นายยุคล กล่าวต่อไปว่า กระทรวงเกษตรฯ ขอยืนยันว่า การส่งเสริมการปลูกอ้อยในเขตในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว มีความพร้อมทั้งในระบบการปลูกอ้อย เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งมีการจัดผลประโยชน์ที่ชัดเจน โดยมีรัฐบาลเข้าไปส่งเสริมกำกับดูแล ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำจากการที่ปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยขณะนี้โรงงานน้ำตาลมีกำลังการผลิตได้ 100 ล้านตัน และสามารถรองรับผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นได้ จึงมั่นใจว่าไทยสามารถแข่งขันตลาดน้ำตาลในเอเชียได้ นอกจากนี้ ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เอทานอล ผลิตภัณฑ์ชีวเคมี และการผลิตพลังงานไฟฟ้า จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยในการขยายผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งผลักดันการดำเนินงานในโครงการนี้ โดยจะนำประเด็นการหารือดังกล่าวพิจารณาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลังต่อไป
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: อุตฯ น้ำตาลจับมือภาครัฐปั้นบุคลากรสายอาชีพ
- ม.ค. ๒๕๖๘ กรมวิทย์ฯ มอบประกาศฯ รับรองโรงงานน้ำตาลทรายส่งออก
- ม.ค. ๒๕๖๘ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ยืนกรานค้านแก้ กม. นำกากอ้อยเข้าสู่ระบบแบ่งปัน ชี้เป็นขยะอุตสาหกรรมไม่ใช่ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต
- ม.ค. ๒๕๖๘ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ประเมินอ้อยขั้นต้นรอบการผลิตปีนี้ อยู่ที่ 90 ล้านตันอ้อย หลังประกันราคารับซื้อที่ราคา 1,000 บาทต่อตัน ณ ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส.
- ม.ค. ๘๑๐๒ โรงงานน้ำตาล ขอ กอน.เปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบวันที่ 10 ธ.ค. เร็วกว่ากำหนดเดิม จับมือชาวไร่อ้อยร่วมลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เป็นไปตามแผน