ฟิทช์ให้อันดับเครดิตแก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของธนาคารกรุงเทพที่ ‘BBB+’

อังคาร ๐๑ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๒:๑๘
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศให้อันดับเครดิตแก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของ ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL (‘BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) จำนวน 2 ชุด มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุ 5 ปี และ มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุ 10 ปี มีวันครบกำหนดชำระในเดือนกันยายน ปี 2561 และ เดือนกันยายน ปี 2566 ที่ ‘BBB+’ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวออกภายใต้โครงการ Global Medium Term Note (GMTN) ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ซึ่งมีมูลค่ารวม 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

การประกาศอันดับเครดิตครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการที่ BBL ได้ทำการออกหุ้นกู้ดังกล่าวและฟิทช์ได้รับเอกสารฉบับสมบูรณ์ซึ่งมีข้อมูลตรงตามที่ได้รับมาก่อนหน้า อันดับเครดิตที่ประกาศเป็นอันดับเครดิตระดับเดียวกับที่ฟิทช์ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อยู่ที่ระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating) ของ BBL ที่ ‘BBB+’ เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร

อันดับเครดิตของ BBL สะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องของธนาคารที่มั่นคง และการมีเครือข่ายธุรกิจ (franchise) ในประเทศที่แข็งแกร่ง ธนาคารดำรงฐานะเงินกองทุน และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในระดับสูง ซึ่งจะช่วยรองรับความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงได้บ้าง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ BBL อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของหุ้นกู้

การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ BBL อาจพิจารณาจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างยั่งยืนของสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจภายในประเทศ และการปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นต่อเนื่องของฐานะทางการเงินโดยรวมของธนาคาร โดยที่ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ไม่เพิ่มขึ้น หรือมีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับภาครัฐ

การปรับลดอันดับเครดิตอาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ ที่อาจส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรหรือเงินกองทุนลดลง ตัวอย่างของเหตุการณ์ดังกล่าวอาจรวมถึง การเพิ่มระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้จากการเพิ่มระดับการกระจุกตัวของสินเชื่อ หรือ การเติบโตของสินเชื่อในระดับสูงเกินไป โดยที่ความสามารถในการรองรับความเสี่ยงไม่ได้ปรับตัวแข็งแกร่งขึ้น ทั้งนี้ความสามารถในการรองรับความเสี่ยงอาจสะท้อนจากผลการดำเนินงานหรือเงินกองทุนที่แข็งแกร่งขึ้น

BBL เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีส่วนแบ่งทางการตลาดของสินเชื่อที่ 18% และ 19% สำหรับเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2556 นอกจากนี้ธนาคารยังมีเครือข่ายธุรกิจที่แข่งแกร่งในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และมีสัดส่วนธุรกิจในต่างประเทศมากที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่