มูลนิธิซิตี้ และซิตี้ (ประเทศไทย) จับมือสถาบันคีนันแห่งเอเซียต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ดำเนินโครงการ “ครูไทย พอเพียง” หวังลดปัญหาหนี้สินครูในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมากว่าสองปี

จันทร์ ๐๗ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๕๔
มูลนิธิซิตี้ และซิตี้ (ประเทศไทย) ร่วมกับสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ดำเนินโครงการ “ครูไทย พอเพียง” ต่อเนื่องเป็นปีที่สองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินให้แก่ครูอย่างยั่งยืน และมุ่งลดปัญหาหนี้ครูในประเทศไทย

มิสเตอร์ดาเรน บัคลีย์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันโครงการ “ครูไทย พอเพียง” ได้อบรมครูไปแล้วทั้งสิ้น 351 คน จาก 133 โรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรี นครนายก ชลบุรี และระยอง จากการติดตามผลหลังการอบรมระยะเวลา 1 ปี ของโครงการฯ ในปีที่ 1 พบว่า ครูผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำความรู้ทางด้านการเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้จ่าย การออม การจัดการหนี้ และการบริหารเงินของตนเองที่ดีขึ้น ครูมีการออมเงินมากขึ้นจากร้อยละ 94 เป็นร้อยละ 100 มีการวางแผนงบประมาณรายเดือนล่วงหน้าในแต่ละเดือนจากร้อยละ 77 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95 มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 76 และมีการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นจากร้อยละ 70 เพิ่มเป็นร้อยละ 100 นอกจากนี้ ครูผู้เข้าร่วมโครงการฯ เหล่านี้ยังนำความรู้และแนวคิดที่ได้จากการอบรมไปขยายผลต่อให้กับเพื่อนครูและนักเรียนภายในโรงเรียนอีกด้วย”

นางสาวนัยยา ประสมพันธ์ ครูโรงเรียนหัวถนนวิทยา จังหวัดชลบุรี หนึ่งในครูที่เข้าร่วมอบรมในโครงการฯ เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า “ตนเองได้ความรู้เรื่องการบริหารการเงินเพิ่มมากขึ้นจากการเข้าอบรมกับโครงการฯ ก่อนหน้านี้ เวลาจะใช้จ่ายอะไรไม่เคยคิดพิจารณาก่อนเลยว่าสิ่งที่จะซื้อจำเป็นหรือไม่ แต่หลังการอบรม มีการคิดไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละอย่างเพิ่มมากขึ้นเยอะ และมีการจดบัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเองเป็นรายวัน จดอย่างละเอียดว่าแต่ละวันใช้เงินไปเท่าไหร่และใช้เงินไปกับอะไรบ้าง พอถึงสิ้นเดือน ก็จะสรุปค่าใช้จ่ายออกมาว่าเป็นค่าใช้จ่ายประจำเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายสำหรับหนี้เท่าไหร่ รายได้เท่าไหร่ เมื่อก่อนไม่เคยรู้เลยว่ารายรับรายจ่ายของตัวเองเป็นอย่างไร แต่พอจดบัญชีทำให้รู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเอง และทำให้สามารถวางแผนการใช้เงินล่วงหน้าในเดือนถัดไปได้ เช่น ค่าใช้จ่ายบางรายการที่ใช้ในเดือนนี้มากเกินไป เดือนหน้าจึงต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่รายจ่ายบางอย่างก็ไม่สามารถจะลดได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประเภทภาษีสังคม”

“นอกจากนี้ การอบรมยังทำให้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการออมเงินเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่ารายได้ครูอาจจะไม่มากนัก แต่ก็สามารถออมเงินได้ โดยตนเองมีการออมเงินทีละน้อยๆ แต่ออมอย่างสม่ำเสมอเดือนละครั้ง ซึ่งหลังจากการอบรม ตนเองมีเงินออมเพิ่มขึ้น โดยได้ไปเปิดบัญชีกับธนาคารเพื่อการออมเงิน ซึ่งจะนำเงินไปฝากธนาคารเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 500-1,000 บาท เป็นการสร้างวินัยในการออมเงินให้กับตนเองอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการออมเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์โรงเรียน และเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูของจังหวัดชลบุรี” นางสาวนัยยากล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๕ กสิกรไทย ครองแชมป์ธนาคารอันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับ World's Best Banks 2025 โดยนิตยสาร Forbes
๑๑:๔๖ โคเวย์แชร์ทริคผิวสวย-หน้าใสรับซัมเมอร์นี้ง่าย ๆแค่ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
๑๑:๒๑ ผู้ถือหุ้น SMART เคาะ จ่ายปันผล 0.0485 บาท/หุ้น
๑๑:๔๕ หลักทรัพย์ธนชาต คว้า 3 รางวัล จากเวที IAA Best Analyst Awards 2024 เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงผลงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่มีคุณภาพโดดเด่น
๑๑:๒๓ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ asava แบรนด์แฟชั่นชั้นนำ ปรับโฉม ชุดพนักงานบริการสาขา ทำจากขวดพลาสติก Upcycling
๑๑:๕๗ ทีทีบี พร้อมเป็นพันธมิตรตอบโจทย์เอสเอ็มอีกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ สร้างความเติบโตต่อเนื่อง
๑๑:๑๘ ไทยเครดิต คว้ามาตรฐานสากล ISO 14064-1 อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ เสริมแกร่งองค์กรคาร์บอนต่ำ เดินหน้าสู่ Sustainable
๑๐:๒๐ XPENG เปิดตัวนวัตกรรมปฏิวัติการขับเคลื่อนด้วย AI ที่งาน Auto Shanghai 2025
๑๐:๓๒ สมัครและชำระเบี้ย กรุงศรีประกันมะเร็ง ตลอดชีพ ผ่านสาขาธนาคาร รับทันที หมอนรองคอ มูลค่า 390 บาท
๑๐:๒๐ ผถห.PREB อนุมัติจ่ายเงินปันผลปี 67 อัตรา 0.20 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD 30 เม.ย. 68 จ่อรับทรัพย์ 23 พ.ค.นี้ ประเมินปี 68 ผลงานสดใส ตุน Backlog หนา 9.2