สคร.7 เยี่ยมศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะ 10 วิธีป้องกันโรค

ศุกร์ ๐๔ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๗:๕๕
จากสถานการณ์ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน มีการอพยพประชาชนไปในที่ปลอดภัยในศูนย์พักพิง วันนี้ (4 ต.ค.56) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี (สคร.7) นำทีมโดย ผอ.สคร.7 นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ และรองผอ.นางมนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล พร้อมเจ้าหน้าที่ สคร.7 จัดกิจกรรมพบปะเยี่ยมเยียน ปลอบขวัญ และให้ความรู้การป้องกันโรคและภัยสุขภาพแก่ประชาชนที่อยู่ในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จุดพักพิงวัดสุปัฏนาราม และจุดพักพิงวัดโรมันคาทอริก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้งสนับสนุนยากันยุง ยาสามัญประจำบ้านแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเยี่ยมผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังในสถานการณ์น้ำท่วมที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

นายแพทย์ศรายุธ กล่าวว่า สำหรับโรคที่พึงระวังคือ กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อยคือโรคท้องเดิน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปในร่างกาย กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ก็ทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคไข้เลือดออก หลายพื้นที่ที่น้ำท่วมขัง จนอาจเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้ระวังโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าโรคระบาดที่กำลังมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ ในเด็ก เพราะเป็นวัยที่ชื่นชอบการเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคระบาดที่มากับน้ำคือ โรคตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ

จึงขอฝากถึงพื้นที่ที่มีการตั้งศูนย์พักพิงให้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติสำหรับผู้อยู่ในศูนย์พักพิงอย่างเคร่งครัดดังนี้ 1. ไม่เก็บอาหารข้ามมื้อควรกินอาหารที่ผ่านความร้อน ปรุงสุกใหม่ภายใน 4 ชั่วโมงก่อนกินอาหารสังเกตลักษณะของอาหารรสชาติว่าบูด เสียหรือไม่ หากอาหารบูดเสีย ห้ามกินให้ทิ้งขยะ และแจ้งอาสาสมัครในศูนย์ว่า พบอาหารบูดเสีย เพื่อระงับการแจกอาหารนั้น 2. ดื่มน้ำสะอาดต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวดถ้าผิดปกติไม่ควรดื่มให้เปิดฝาขวดและนำไปเป็นน้ำใช้ 3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ ก่อนรับประทานอาหารหลังเข้าห้องส้วมและหลังไอจามหรือ สั่งน้ำมูก 4. ถ้ามีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง ขี้ตามากผิดปกติควรแจ้งหน่วยแพทย์ที่ประจำศูนย์พักพิงทันที ไม่ควรขยี้ตา แยกของใช้ ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น 5. ใช้ผ้ากระดาษทิชชูปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือถ้ามีอาการโรคทางเดินหายใจควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ สู่คนอื่น 6. ถ้ามีอาการเจ็บป่วยเช่นท้องเสีย ไข้ ปวดศีรษะ ไอ อ่อนเพลีย คันตามผิวหนังเบื่ออาหารระคายเคืองตา รีบแจ้งหน่วยแพทย์ประจำศูนย์พักพิงทันที 7. ทิ้งเศษขยะ เศษอาหารลงในถังขยะที่จัดไว้ให้เท่านั้น 8. ให้รักษาความสะอาดห้องส้วมห้องน้ำทุกครั้งที่ใช้เสร็จ 9. ผู้ป่วยเรื้อรัง ถ้าขาดยาหรือไม่มียากิน ให้แจ้งหน่วยแพทย์ที่ศูนย์พักพิงทันที 10. หากพบบุคคลใกล้ชิดมีอาการไม่สบายควรแจ้งหน่วยแพทย์ระจำศูนย์พักพิงทันที / นพ.ศรายุธ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ