- พ.ย. ๒๕๖๗ ราช กรุ๊ป ประกาศกำไรไตรมาสแรก 1,741 ล้านบาท เตรียมรับรู้รายได้โครงการเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่นในไตรมาส 2
- พ.ย. ๒๓๐๙ ราชบุรีโฮลดิ้ง เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)” มุ่งสู่บริษัทชั้นนำด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
- พ.ย. ๒๕๖๗ ราชบุรีโฮลดิ้ง ประสบความสำเร็จจัดหาเงินกู้ 222 ล้านเหรียญสหรัฐ เดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเรียว ในอินโดนีเซีย มั่นใจเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เดือนพฤษภาคม 2564
เมื่อเร็วๆนี้ ฯพณฯ คำมะนี อินทิลาด (ที่สามจากซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว และนายพงษ์ดิษฐ พจนา (ที่สองจากขวา)กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (“ราชบุรีโฮลดิ้ง”) ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามสัญญาบริการจัดหาบุคลากรเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา ระหว่างบริษัท ราช-ลาว เซอร์วิส จำกัด กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีนายพิษณุ ทองวีระกุล (ที่สี่จากซ้าย) รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ กฟผ. และนายเกรียงฤทธิ์ เจียจันทร์พงษ์ (ที่สามจากขวา) ประธานกรรมการ บริษัท ราช-ลาว เซอร์วิสจำกัด เป็นผู้ลงนาม สำหรับ บริษัท ราช-ลาว เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัทย่อยของราชบุรีโฮลดิ้ง ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียจันทน์ สปป. ลาว ดำเนินธุรกิจให้บริการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 สปป. ลาว ภายใต้สัญญาดังกล่าว บริษัท ราช-ลาว เซอร์วิส จำกัด จะดำเนินการสรรหาบุคลากรลาวที่มีคุณสมบัติ ทักษะความสามารถตรงตามความต้องการของ กฟผ. จำนวน 117 คน เพื่อเข้าไปปฏิบัติงานเดินเครื่องและบำรุงรักษากับ กฟผ. ในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา โดยระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่มีนาคม 2557 จนถึงมิถุนายน 2560 มูลค่าสัญญา 87 ล้านบาท ทั้งนี้ ราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้นร้อยละ 40 ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1,878 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่แขวงไซยะบุรี สปป. ลาว กำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2558 และไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้กับ กฟผ. ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 25 ปี