ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ ผนึก เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ลุย Zummer ก่อนขยายฐาน AEC

พุธ ๒๕ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๑:๑๙
ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์” โออีเอ็มระดับโลก ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดังจับมือเบอร์ลี่ยุคเกอร์ จัดจำหน่ายเครื่องดื่มน้องใหม่ ZUMMER (ซัมเมอร์) ประเดิมตลาดในประเทศเน้น 2 รสชาติ น้ำบ๊วยผสมเนื้อบ๊วย และน้ำว่านหางจระเข้ผสมน้ำผึ้งมะนาว คาดสิ้นปีวางทั่วประเทศ เล็งเป้ากว่า 100 ล้านบาท พร้อมเตรียมขยายฐานตลาด AEC

นางสาวไวฮุย ลี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างผลิตสินค้า(OEM) แบรนด์ชั้นนำของโลก เปิดเผยว่าได้เซ็นต์สัญญากับ บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ให้เป็นผู้จัดจำหน่าย เครื่องดื่ม ZUMMER (ซัมเมอร์) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มน้องใหม่ของบริษัทฯ ทั้ง 2 รสชาติ ได้แก่น้ำบ๊วยผสมเนื้อบ๊วย และน้ำว่านหางจระเข้ผสมน้ำผึ้งมะนาว สำหรับในช่วงแรกได้วางจำหน่ายในลักษณะเอ็กซ์คลูซีฟ เป็นระยะเวลา 3 เดือน กับท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ตและแฟมิลี่มาร์ท ทั่วประเทศกว่า 1,000 สาขา แบ่งเป็น แฟมิลี่มาร์ทกว่า 800 สาขา ทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัด ส่วนท็อปส์ได้วางจำหน่ายในเครือทั้งหมดกว่า 200 สาขาทั่วประเทศ ประกอบด้วย ท็อปส์ ซูเปอร์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ เดลี่ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์

ทั้งนี้คาดว่าหลังจากเซ็นต์สัญญากับบีเจซี ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายแล้ว จะสามารถวางตลาดเครื่องดื่ม ZUMMER (ซัมเมอร์) ได้ครบทุกพื้นที่ในสิ้นปีนี้ สำหรับเป้าหมายของบริษัทตั้งไว้ว่าปีนี้จะทำยอดขายให้ได้ประมาณ 100 ล้านบาทของยอดขายโดยรวมทั้งหมด จากการเพิ่มสัดส่วนของยอดขาย 20 % ตามแผนระยะ 3 ปี (ปี2556 - 2559) ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ มีรายได้หลักจากการรับจ้างผลิต (OEM) ในสัดส่วน 98% ของยอดการผลิตทั้งหมด โดยมากกว่า 50% เป็นการส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 20 ประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา,ญี่ปุ่น,ออสเตรีย,ยุโรปและแอฟริกาใต้

การที่บริษัทฯ มีความรู้ความชำนาญจากการดำเนินธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า (OEM) มานานกว่า 28 ปี มีประสบการณ์การผลิตในระดับโลก รวมทั้งมีทีม R&D ที่มีความเชี่ยวชาญจึงไม่ยากที่จะหันมาพัฒนาแบรนด์ของตนเอง อีกทั้งยังเล็งเห็นว่าตลาดเครื่องดื่มในประเทศที่เน้นเรื่องคุณภาพมาตราฐาน ยังสามารถเติบโตได้ โดยในช่วงแรกใช้งบประมาณด้านการตลาดกว่า 30 ล้านบาท ประกอบด้วยกิจกรรมโรดโชว์ การแจกสินค้าให้ทดลอง การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และการทำประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ

ปัจจุบันกำลังการผลิตทั้งหมดของบริษัทฯ สามารถผลิตได้ 8 ล้านขวดต่อเดือน คาดว่าสามารถรองรับความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี และเพื่อเป็นการสร้างยอดขายของผลิตภัณฑ์ให้เติบโต อย่างต่อเนื่อง จึงมีแผนงานการออกสินค้ารสชาติใหม่เพิ่มทุกปีๆ ละ 2-4 รสชาติ

“บริษัทเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีคุณภาพวัตถุดิบประกอบกับทีมงานที่มีประสบการณ์ในการผลิตและพัฒนาสินค้า จึงมั่นใจว่าจะสามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตราฐานระดับสากล”

นางสาวไวฮุย ลี กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้ให้ความสนใจในการรองรับ ตอบสนองกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะถือว่าเป็นตลาดที่เปิดกว้างและยังสามารถเติบโตได้อีกมาก อีก 2 ปีข้างหน้าเมื่อมีการเปิด AEC จะส่งผลกับขั้นตอนการส่งออกทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ง่ายขึ้น อีกทั้งรสชาติสินค้าของเราเชื่อว่าจะสามารถถูกใจกลุ่มผู้บริโภคในตลาดอาเซียน ที่มีการบริโภคเครื่องดื่มรสชาติใกล้เคียงกับคนไทย และที่สำคัญ บริษัทฯ มีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอที่จะขยายฐานไปสู่ตลาดอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ติดต่อ:

บริษัท แบงค์คอก ไรเตอร์ จำกัด

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

โทร.085-918-1117

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero