- ม.ค. ๘๖๐๐ วช. ร่วมกับ จุฬาฯ ลงพื้นที่ เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้แก่ชุมชนตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น
- ม.ค. ๒๕๖๘ วช. ร่วมกับ จุฬาฯ ลงพื้นที่ เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้แก่ชุมชนตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น
- ม.ค. ๒๕๖๘ คณะกรรมการอำนวยการแผนยุทธศาสตร์ฯ ติดตามความก้าวหน้าผลงานวิจัยการบริหารจัดการน้ำ
รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ นายแพทย์ ดร. สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดี (ซ้าย) รองศาสตราจารย์ ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ขวา) ชี้แจงว่า จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำ อย่างใกล้ชิด สามารถยืนยันได้ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมในปีนี้จะไม่รุนแรงเหมือนปี พ.ศ. 2554 โดยลักษณะ การท่วมในปีนี้ จะเป็นการท่วมในพื้นที่จำกัด ซึ่งพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมรุนแรงสำหรับปีนี้จะอยู่ในจังหวัด ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา และริมแม่น้ำเจ้าพระยาพื้นที่นอกคัน กทม. เป็นหลัก และสถานการณ์น้ำท่วมในภาคกลางจะค่อยๆ คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติภายในไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคม และภาคตะวันออกจะถึงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ควรเฝ้าระวังการเคลื่อนตัวของพายุ “นารี ”ต่อไป นอกจากนั้นควรให้ความสนใจเฝ้าระวังภัย น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ โดยเฉพาะประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช ให้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มฝนที่กระจุกตัวอยู่บริเวณพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะค่อยๆ เคลื่อนตัวลงไปทางภาคใต้