"ศิริวัฒน์"เล็งต่อยอดพัฒนาท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตก้าวสู่ทูน่าฮับในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก

จันทร์ ๐๒ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๑:๐๓
"ศิริวัฒน์"เล็งต่อยอดพัฒนาท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตก้าวสู่ทูน่าฮับในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก มอบองค์การสะพานปลาเชื่อมประมงและจังหวัดร่วมผลักดัน 4 แผนหลัก

นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสตร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต จ.ภูเก็ต ว่า ด้วยศักยภาพและความพร้อมในด้านต่างๆ ของท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตไม่ว่าจะเป็น ท่าเทียบเรือประมงยาว 500 เมตรสำหรับเรือประมงเบ็ดราวทูน่า ทั้งเรือประมงเบ็ดราวทูน่าแช่เย็นและแช่งแข็ง ห้องเย็นขนาด 600 ตัน พร้อมโรงงานผลิตน้ำแข็ง ตลอดจนมีพื้นที่สำหรับจัดตั้งเป็นโรงงานแปรรูปทูน่าที่พร้อมในการพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมการส่งออกได้ และที่สำคัญ คือ ในด้านการคมนาคมขนส่งทั้งบก ทางเรือ และทางอากาศ ล้วนเป็นปัจจัยที่กระทรวงเกษตรฯ พิจารณาเห็นว่าท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพาน สามารถพัฒนาไปสู่ศูนย์กลางด้านการประมงของภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก หรือทูน่าฮับโดยเฉพาะปลาทูน่าซึ่งจังหวัดภูเก็ตถือเป็นแหล่งทรัพยากรประมงทูน่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และมีกองเรือประมงเบ็ดราวทูน่าจากไต้หวันและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำการประมงในบริเวณดังกล่าวโดยขนถ่ายและจำหน่ายผ่านจังหวัดภูเก็ต น้ำลึกจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งต่อไปยังโรงงานปลาทูน่ากระป๋องในประเทศและต่างประเทศด้วย

สำหรับแผนดำเนินการที่จะพัฒนาท่าเทียบเรือภูเก็ตไปสู่ทูน่าฮับนั้น องค์การสะพานปลาได้วางแนวทางเบื้องต้นไว้ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. การขุดลอกบริเวณด้านหน้าท่าเทียบเรือประมง ความลึกประมาณ 4 เมตร 2. การบริหารจัดการพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง โดยจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นเขตพื้นที่ขนถ่ายปลาทูน่าแยกจากพื้นที่ขนถ่ายสัตว์น้ำทั่วไป รวมทั้งจัดบุคลากรควบคุมดูแลการเข้าจอดเทียบท่าและการขนถ่ายปลาทูน่า 3.จัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเขตก่อสร้างโรงงานแปรรูปปลาทูน่า โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการโรงงาน 4. การก่อสร้างโรงประมูลปลาทูน่าบริเวณท่าเทียบเรือประมง พร้อมติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมการผลิต การตลาดปลาทูน่าอย่างครบวงจร

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามแนวทางต่างๆ ข้างต้น ได้มอบหมายให้องค์การสะพานปลาจะประสานงานร่วมกับกรมประมงในการนำเข้าและส่งออกปลาทูน่าที่จังหวัดภูเก็ต และบูรณาการร่วมกับทางจังหวัดทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจประมงในการสนับสนุนโครงการนี้ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการพัฒนาการทำประมงปลาทูน่าและการตลาดปลาทูน่าในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก และเป็นต้นแบบในการพัฒนาท่าเทียบเรือประมงอื่นๆ ได้ในอนาคต

"ปัจจุบันท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตมีเรือที่เข้ามาขนถ่ายสัตว์น้ำแต่ละปีจำนวนมาก แบ่งเป็น เรือประมงในประเทศ 80% และเรือประมงเบ็ดราวทูน่าจากต่างประเทศอีก 20% เช่น เรือประมงเบ็ดราวทูน่าจากต่างประเทศไต้หวัน โดยปลาทูน่าที่มีคุณภาพดีที่สามารถรับประทานเป็นปลาดิบได้จะถูกคัดเลือกและส่งออกไปยังตลาดในประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือที่เรียกว่าปลาทูน่าตกเกรดจะขายให้กับโรงงานแปรรูปปลาทูน่าในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดระนองเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าสดแช่แข็ง เพื่อส่งขายต่อไปยังตลาดในและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และจีน นอกจากนี้ ในบางปียังมีเรือประมงอวนล้อมจับปลาทูน่าจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย และนำปลาทูน่าขนถ่ายผ่านท่าเทียบเรือด้วย สำหรับสัตว์น้ำที่ขนถ่ายผ่านท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตนอกจากทูน่าแล้ว ยังประกอบด้วย ปลาทู ปลาลัง ปลาทูแขก กุ้ง ปลาหมึก ปลากะตัก ในปี 2555 มีปริมาณสัตว์น้ำรวม 29,581 ตัน มูลค่าประมาณ 1,830 ล้านบาท"นาย ศิริวัฒน์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ