โอกาสธุรกิจใน อินเดีย ประตูสู่เอเชียใต้

อังคาร ๒๔ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๔:๓๙
อินเดีย ตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยในประเทศกลุ่มเอเชียใต้ ด้วยมูลค่าการค้ากว่า 8.67 พันล้านดอลล่าร์ ในปีที่ผ่านมา และจำนวนประชากร 1.21 พันล้านคน อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน รวมถึงโอกาสในการเปิดประตูการค้าสู่ ตลาด ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา และบังกลาเทศ ไทย และ อาเซียน จึงต้องกำหนดนโยบาย และ กลยุทธ์ต่างๆ ในการรุกตลาด อินเดีย อย่างชัดเจน

ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยว่า อินเดีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นตลาดการค้า และการลงทุนของไทย แต่ในช่วงที่ผ่านมาปริมาณการค้า และการลงทุนระหว่างไทยและอินเดียยังมีค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดตลาดของอินเดีย ยังไม่นับรวมโอกาสในการขยายตลาดสู่ประเทศใกล้เคียงกับอินเดีย โดยจากข้อมูล ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2543 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2554 ไทยมีมูลค่าการลงทุนในอินเดียรวมทั้งหมดเพียง 92.06 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 0.06 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุนต่างชาติ โดยจัดอยู่ในอันดับที่ 36

“ โอกาสการค้า และการลงทุน ในประเทศ อินเดีย ยังเปิดกว้างมากสำหรับนักลงทุนชาวไทย โดยปัจจัยสำคัญที่เข้ามาส่งเสริมการค้าระหว่างกันคือ ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย ( TIFTA ) ซึ่งเป็นข้อตกลงเสรีอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการเปิดเสรี การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ตลอดจนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และข้อตกลงเสรีการค้า อาเซียน-อินเดีย( AIFTA ) ซึ่งเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน 10 ประเทศกับอินเดีย ซึ่งข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการนำมาใช้ประกอบการวางแผนธุรกิจ ตลอดจนกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ในการทำการค้า การลงทุน กับ อินเดีย ต่อไป ” ดร.วัชรัศมิ์ กล่าว

โดย ข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-อินเดีย ( TIFTA ) เป็นความตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับอินเดีย เริ่มเจรจาในปี พ.ศ. 2544 และลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ผลของการเจรจามีผลให้ยกเลิกภาษีในสินค้าเร่งลดภาษีจำนวน 82 รายการเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทย ไปอินเดียเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยเกินดุลการค้ากับอินเดียในช่วงปี 2550-2553 สัดส่วนการใช้สิทธิภายใต้ TIFTA อยู่ที่ร้อยละ 80 โดยสินค้าที่ใช้สิทธิในระดับสูง คือ เครื่องปรับอากาศ อะลูมิเนียมเจือ เครื่องประดับ เพชร พลอย เม็ดพลาสติก และส่วนประกอบเครื่องยนต์

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในด้านการลงทุนในประเทศอินเดียสำหรับนักลงทุนชาวไทย มีอยู่ 4 อุตสาหกรรมด้วยกัน คือ 1. อุตสาหกรรมอาหาร 2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 3. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ 4. อุตสาหกรรมเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งบ้าน

ส่วนข้อตกลงการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย ( AIFTA ) เริ่มเจรจาฉบับแรก 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ประเทศสมาชิกอาเซียน และอินเดียจะทยอยลดและเลิกภาษีศุลกากรในระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยอินเดียและประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย ลดภาษีตามกำหนดเวลา ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ( กลุ่ม CLMV ) ลดภาษีช้ากว่ากลุ่มแรก 5 ปี ส่วนฟิลิปปินส์ จะลดภาษีกับอินเดียช้ากว่าประเทศอื่นๆ 3 ปี

ซึ่งผลจาก AIFTA เริ่มบังคับใช้ พบว่ามูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิเท่ากับ 3,683.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าที่ส่งออกภายใต้สิทธิ เท่ากับ 875.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับร้อยละ 18.63 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการลดภาษีพึ่งจะมีผลบังคับใช้เป็นปีแรก และคาดว่าสัดส่วนการใช้สิทธิจะสูงขึ้นในปีถัดไป ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญจากไทยไปอินเดียที่ใช้สิทธิภายใต้ AIFTA คือ กรดเทเรฟทาลิก เครื่องยนต์ สินค้าในกลุ่มเอทิลีน ถังเชื่อเพลิงรถยนต์ ผ้าใบยางรถยนต์ ยาง และวิทยุสำหรับรถยนต์ เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ