ 1 เดือนสิงหาคม และงวดที่ 2 เดือนกันยายน 2556 ซึ่งจะเก็บรักษาไว้ที่นิคมฯลาดกระบัง นิคมฯสมุทรสาคร และนิคมฯบางพลี ทั้งนี้ กนอ ได้นำ คันกั้นน้ำชนิดติดตั้งเร็วนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณถนนทางหลวงชนบท สาย สป.1006 นิคมฯบางพลี อันนำมาสู่การสาธิตการใช้งานคันกั้นน้ำชนิดติดตั้งเร็ว ณ นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ในวันนี้ เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนและสื่อมวลชน ถึงประสิทธิภาพของวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในการเตรียมพร้อมป้องกันอุทกภัยนิคมอุตสาหกรรม ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่ทั้งนี้ เชื่อว่า รัฐบาลและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคงไม่เกิดกรณีวิกฤติอย่างที่ผ่านมาอีก

นายประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้า โครงการปรับปรุงระบบเขื่อนป้องกันอุทกภัยฯ ของนิคมฯในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิคมฯบ้านหว้า ได้ดำเนินการก่อสร้างฯแล้วเสร็จ พร้อมเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าก่อสร้าง จำนวนเงินทั้งสิ้น 222.5679 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว นิคมฯบางปะอิน ได้ดำเนินการก่อสร้างฯ แล้วเสร็จ พร้อมเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างฯ จำนวนเงิน 301.2136 ล้านบาท แล้ว คงเหลือ 12.1263 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการสำหรับนิคมฯสหรัตนนคร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง ขณะนี้เสนอแนวคิดเบื้องต้น เพื่อให้ กนอ. พิจารณาแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ