นายสมศักดิ์ ศรีทองวัฒน์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยถึง ความคืบหน้าภายหลังปิดรับสมัครอาคารที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ปีที่ 2 ซึ่งเปิดรับสมัคร 2 ประเภทอาคารคืออาคารสำนักงาน และโรงแรม พบว่ามีอาคารที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการจำนวน 39 อาคาร แบ่งเป็นอาคารจากหน่วยงานราชการจำนวน 7 อาคาร ประกอบด้วย อาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (สำนักงานใหญ่) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (อาคารสำนักงานใหญ่)อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (อาคาร สวทช. โยธี) อาคารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (อาคารเอ็กซิม) อาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร อาคารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ และอาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ส่วนอาคารสำนักงานจากภาคเอกชน 18 อาคาร ประกอบด้วย อาคารบางกอกสหประกันภัย อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ 1 (สีลม) อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ 2 (รัชดา) อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ 3 (พญาไท)
อาคารดิ ออฟฟิศเศส แอทเซ็นทรัลเวิลด์ อาคารเซ็นทรัลทาวเวอร์เอ สาขาปิ่นเกล้า อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 1 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 อาคารธนาคารธนชาต (เพชรบุรี) อาคารบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) อาคารเอ็กเชน ทาวเวอร์ อาคารซีไอเอ็มบีไทย (ถนนหลังสวน) อาคารเอ็ม ไทย ทาวเวอร์ ออล ซีซั่นส์ เพลส อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาคารสถาบันวิทยาการตลาดทุน อาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ และอาคารอินเตอร์เช็นจ 21
ส่วนของโรงแรมเข้าร่วมแข่งขัน 14 อาคาร ประกอบด้วย โรงแรมริชมอนด์ โรงแรมเซนต์รีจิส กรุงเทพ โรงแรมเลอเมอริเดียน กรุงเทพฯ โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ กรุงเทพฯ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนตัล กรุงเทพฯ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ รัชดา
“จากรายชื่ออาคารที่ปรากฏถือได้ว่าการดำเนินการในปีที่ 2 ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ต้องขอขอบคุณทุกอาคารที่สนใจ และให้ความร่วมมือปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร เพราะผลที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับอาคารแล้ว ยังส่งผลต่อการอนุรักษ์พลังงานโดยรวมของประเทศชาติด้วย การให้ความร่วมมือกันอนุรักษ์พลังงานจากทุกภาคส่วนนับเป็นต้นแบบที่ดีของสังคมซึ่ง กฟน. ตระหนักและให้ความสำคัญต่อกิจกรรมเหล่านี้มาตลอด” นายสมศักดิ์กล่าว
โดยอาคารที่ผ่านเข้ารอบในแรกจะได้รับมอบตราสัญลักษณ์แสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้กับอาคารที่ผ่านเกณฑ์ตามที่ กฟน. กำหนด โดยจะพิจารณาจาก 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขด้านการใช้พลังงาน (MEA Index) และเงื่อนไขด้านคุณภาพการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ระดับที่ 1
ทั้งนี้ อาคารที่เข้ารอบได้รับมอบตราสัญลักษณ์ระดับที่ 1 แล้วสามารถดำเนินการปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดผลประหยัดพลังงานขึ้นในช่วงระยะเวลาที่โครงการกำหนด กรรมการจะพิจารณาผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้าร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความน่าสนใจของมาตรการที่ดำเนินการ สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร และคณะทำงานและฝ่ายบริหารมีความตั้งใจ อาคารที่ได้รับคัดเลือก จะได้รับมอบตราสัญลักษณ์ ระดับที่ 2 ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติ “กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน ดีเด่น” พร้อมรางวัลมูลค่า 5 ล้านบาท โดยมีกำหนดการแข่งขันเป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2556-ธันวาคม 2557