เอ็มอาร์ โซลูชั่นส์ เปิดตัวเครื่องสแกน MRI/PET แบบ 3T ปลอดก๊าซฮีเลียม และสเปกโตรมิเตอร์ MRI/SPECT แบบ 3T ชิ้นแรกของโลกที่งานประชุมการสร้างภาพระดับโมเลกุลโลกในสหรัฐอเมริกาสัปดาห์นี้

พุธ ๑๘ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๓:๐๑
บริษัท เอ็มอาร์ โซลูชั่นส์ ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ยังคงบทบาทความเป็นผู้นำการปฏิวัติเทคโนโลยีสแกนแบบพรีคลินิก ด้วยการเปิดตัวเครื่องสแกน MR/PET แบบ 3T ปลอดก๊าซฮีเลียม และสเปกโตรมิเตอร์ MR/SPECT แบบ 3T ตัวแรกของโลกที่งานประชุมการสร้างภาพระดับโมเลกุลโลก (World Molecular Imaging Conference:WMIC) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซาวันนาห์ รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 18-21 ก.ย. นี้

ดร. เดวิด เทย์เลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท เอ็มอาร์ โซลูชั่นส์ กล่าวว่า “การผนวกรวมเครื่องสแกน PET ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือสเปกโตรมิเตอร์เข้ากับเครื่องสแกน MRI แบบปลอดก๊าซฮีเลียมที่มีศักยภาพสามารถสร้างสรรคุณประโยชน์ให้แก่แวดวงการศึกษาและเภสัชกรรมอย่างมหาศาล โดยเหล่านักวิจัยจะได้พบกับการสร้างภาพด้วยวิธีการที่หลากหลายในช่วงเวลาเดียวกันจากระบบเหล่านี้เป็นครั้งแรก ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการผลิตเครื่องมือดังกล่าวในเชิงพาณิชย์ แต่เป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งของเรา เพื่อนำเสนอการสร้างภาพอย่างมีคุณภาพมากที่สุด รวมถึงข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องทำงานกับสัตว์ ทำงานได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น”

เอ็มอาร์ โซลูชั่นได้พัฒนาการสร้างภาพจากสเปกโตรมิเตอร์ โดยการสร้างระบบใหม่ซึ่งสามารถติดตั้งกล้องรังสีแกมมา 3 ตัว และคอลลิเมเตอร์ (อุปกรณ์ที่ใช้ในการจำกัดขอบเขตลำรังสี) เข้ากับด้านหน้าของช่องเครื่องสแกน MRI ได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อการสร้างภาพสแกนที่ทันสมัยแบบ 3 มิติ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถบันทึกภาพจากสเปกโตรมิเตอร์ร่วมกับภาพของเครื่องสแกน MRI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ภาพทั้งเชิงกายวิภาค และการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย และกล้องรังสีแกมมาของสเปกโตรมิเตอร์ยังสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆอีกด้วย

ส่วนเครื่องสแกน PET ได้มีการติดตั้งเครื่องตรวจจับที่แข็งแรงเพิ่มเติม พร้อมด้วยเทคโนโลยี ASIC ซึ่งใช้ในส่วนของช่องสแกน MRI เครื่องสแกนได้ผนวกรวมภาพของเนื้อเยื่อที่แสดงลักษณะโครงสร้าง และการทำงานที่สมบูรณ์จากระบบ MRI เข้ากับการสร้างภาพของ PET ที่มีความละเอียดสูงสุด เพื่อวินิจฉัยกระบวนการเผาผลาญอาหาร และวิเคราะห์ประเภทของเซลล์ที่ต้องการ หรือตัวรับความรู้สึกของเซลล์ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในสาขาเนื้องอกวิทยา [http://en.wikipedia.org/wiki/Oncology ] หัวใจวิทยา [http://en.wikipedia.org/wiki/Cardiology ] และประสาทวิทยา [http://en.wikipedia.org/wiki/Neurology ]

อาจกล่าวได้ว่า เครื่องสแกน MRI แบบ 3T ปลอดก๊าซฮีเลียมขนาดตั้งโต๊ะ (ขนาดช่องสแกน 16, 31 และ 72 เซนติเมตร) ซึ่งบริษัทได้เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นได้กลายเป็นนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการการสแกนแบบพรีคลินิกได้อย่างสิ้นเชิง เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยนำเสนอภาพเนื้อเยื่ออ่อนที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น พร้อมกับความละเอียดในระดับสูง สามารถลดการรบกวนของสนามแม่เหล็กได้อย่างมาก อีกทั้งช่วยดึงอำนาจของสนามแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆได้ง่ายยิ่งขึ้น

สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ

ไซม่อน เวนเพอร์ซี่

โทร. +44(0)1737-821890

อีเมล: [email protected]

มือถือ +44(0)7710-005910

แหล่งข่าว: เอ็มอาร์ โซลูชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ