อาจารย์ มรภ.อุดรธานีร่วมค้านร่างพรบ.บริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาใหม่

พฤหัส ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๓๙
สภาคณาจารย์และข้าราชการ มรภ.อุดรธานีจัดถกร่างพรบ.การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ. ..... พบอาจารย์ไม่เห็นด้วยมากสุด ม.78 ม.85 “อาจารย์ต้องเป็นผศ.ภายใน 7 ปี ไม่ได้ให้ออกจากราชการ”ไม่เห็นด้วยการยุบพรบ.ข้าราชการพลเรือน 2547 และ 2551

ผศ.พัฒนาภรณ์ ชัยประเสริฐ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า สภาคณาจารย์และข้าราชการ ได้จัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานบุคคลในถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ. ... โดยจัดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุม 2 เวลา 14.00 — 16.00 น. ผู้ดำเนินการในครั้งนี้ได้แก่ผศ.เดชอนันต์ บุญผัน กรรมการสภามหาวิทยาลัย และดร.ระวี พรหมหลวงศรี ผู้ช่วยอธิการบดี โดยมีคณาจารย์ พนักงาน และลูกจ้าง เข้าร่วมงานจำนวนมาก สำหรับผลที่ได้ในครั้งนี้จะประมวลผลแล้วส่งไปยังสกอ.ต่อไป.

ผศ.ดร.สุภีร์ สมอนา ประธานคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุดรธานี ผู้เข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นแสดงความคิดเห็นว่า “ร่างพรบ.การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาฉบับนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เป็นการพยายามรวมโจทย์ 2 โจทย์เข้าด้วยกัน โดยเน้นการแก้ไขปัญหาของพนักงานอาจารย์ในเบื้องต้น แต่ไม่ทราบว่ามีมูลเหตุมาอย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายจึงเปลี่ยนแปลงไป โดยหมายรวมถึงข้าราชการเข้าไปในร่างพรบ.ฉบับนี้ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา”

ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดเผยว่า อุดรโพลได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เรื่อง ความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่มีต่อพระราชบัญญัติการบริหานงานบุคคลในถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ... ระหว่างวันที่ 4 — 7 ตุลาคม 2556 ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.ฉบับนี้ ร้อยละ 25.8 เห็นด้วยร้อยละ 21.6 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 52.6

พบบุคลากรไม่ทราบว่าจะมีการยกเลิกพรบ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2547 และ 2551 ร้อยละ 67.0 ในขณะที่ทราบร้อยละ 33 ไม่เห็นด้วยกับมาตรา 78 ไม่ได้รับตำแหน่งให้ออกจากราชการ ร้อยละ 66.0 เห็นด้วยร้อยละ 17.5 ประเด็นอาจารย์ต้องเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ภายในเจ็ดปี พบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 51.5 เห็นด้วยร้อยละ 32.0 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 16.5 สำหรับประเด็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องเป็นรองศาสตราจารย์ภายใน 7 ปี พบว่าบุคลากรไม่เห็นด้วย ร้อยละ 56.7 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 26.8 และเห็นด้วยร้อยละ 16.5 นอกจากนี้ในมาตรา 85 ข้าราชการที่ไม่ได้ตำแหน่งทางวิชาการจะต้องออกจากราชการ พบว่าบุคลากรไม่เห็นด้วยร้อยละ 40.2 เห็นด้วยร้อยละ 33.0 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 26.8 ประเด็นการให้กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏเพียง 2 คน พบว่าไม่เห็นด้วยร้อยละ 72.2 เห็นด้วยร้อยละ 8 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 27.8 ประเด็นการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้อำนาจอธิการบดี ไม่เห็นด้วยร้อยละ 62.9 เห็นด้วย รอยละ 18.6 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 18.6 ตามลำดับ มาตรา 76 การสั่งให้พนักงานออกจากงานก่อนครบระยะตามสัญญาจ้าง พบว่า ไม่เห็นด้วยร้อยละ 59.8 เห็นด้วยร้อยละ 22.7 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 17.5

การรับรู้ของร่างพรบ.ฉบับนี้ พบว่าบุคลากรพอได้ยินมาบ้าง ร้อยละ 57.7 อ่านแล้ว ร้อยละ 27.8 อื่น ๆ ร้อยละ 9.3 อ่านและทำความเข้าใจร้อยละ 5.2 ตามลำดับ ประเด็นพรบ.นี้จะส่งผลให้บุคลากรเป็นอย่างไร พบว่า ได้สิทธิประโยชน์มากขึ้น ร้อยละ 28.9 ลิดรอนสิทธิอันพึงมีพึงได้ ร้อยละ 21.6 บั่นทอนขวัญและกำลังใจ ร้อยละ 12.4 ผู้บริหารมีอำนาจมากขึ้น ร้อยละ 11.3 บีบให้ข้าราชการเปลี่ยนสถานะมากขึ้น 9.3 อื่น ๆ ร้อยละ 16.5 สำหรับประเด็นการรวมข้าราชการและพนักงานเข้าด้วยกันพบว่า เห็นด้วยร้อยละ 39.2 ไม่เห็นด้วยร้อยละ 35.1 ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 25.8 ตามลำดับ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ