เสียงสะท้อน เยาวชนไทย ปัญหาท้องในวัยเรียน วอนผู้ใหญ่ตัดไฟที่ต้นลม

ศุกร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๖:๐๙
ปัญหาเยาวชนท้องในวัยเรียน กำลังเป็นที่วิตกกังวลของผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ด้วยสถิติที่น่ากลัวยืนยันว่า ประเทศไทยติดอันดับ 1 ในเอเชีย และอันดับ 2 ของโลก นับเป็นเรื่องที่ไม่อาจเพิกเฉยได้อีกต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวมไปถึงสื่อมวลชน เคลื่อนไหวกันคึกคักในการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทว่า ภาพโดยรวมส่วนใหญ่ยังคงเป็นการมองปัญหาข้างเดียวจากผู้ใหญ่ แม้ในบางกิจกรรมให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม แต่นั่นเป็นการกำหนดกรอบของผู้ใหญ่อยู่ดี

จากการประชุมสัมมนา โครงการเจ้าสัวน้อยภายใต้สมาคมสายใยครอบครัว ในหัวข้อ เยาวชนร้อง ท้องในวัยเรียน เหยื่อสังคมไทย ? มีใครนึกถึงคำพังเพย หนามยอกเอาหนามบ่ง วันนี้ทำไมไม่ให้เด็กเป็นผู้เริ่มต้นกิจกรรมและงานทั้งหมดในการรณรงค์เรื่องนี้ด้วยตัวเอง นายสิรภพ มานิธิคุณ-น้องเน็ต ศึกษาอยู่ชั้น ม.4โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ให้มุมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ผมว่าเรื่องนี้ต้องป้องกันครับ ตัวเด็กเองที่ต้องป้องกัน ผู้ใหญ่ต้องให้ความรู้ ต้องแนะนำ ไม่ต้องปิดบัง เพราะโลกเทคโนโลยีไปไกลกว่าคำสอน สำหรับตัวผม ยอมรับว่าเคยมีแฟน แต่ไม่เคยเกินเลยครับ เพราะคุณพ่อคุณแม่สอนเสมอว่า เราต้องให้เกียรติผู้หญิง วิธีการห้ามใจเวลาไปเที่ยวด้วยกัน ไม่ต้องห้ามใจอะไรเลยครับ แค่เราให้เกียรติเขา ดูแลเอาใจใส่ อยากฝากถึงเพื่อนๆวัยรุ่นว่า พ่อแม่อาจจะไม่ฟังเรา แต่เราก็ต้องมีสติในการคิดว่าจะทำหรือไม่ หากปรึกษาพ่อแม่ไม่ได้ เราก็ยังมีคุณครู มีผู้ใหญ่คนอื่นๆ หรือใช้สื่อเทคโนโลยีในทางที่ถูกต้อง ค้นหาหน่วยงานที่พร้อมเปิดรับและให้คำปรึกษา มีมากมายในกูเกิ้ล ชีวิตเป็นของเราอย่าไปฝากไว้กับ แค่เรื่องนี้เพียงเรื่องเดียวเลยครับ ส่วนผมในฐานะเด็ก ผมก็อยากฝากถึงผู้ใหญ่ทีกำลังแก้ปัญหาให้พวกเราอยู่ ขอบคุณมากครับ แต่ถ้ามีพื้นที่ให้พวกเราได้คิดและทำในเรื่องของพวกเรากันเองบ้าง น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น หรือ พัฒนาเยาวชนของชาติได้อย่างมีทิศทางและยั่งยืนมากกว่านะครับ”

ด้านแก๊งสายใยวัยทีมนำโดย น้องบีบี-ธนนพวรรณ รุจิภาคย์วิสิษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง “อยู่ที่ตัวเราค่ะ ว่าเรามองเรื่องนี้อย่างไร บางคนอาจมองเป็นแฟชั่นไปแล้ว และมองเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าไม่มีแฟนเป็นเรื่องแปลก ทำให้ถูกมองเป็นตัวประหลาด ใครมีแฟนก็ภูมิใจ กระแสมันมาแบบนี้ ที่นี่เมื่อคบกันแล้วก็เกินเลย นั่นอยู่ที่จังหวะและเวลาของแต่ละคู่ค่ะ ผู้ใหญ่ไม่สามารถแทรกเข้ามาในกลุ่มพวกเราได้หรอกค่ะ เพราะความคิดต่างกัน คุยกันไม่รู้เรื่อง ต้องให้พวกเรานี่แหละคุยกันเอง แต่จะแนวไหน แบบไหน ก็ต้องลองเปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้พวกเราบ้าง”

พี่เอื้อง-ศริฎา กัลยาณชาติ ประธานดำเนินงานโครงการเจ้าสัวน้อย หนึ่งในหลักสูตรสายใยครอบครัว ที่คลุกคลีกับเยาวชนซึ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชของสมาคมสายใยครอบครัว กล่าวถึงการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หรือ ท้องในวัยเรียน ว่า “เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ถ้าเกิดขึ้นในโลกตะวันตกที่มีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างออกไปจากเราแบบตรงกันข้าม ปัญหาไม่ใช่การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน แต่ปัญหาคือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดสิ่งที่ตามมา นั่นหล่ะคือปัญหา พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หน่วยงาน ผู้หลักผู้ใหญ่ สอนเรื่องเพศศึกษากันในรูปแบบไหน เท่าทันกับสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ไร้พรมแดนหรือไม่ วัฒนธรรมประเพณีของไทยเราเปิดกว้าง ยอมรับ การอบรมสั่งสอนแบบเปิดเผยหรือไม่ เรื่องนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาแบบฉับพลัน แต่ต้องให้เวลา และอดทน รวมถึงต้องเข้าใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในการที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้ตระหนักถึงคือ การที่เด็กท้องในวัยเรียน ในท่ามกลางประเทศของเราที่วัฒนธรรมไม่เปิดรับ การทำมาหากิน ชีวิตความเป็นอยู่ บริบทต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวของเขา . จะส่งผลให้เกิดการสั่งสมภาวะความเครียด แล้วป่วย .ไม่เพียงแต่เด็ก แต่พ่อแม่ ก็อาจเกิดภาวะเดียวกันได้ การสั่งสมความเครียดก่อให้เกิดสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ และนั่นเป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อเนื่องไปถึงอาการของผู้ป่วยจิตเวช และหากวันนี้ยังไม่มีการคำนึงถึงเรื่องนี้ วันข้างหน้าเราจะมีผู้ใหญ่ที่ป่วยโดยไม่รู้ตัวว่าป่วยเดินเต็มบ้านเต็มเมือง ภาพอนาคตของประเทศไทย จะเดินไปทิศทางไหน”

พี่ลาภ- พูนลาภ ฤดีล้ำเลิศสกุล อดีตคนทำเพลงจากค่ายดัง และที่ปรึกษาการทำเพลง“ไม่ได้เกิดมาเพื่อแพ้” บทเพลงให้กำลังใจผู้ที่กำลังจะฆ่าตัวตายสร้างสรรค์โดยแก๊งสายใยวัยทีน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ผมว่า สังคมไทยกำลังขัดแย้งกันเอง ส่วนหนึ่งเปิด ส่วนหนึ่งปิด การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ เพียงแต่เราจะจัดการให้ถูกที่ถูกทางได้อย่างไร เราอย่าเรียกว่าปัญหาเพราะถ้าเป็นปัญหาเราต้องแก้ไข แต่อันนี้เป็นถือเป็นงานพัฒนา เราต้องพัฒนาคน พัฒนาความรู้ พัฒนาความคิด ให้ทันกับ ยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง ที่น่าเป็นห่วงคือ หากพัฒนาไม่ทัน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา อาการป่วยทางใจที่เกิดจากความเครียด ส่งผลเชื่อมต่อถึงอาการทางสมองของเยาวชน ก่อให้เกิดอาการเริ่มต้นเป็นผู้ป่วยจิตเวช นี่แหละคือปัญหาในบทสรุปของเรื่องนี้”

โครงการพัฒนาประเทศไทย มุ่งพัฒนาอยู่รอบนอก โดยผู้ใหญ่ทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อแม่ได้ลองให้โอกาสลูกหลานเราได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ของพวกเขา เพื่อที่เขาเหล่านี้จะได้กำหนดอนาคตประเทศไทยอย่างถูกทิศถูกทางและไม่ลักปิดลักเปิดอย่างเช่นที่เป็นทุกวันนี้

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ คุณธัญญวลัย อินทนนท์ 092 2627748 อุมา พลอยบุตร์ 087 704 4507

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ