อนันดาฯ พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับสากล มุ่งพัฒนาโครงการตามแนวโครงข่ายรถไฟฟ้า ดึงแผนพัฒนาเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ

อังคาร ๐๓ กันยายน ๒๐๑๓ ๐๙:๕๘
บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) นำคณะสื่อมวลชนและผู้บริหารเยือนบริษัท มิตซุย ฟูโดซัง บริษัทยักษ์ใหญ่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาถึงการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่นนับเป็นต้นแบบในการยกระดับมาตรฐานอสังหาริมทรัพย์ไทยเทียบเท่าระดับสากล พร้อมเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบสถานี และเตรียมดึงโนว์ฮาวและนวัตกรรมการออกแบบที่ทันสมัย ตั้งเป้า 10 ปีจากนี้ คาดหวังพัฒนาคอนโดฯ เกาะแนวรถไฟฟ้าครบ 245 สถานี ตามแผนพัฒนาระบบรางของไทยทั้ง 12 เส้นทาง

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการอสังหาริมทรัพย์แนวสูงติดรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ในกรุงเทพฯ มีการขยายตัวออกไปตามแนวระบบขนส่งมวลชนและตามแรงผลักดันของความต้องการจากภาคธุรกิจ ศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัย ซึ่งล้วนต้องการอยู่ใกล้กับสถานีระบบขนส่งมวลชน จำเป็นจะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้อย่างรอบคอบ รวมถึงการวางแผนพัฒนาโครงการต้องคำนึงถึงอุปทานหรือซัพพลายที่ตลาดจะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาที่โครงการจะเปิดตัวหรือสร้างเสร็จ โดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกรุงเทพฯ โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีรูปแบบการขนส่งมวลชนที่หลากหลาย ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งระบบขนส่งทางบก ถือเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วนที่สุด ซึ่งหากประเทศไทยพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นด้วย

หากมองประเทศต้นแบบด้านระบบขนส่งมวลชนแล้ว ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาระบบระบบขนส่งมวลชนที่มีความพร้อมที่สุดในโลก เพราะญี่ปุ่นสามารถพัฒนาระบบรางที่สมบูรณ์ได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ส่งผลให้การเดินทางของประชาชนมีความสะดวกมากขึ้น ทั้งที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่ แต่การบริหารจัดการขนส่งมวลชนสามารถทำได้อย่างมีระบบ โดยเฉพาะในกรุงโตเกียว ที่ถือเป็นศูนย์กลางการคมนาคมภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น โดยประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางที่สำคัญ ได้แก่ รถไฟฟ้า และรถใต้ดิน ที่มีเครือข่ายกว้างใหญ่และมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในโลก ถึงแม้จะมีประชากรจำนวนกว่า **13 ล้านคนต่างเข้ามาแออัดอยู่ในที่กรุงโตเกียว แต่กรุงโตเกียวแห่งนี้ก็ยังได้รับความนิยมและถูกเลือกให้เป็น 1 ใน 5 เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก และได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองที่มีระบบขนส่งที่ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีความเร็วและระบบการบริหารจัดการได้อย่างดีที่สุด ได้นำพาความเจริญไปสู่พื้นที่ส่วนต่างๆ ได้สำเร็จแล้ว ตั้งแต่ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับชุมชน

ในขณะที่ประเทศไทย มีแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) ***มีจำนวนทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ได้แก่ สาย 1: รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) สาย 2: รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) สาย 3: รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ (บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) สาย 4: รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-สมุทรปราการ) สาย 5: รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) สาย 6: รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) สาย 7: รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) สาย 8: รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) สาย 9: รถไฟฟ้าสายสีชมแพู (แคราย-มีนบุรี) สาย 10: รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สาย 11: รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) สาย 12: รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ระยะทางรวม 495 กม. เป็นโครงข่ายสายหลัก 8 เส้นทาง และโครงข่ายสายรอง 4 เส้นทาง ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาด้านการขนส่งเช่นเดียวกับกรุงโตเกียว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยิ่งทำให้ทิศทางของเมืองเปลี่ยนไป โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนที่เห็นได้อย่างชัดว่า มีผลต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมเกาะแนวรถไฟฟ้า เพราะเมื่อเกิดรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ยิ่งก่อให้เกิดการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่มากมายตามไปด้วย ซึ่ง 60% ของการก่อสร้างมักอยู่ตามแนวเส้นทางขนส่งมวลชนเป็นหลัก

ส่งผลให้ยุทธศาสตร์การลงทุนและแผนการดำเนินงานของบริษัท ในระยะ 16 ปีนับจากนี้ ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าใน 245 สถานีดังกล่าว ในรัศมีไม่เกิน 300 เมตร ภายใต้ แบรนด์ “IDEO” เป็นหลัก โดยล่าสุดได้พัฒนาโครงการ “IDEO Q พระราม 4” สำหรับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ในรูปแบบห้องชุดพร้อมตกแต่ง ขนาดเริ่มต้น 21 ตารางเมตร บนอาคารชุดสูง 40 ชั้น จำนวน 1,602 ยูนิต ราคาเริ่มต้นช่วง Pre-Sales ที่ 2.89 ล้านบาท มูลค่าโครงการประมาณ 6,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาโครงการประมาณ 3 ปี โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดขายในไตรมาสที่ 4 ปี 56 และคาดว่าจะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ และรับรู้รายได้ในปี 2559

ข้อมูลจาก

* CBRE ณ วันที่ 14 ส.ค. 2556

**AREA และ ECA International's Location Ratings Survey rates living standards

*** สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หรือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จากัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณกุลนรี มีแก้ว (มิ้นท์) ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์

นันทพร บุญ-หลง, สมฤทัย ผลพละ Email : [email protected]

บริษัท สยาม พีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด โทร : 0 2697 3300 ต่อ 3208

โทร. 0-2693-7835-8 ต่อ 20, 21 คุณอรวรรณ รัตนา (เปรี้ยว) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

Email: [email protected] โทร: 0 2697 3300 ต่อ 321

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๗:๐๐ เกษตรเขต 2 จับมือเกษตรจังหวัด 8 จังหวัด วางแผนขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2568 ในพื้นที่ภาคตะวันตก
๒๑:๔๒ เคาน์ดาวน์หลากบรรยากาศใจกลางกรุงเทพฯ ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ
๑๙ ธ.ค. หนิง ปณิตา นำทีม Dr.master ปฏิวัติวงการสินค้าดูแลเส้นผม! ปั้น Creator ให้เป็น Hair Master ตัวจริง
๒๐:๔๖ นักศึกษา มจพ.คว้า 2 เหรียญทอง หมากรุกไทยและหมากรุกอาเซียน กีฬาแห่งชาติ จันท์เกมส์ ครั้งที่ 49 ณ จังหวัดจันทบุรี
๑๙ ธ.ค. JAS Group จัดกิจกรรม JAS Virtual Run ก้าวสู่ปีที่ 42 อย่างยั่งยืน
๑๙ ธ.ค. เจียไต๋เดินหน้าจัด เจียไต๋ โซเชียล เดย์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมพลังเจียไต๋อาสาทั่วประเทศปลูกความยั่งยืนให้ชุมชน
๑๙ ธ.ค. กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน อัลตร้า นอริชชิ่ง ลิป แอมพูล มาสก์ เติมความชุ่มชื้นให้ปากฉ่ำในช่วงฤดูหนาวนี้
๑๙ ธ.ค. 3 ร้านอาหารเครืออิมแพ็ค แนะนำเมนู Festive เชิญร่วมฉลองส่งท้ายปีกับเมนูแสนอร่อย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 ธันวาคม
๑๙ ธ.ค. กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน กิฟฟี่ ฟาร์ม คิดส์ เจล ทูธเพสท์ สำหรับเด็กๆ
๑๙ ธ.ค. โคคา-โคล่า ไทยน้ำทิพย์ นำโรงงานรังสิตคว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงาน ชูนวัตกรรมด้านความยั่งยืนในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม