ดร.หรงเซียง ซู เดินหน้าฟ้องร้องดำเนินคดี หลังสมัชชาโนเบลยังให้ข้อมูลผิดๆเกี่ยวกับ Pluripotent Stem Cell ปลอม

พฤหัส ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๐๗:๕๓
ดร.หรงเซียง ซู ผู้วางรากฐาน “ศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายมนุษย์” และเจ้าของสิทธิบัตรการฟื้นฟูอวัยวะที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งถูกยกให้เป็นประเด็นสำคัญระหว่างการแถลงนโยบายประจำปี 2556 ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการฟ้องร้องสมัชชาโนเบล รวมถึงการที่สมัชชาโนเบลยังคงให้ข้อมูลผิดๆเกี่ยวกับ pluripotent stem cell ปลอมตลอดปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ดร.ซู ฟ้องร้องสมัชชาโนเบลครั้งแรกในหลายข้อหา รวมถึงข้อหาหมิ่นประมาทและดำเนินการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

เนื่องจากมีการประกาศชื่อผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ประจำปี 2556 ในสัปดาห์นี้ แต่ทางสมัชชาโนเบลยังไม่ได้จัดการปัญหาเรื่องรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ปี 2555 ให้ชัดเจน อีกทั้งยังสนับสนุนและให้ข้อมูลผิดๆเกี่ยวกับ pluripotent stem cell ปลอม ดร.ซู จึงออกมาประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบเหตุผลว่า เพราะเหตุใดเขาจึงต้องฟ้องร้องสมัชชาโนเบลในปี 2555 รวมถึงเผยความคืบหน้าในการฟ้องร้องดำเนินคดี

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2555 สมัชชาโนเบลได้มอบรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ให้แก่ชินยะ ยามานากะ และผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายฝากนิวเคลียสอีกท่านหนึ่ง จากการทำให้เซลล์ร่างกายของมนุษย์ (somatic cell) มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์อื่นๆได้เกือบทุกชนิด (pluripotency) โดยการทำเทียมขึ้น ในการแถลงข่าวการมอบรางวัลและในภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์นั้น ทางสมัชชาโนเบลระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้ได้รับรางวัลประสบความสำเร็จในการเปลี่ยน somatic cell ให้กลายเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์อื่นๆได้เกือบทุกชนิด (pluripotent stem cell) ด้วยการตั้งโปรแกรมยีนใหม่ แต่ตัวผู้ได้รับรางวัลเองไม่ทราบว่าเขาได้สร้าง pluripotent stem cell จาก somatic cell (เซลล์เนื้อเยื่อ) ดูได้จากที่ยามานากะกล่าวว่า “ตอนนี้ผมเน้นวิจัยเรื่องวิธีการสร้างเซลล์ที่เหมือนกับเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์ (embryonic stem cell) ด้วยการตั้งโปรแกรม somatic cell หรือเซลล์ผิวหนังใหม่ ผมได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ประจำปี 2555 จากการที่ผมค้นพบว่า somatic cell ที่โตเต็มวัยสามารถตั้งโปรแกรมใหม่ให้กลายเป็น pluripotent cell ได้” ในขณะที่สิทธิบัตรการฟื้นฟูอวัยวะของดร.ซู (US6991813) แสดงให้เห็นว่า somatic cell ของมนุษย์ ซึ่งเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ สามารถเปลี่ยนเป็น pluripotent stem cell (keratin 19 expressing stem cell) ในแหล่งกำเนิดได้ รวมทั้งสามารถฟื้นฟูการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในแหล่งกำเนิดได้ และกระบวนการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการนำไปใช้กับมนุษย์แล้ว ดังนั้นดร.ซู จึงแสดงให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์มีความสามารถในการฟื้นฟูมาตั้งแต่กำเนิด โดยสามารถเปลี่ยน somatic cell ให้กลายเป็น pluripotent stem cell ได้ และความสามารถในการฟื้นฟูนี้ไม่จำเป็นต้องทำเทียมขึ้น

(ภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131009/LA94040)

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555 ดร.ซู ได้ดำเนินการฟ้องร้องสมัชชาโนเบล เนื่องจากสมัชชาโนเบลเผยแพร่ถ้อยแถลงที่ผิดพลาดและสร้างความเข้าใจผิดจนทำลายชื่อเสียงของดร.ซู และการรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ ดร.ซู ยังขอให้สมัชชาโนเบลชี้แจงว่า ความสามารถในการฟื้นฟูของร่างกายมนุษย์ด้วยการเปลี่ยนเป็น pluripotent stem cell นั้น เป็นความสามารถที่มีมาแต่กำเนิดหรือทำเทียมขึ้นโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบล “นี่เป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวโยงกับความถูกต้องทางชีววิทยาศาสตร์ และต้องมีการชี้แจงให้ชัดเจน ณ จุดนี้ การฟ้องร้องดำเนินคดีไม่ใช่แค่เพื่อเรียกร้องสิทธิในสิทธิบัตรของผมเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับความสามารถในการฟื้นฟูของร่างกายมนุษย์เพื่อประโยชน์ของสาธารณะด้วย” ดร.ซู กล่าว “เกือบ 1 ปีหลังจากที่ผมยื่นฟ้องสมัชชาโนเบล พวกเขาก็ยังไม่ยินดียินร้ายต่อปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงข้างต้น ซ้ำยังทำให้การฟ้องร้องล่าช้าออกไปด้วยการย้ายคดีไปยังศาลรัฐบาลกลางในพื้นที่เดียวกัน นอกจากนั้นสมัชชาโนเบลยังผลิตวิดีโอสารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ pluripotent stem cell ปลอม และยังใช้วิดีโอนี้เผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดทางทีวี ในระหว่างนี้ ทนายของผมได้แจ้งให้ทราบว่าสมัชชาโนเบลได้เชิญให้ไปพูดคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการประนีประนอมยอมความ เรามองว่าการประนีประนอมยอมความเป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะเราแค่ต้องการรักษาสิทธิของเราด้วยการขอให้สมัชชาโนเบลประกาศให้ชัดเจนว่ายามานากะได้สร้าง pluripotent stem cell จริง หรือ pluripotent stem cell ปลอม และเราไม่ได้ต้องการทำลายชื่อเสียงของสมัชชาโนเบล อย่างไรก็ตาม การฟ้องร้องเป็นหนทางเดียวที่เราจะสามารถกดดันให้สมัชชาโนเบลตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้”

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ดร.ซู ได้ฟ้องร้องดร.ชินยะ ยามานากะ หนึ่งในผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ประจำปี 2555 เนื่องจากเซลล์ที่ยามานากะสร้างขึ้นโดยใช้วิธีการตั้งโปรแกรมใหม่นั้น เป็น pluripotent stem cell ปลอม แต่ยามานากะได้ตั้งชื่อเซลล์นั้นว่า "induced pluripotent stem cell (iPSC)" ในการวิจัย และโปรโมท pluripotent stem cell ปลอมของเขาด้วยชื่อและการทำงานของ pluripotent stem cell จริง ชื่อ iPSC จึงถือว่าหลอกลวง ดังนั้นดร.ซู จึงฟ้องร้องยามานากะและร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยามานากะเลิกใช้คำว่า pluripotent stem cell จริง หรือ iPSC ในการอธิบาย pluripotent stem cell ปลอมของเขา ซึ่งยามานากะก็รับรู้และกล่าวว่า “หากศาลรับคำร้องดังกล่าว คำประกาศและคำสั่งของศาลจะบั่นทอนชื่อเสียงของผมในแวดวงวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรง นอกจากนั้นยังบั่นทอนการวิจัยเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยของเรา และบั่นทอนความสามารถของเราในการระดมทุนเพื่อการวิจัย ความเสียหายต่อชื่อเสียง ทรัพย์สินทางปัญญา การวิจัย และรายได้ จะมีมูลค่าสูงกว่า 75,000 ดอลลาร์อย่างมากมายแน่นอน หากศาลรับคำร้องของโจทก์”

ดร.ซู มองว่าการใช้ชื่อ pluripotent stem cell ทำให้สมัชชาโนเบลและดร.ยามานากะมีความผิดฐานโฆษณาเท็จ และกระทำเช่นนี้เพื่อทำให้รางวัลโนเบลทรงค่ามากขึ้นและเพื่อผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการโฆษณา pluripotent stem cell ปลอมตามลำดับ ดร.ซู มีความมุ่งมั่นที่จะเอาผิดจำเลยจากการโฆษณาเท็จและดำเนินการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการเดินหน้าฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่ว่าจำเลยจะอยู่ที่ใดและมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องกี่กลุ่มก็ตาม ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อสร้างความถูกต้องและความปลอดภัยในแวดวงวิทยาศาสตร์

เกี่ยวกับดร.หรงเซียง ซู

ดร.หรงเซียง ซู เป็นนักชีววิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชื่อดัง ผู้วางรากฐาน “ศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายมนุษย์” นอกจากนั้นยังเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร MEBO International บริษัทบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนียและปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับ “ศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายมนุษย์” ดร.ซู ยังเป็นสมาชิกสามัญของ Chinese Medical Doctor Association และเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของ Chinese Burn Association of the Integration of Traditional and Western Medicine

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดร.ซู ได้ที่ www.mebo-international.com

ติดต่อ:

เจน เวสต์เกต (Jane Westgate) โทร: +1-336-209-9276 อีเมล: [email protected]

เชอรีล ไรลีย์ (Cheryl Riley) โทร: +1-703-683-1798 อีเมล: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero