พม. จัดอบรมหลักสูตร “ภูมิปัญญาผู้สูงวัยใจอาสา ร่วมพัฒนาสังคม”

ศุกร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๑:๑๓
วันนี้ (๕ ก.ย. ๕๖) เวลา ๑๑.๐๐ น. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีปิด และมอบวุฒิบัตรแก่แกนนำคลังปัญญาผู้สูงอายุ ๗๖ จังหวัด และ ๕๐ เขตในกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น ๑๒๖ คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “ภูมิปัญญาผู้สูงวัยใจอาสา ร่วมพัฒนาสังคม” ณ ห้องปริ๊นซ์บอลรูม ๑ ชั้น ๑๑ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาสังคมได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบมีความซับซ้อน รุนแรง และแพร่กระจายเข้าถึงประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานภาพ ไม่จำกัดพื้นที่แม้แต่ในครัวเรือน เมื่อเกิดปัญหาแก่บุคคลใดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจของบุคคลและสมาชิกครอบครัวอีกหลายคนเป็นลูกโซ่ บั่นทอนการพัฒนาประชาชนซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ตระหนักในความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC ๑๓๐๐ เพื่อสร้างระบบบริการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างบูรณาการ ณ จุดเดียวโดยเน้นให้เกิดการรับรู้ปัญหาที่ฉับไว เพื่อเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที และสามารถทำงานเชิงคุ้มครองป้องกันปัญหา โดยให้ความสำคัญกับพลังอาสาสมัคร ทำงานคู่ขนานกับภาครัฐเพื่อร่วมกันขจัดปัญหาสังคมให้หมดสิ้นดูแลประชาชนทุกช่วงวัย

นายอนุสรณ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการขับเคลื่อนกลไก ภาคประชาชนให้เป็นอาสาสมัคร ได้ให้ความสำคัญกับพลังความร่วมมือของประชาชน โดยเฉพาะพลังของผู้สูงอายุ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของชุมชนได้รู้ได้เห็นมาโดยตลอด ประกอบกับ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในวัยที่พ้นจากภาระการประกอบอาชีพหารายได้แล้ว และมักเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะพร้อมที่จะเป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น ทั้งเวลา ทรัพย์ และโอกาส ตลอดจนภูมิปัญญาที่สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมการถ่ายทอดให้ผู้สนใจเพื่อพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ ฟื้นฟูสภาพให้สามารถพึ่งตนเองได้อีกด้วย จึงได้จัดอบรมแกนนำคลังปัญญาผู้สูงอายุ ๗๖ จังหวัด และ ๕๐ เขต ในกรุงเทพฯ รวม ๑๒๖ คน เพื่อให้เป็นภาคีหลักนำความรู้ไปขยายผลสู่การจัดอบรมอาสาสมัคร “ภูมิปัญญาผู้สูงวัยใจอาสา ร่วมพัฒนาสังคม”ณ ภูมิลำเนาในของตนเองต่อไป

“ปัญหาสังคมไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือปัญหาของรัฐแต่เพียงลำพัง เพราะ จะไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปรับรู้ปัญหา และเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง หรือเรื่องละเมิดที่กำลังเกิดขึ้นกับเด็ก สตรี ผู้ตกเป็นเหยื่อในแต่ละชุมชนได้ จึงไม่สามารถจัดสรรคนเข้าไปช่วยเหลือได้ฉับพลันทันต่อปัญหา ใครจะรู้ปัญหาชุมชนได้ดีเท่าคนในชุมชนเอง ซึ่งหากได้เติมเต็มองค์ความรู้ให้อาสาสมัครในชุมชนได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ได้เรียนรู้กรณีตัวอย่าง (CASE Study) ที่หลากหลายก็เท่ากับเราได้เสริมพลังภาคสังคมให้แข็งแกร่ง สามารถชี้เป้าเฝ้าระวังภยันตรายและช่วยขจัดภัยร้ายที่คุกคามสังคมให้สิ้นไปได้” นายอนุสรณ์ กล่าวตอนท้าย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ