กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ภาคใต้ เยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการ OPOAI เตรียมรับมือการแข่งขันอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทยสู่ AEC

จันทร์ ๓๐ กันยายน ๒๐๑๓ ๐๙:๒๐
กระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ในพื้นที่ภาคใต้ กลุ่มธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล บริษัท ห้องเย็น โชติวัฒน์ หาดใหญ่ และบริษัท วี.ไอ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในจังหวัดระนอง และเครื่องแกงคุณลำดวน ในจังหวัดชุมพร ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ในภูมิภาค ตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI ชี้ในอนาคต จังหวัดระนองและชุมพร จะเป็นประตูการค้าสู่เมียนมาร์ มีการขยายตัวอย่างมากทั้งอุตสาหกรรมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โครงการ OPOAI จึงเข้ามาพัฒนาปรับปรุงของสถานประกอบการเพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจเสรีอาเซียน (AEC) ปี 2558

นายปณิธาน จินดาภู ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และจัดทำโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา และจนถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรเข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 750 แห่ง สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ มากกว่า 2,800 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นผลงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในการ พัฒนา เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้ในปีนี้จึงมีสถานประกอบการติดต่อขอเข้าร่วมโครงการอย่างมากมาย เนื่องจากมองเห็นถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมยังยึดมั่นที่จะดำเนินโครงการต่อไปอย่างต่อเนื่องในทุกปีและมีการปรับปรุงแผนงานมาโดยตลอด ดังนั้น จึงได้นำคณะผู้บริหาร รวมถึงสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการดังกล่าว โดยเลือกจังหวัดระนองและชุมพร เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เชื่อมโยงเส้นทางการค้า ระหว่างไทย พม่า เตรียมเข้าสู่ AEC อย่างเต็มตัวซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างมากทั้งอุตสาหกรรมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โครงการ OPOAI จึงเข้ามาพัฒนาปรับปรุงของสถานประกอบการเพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจเสรีอาเซียน (AEC) ปี 2558

สำหรับพื้นที่ภาคใต้ มีสถานประกอบการที่มีผลสัมฤทธิ์ดีเด่นจากการเข้าร่วมโครงการฯ ในการพัฒนา 6 แผนงานหลัก ประกอบด้วย 1. การบริหารจัดการโลจิสติกส์ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. การปรับปรุงคุณภาพและการพัฒนางาน 4. การลดต้นทุนพลังงาน 5. การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล และ 6. กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด โดยสามารถสร้างเสริมศักยภาพของสถานประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ อันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวให้เข้มแข็งทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อพร้อมสู้กับประเทศอื่น ๆ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ อีกทั้งยังสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรของประเทศ ให้สามารถรองรับ AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558

ด้านนายยรรยง น้ำผุด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ห้องเย็นโชติวัฒน์หาดใหญ่ จำกัด (มหาชน) สาขาระนอง กล่าวว่า บริษัท ประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล กุ้งสดแช่แข็ง มี ทุนจดทะเบียน 75 ล้านบาท โดยมีบริษัทแม่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และมีสาขาอีก 1 แห่ง คือที่จังหวัดระนอง โดยส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น ปัจจุบันมีพนักงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 400 คน ประกอบธุรกิจอาหารแช่แข็งเพื่อการส่งออก (กุ้งสด) เข้าร่วมโครงการโอปอย ในปี 2556 โดยเลือกพัฒนา แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน เนื่องจากประเมินเบื้องต้น พบว่า องค์กรมีปัญหาด้านการฝึกอบรม และให้ความรู้ ประสบการณ์ด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน มีปัญหาด้านสภาพแวดล้อมของการทำงานไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิต จึงส่งผลให้ส่วนอื่น ๆ มีประสิทธิภาพลดลง จากปัญหาดังกล่าวทำให้บริษัทฯ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต และปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต

“หลังจากที่กำหนดปัญหาแล้ว ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันของการทำกิจกรรม โดยจะทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาของโครงการ OPOAI พบว่าจำนวนการเกิดปัญหาคุณภาพลดลงจาก 3.995% เหลือ 1.18% เท่านั้น ทางโรงงานได้รับประโยชน์หลายอย่างมากที่เห็นได้ชัดคือเรื่องประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น มีการจัดระบบ ระดมสมอง เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ใน 2 เรื่องคือเรื่องการละลายพฤติกรรมในการทำงาน มีการบูรณาการทำงานร่วมกันในแต่ละแผนก และเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต นอกจากนี้ยังได้รับผลทางอ้อม คือพนักงานมีการท้าประลองเรื่องแนวคิด จนเกิดผลเป็นที่ยอมรับ นำไปสู่การถ่ายทอดข้อมูลต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นายยรรยงกล่าว

นายชาติพนธ์ วรัชต์ญารมย์ กรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท วี.ไอ. อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า บริษัทประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ปลาสดแช่แข็ง ทุนจนทะเบียน 35 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อปี 2533 โดยส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ปัจจุบันมีพนักงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน เข้าร่วมโครงการโดยเลือก แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากทีมที่ปรึกษาของโครงการฯ เข้าไปศึกษาข้อมูลของทางบริษัทฯ พบว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน คือ ระบบการฝึกอบรม ควรมีการกำหนดหัวข้อในด้านการเพิ่มผลผลิต เครื่องมือเพื่อใช้ในการเพิ่มผลผลิต การปลูกจิตสำนึกในการทำงาน การเพิ่มความตระหนักถึงคุณภาพ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย รวมถึงระบบการบริหาร ควรทำการทบทวน และ ดำเนินการตามระบบคุณภาพทั้ง GMP และ HACCP ที่ได้รับการรับรองไว้

“ทีมที่ปรึกษาโครงการ ร่วมกับตัวแทนของสถานประกอบการ ได้ทำการระดมความคิด และใช้หลักการผลิตโดยใช้แนวคิดในการปรับปรุงการทำงานเพื่อขจัดความสูญเปล่า และลด ระยะเวลาการการผลิตลงการดำเนินแผนงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของ บริษัท วี.ไอ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในครั้งนี้ สำเร็จเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ ยังสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น แสดงให้เห็นได้ว่า ทางองค์กรมีความรู้และประสบการณ์สามารถนำไปต่อยอดได้อย่างยั่งยืนในอนาคต เนื่องจากมีสายการผลิตตัวอย่างเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สายการผลิต รวมเป็น 2 สายการผลิต จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้เพียง 1 สายการผลิตเท่านั้น” นายชาติพนธ์กล่าว

คุณสวาท ชัยมงคล กรรมการผู้จัดการ ของ โรงงานเครื่องแกงคุณลำดวน กล่าวว่า เริ่มดำเนินกิจการในปี 2539 โดยมีทุนจดทะเบียน 2,000,000 บาท มีการถือหุ้นโดยคนไทยร้อยละ 100 มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เครื่องแกงชนิดต่าง ๆ มีกำลังการผลิต 300,000 กิโลกรัมต่อปี โดยส่งไปจำหน่ายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โรงงานเครื่องแกงคุณลำดวน เข้าร่วมโครงการฯ โดยพัฒนาใน 2 แผนงานคือ แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และแผนงานที่ 5 ด้านการยกระดับมาตรฐาน / ระบบมาตรฐานสากล จากการที่ทางทีมที่ปรึกษาของโครงการฯ ได้เข้าไปศึกษาข้อมูลเชิงลึก ด้านการผลิต พบว่ามีเส้นทางการผลิตที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้เกิดการย้อนไป-มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต (Motion Waste) ที่เป็นความ สูญเปล่าที่ไม่เกิดคุณค่า ซึ่งเกิดจากการวางผังโรงงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ดี ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายมากเกินไป จากปัญหาที่พบ ทางทีมที่ปรึกษาร่วมกับตัวแทนจากสถานประกอบการร่วมกันคิดวิเคราะห์ ดังนั้นได้ทำการปรับผังกระบวนการเคลื่อนที่โดยทำการลดระยะทางในการผลิตโดยการลดระยะทางในการขนย้ายวัตถุดิบ และสร้างพื้นที่สำหรับการผลิต และแยกส่วนพื้นที่สำหรับเตรียมการผลิตออกมาเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุดิบระหว่างการผลิต และทำการจัดกลุ่มของพื้นที่เตรียมการผลิตโดยนำพื้นที่หั้นเครื่องเทศ (เครื่องหั่น) แยกออกมาจากส่วนของการผลิต และจำกัดบริเวณของการล้างวัตถุดิบ

จากการปรับปรุงด้วยแผนภาพการเคลื่อนที่ของวัสดุ (Flow Diagram) โดยทำการจัดผังโรงงานใหม่โดยทำการแยกส่วนของพื้นที่ผลิตและพื้นที่จัดเตรียมออกจากกันอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนตามหลักของ GMP สามารถนำสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

1. ระยะการเดินทางของวัตถุดิบลดลงจาก 26 เมตรลดลงเหลือ 16 เมตร จากการจัดเตรียมชั้นวางระหว่างพื้นที่เตรียมกับพื้นที่ทำการผลิต โดยคิดเป็นร้อยละ 38 ของระยะทางที่ลดลงโดยวิธีการลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น (Eliminate) ในการเคลื่อนที่ไปหยิบวัตถุดิบได้

2. สามารถลดระยะเวลาในการนำวัตถุดิบไปจัดเก็บจากเดิม 25 วินาที ลดลงเหลือ 10 วินาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของระยะเวลาที่ลดลงในการนำวัตถุดิบไปจัดเก็บ โดยวิธีการรวมงานไว้ด้วยกัน (Combine)

3. ในด้านของกระบวนการผลิตจากการจัดผังการทำงานใหม่สามารถแยกส่วนของขั้นตอนการเตรียมออกจากขั้นตอนการผลิตอย่างชัดเจนเพื่อลดการปนเปื้อนของวัตถุดิบ

“หลังจากเข้าร่วมโครงการ OPOAI แล้ว ทำให้โรงงานของเรามีกระบวนการผลิตที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตได้เป็นอย่างดี และยิ่งเรื่องของการเตรียมความพร้อมในการยื่นขอ GMP ทางเราได้มีความพยายามในการเตรียมความพร้อมมานานแล้ว เมื่อมีทีมที่ปรึกษาเข้ามาช่วยเราคิด วิเคราะห์ การวางแผน วางระบบการทำงานต่าง ๆ มีการจัดฝีกอบรมให้ความรู้กับพนักงานของเรา ซึ่งในขณะนี้ทางโรงงานอยู่ในการระหว่างการเริ่มปฏิบัติจริง เมื่อระบบแข็งแรงแล้วก็จะทำให้เราสามารถยื่นขอ GMP ได้ง่ายยิ่งขึ้น ต้องขอขอบคุณโครงการ OPOAI ที่เข้ามาช่วยให้โรงงานเล็ก ๆ ของเราแข่งขันกับผู้อื่นได้อย่างเต็มความภาคภูมิ และไม่น้อยหน้าใคร” นายสวาทกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version