5 จังหวัดเสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา ตื่นตัวทำประกันภัยพิบัติ

พุธ ๑๖ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๑๐
5 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงตามประมาณการของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (กองทุนฯ) บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตื่นตัวทำประกันภัยพิบัติ โดยมีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ รวม 23,074 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.67 เมื่อเทียบกับทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ทั้งประเทศ สะท้อนบทบาทของกองทุนฯ ในการคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า สถิติการทำประกันภัยพิบัติในช่วงวันที่ 28 มีนาคม 2555 - 20 กันยายน 2556 ของ 5 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงตามประมาณการของกองทุนฯ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี และกรุงเทพฯ มีความตื่นตัวในการทำประกันภัยพิบัติในระดับสูง ซึ่งทั้ง 5 จังหวัดมีทุนประกันภัยต่อ ตามสัดส่วนของกองทุนฯ รวม 21,757 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.65 เมื่อเทียบกับทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ทั้งประเทศ จำนวน 44,719 ล้านบาท

โดยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงที่มีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ สูงที่สุดคือกรุงเทพฯ จำนวน 13,793 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ นนทบุรี จำนวน 2,650 ล้านบาท ปทุมธานี จำนวน 2,492 ล้านบาท พระนครศรีอยุธยา จำนวน 1,949 ล้านบาท และนครปฐม จำนวน 874 ล้านบาท

นอกจากนั้น กรุงเทพฯ ยังมีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ในส่วนของผู้ทำประกันภัยทั้ง 3 ประเภทสูงที่สุด ได้แก่ บ้านอยู่อาศัย จำนวน 9,727 ล้านบาท ธุรกิจขนาดกลางและย่อม จำนวน 1,796 ล้านบาท และอุตสาหกรรม จำนวน 2,270 ล้านบาท ในขณะที่จังหวัดนนทบุรีมีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ประเภทบ้านอยู่อาศัยสูงเป็นอับดับสอง จำนวน 2,217 ล้านบาท จังหวัดปทุมธานี มีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ประเภทธุรกิจขนาดกลางและย่อมสูงเป็นอันดับสอง จำนวน 356 ล้านบาท และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ประเภทอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับสอง จำนวน 1,499 ล้านบาท

จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติในการสร้างหลักประกันให้กับทรัพย์สินและกิจการในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากอุทกภัย และพื้นที่ดังกล่าวยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย โดยจะเห็นได้จากเมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ได้สร้างความเสียหายให้แก่โรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานีหลายแห่ง ซึ่งประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมบางกระดี

“พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เป็นต้น ดังนั้น การสร้างหลักประกันเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการเมื่อประสบภัยพิบัติ จึงไม่ใช่เป็นการช่วยเหลือเฉพาะภาคเอกชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศ และเป็นปัจจัยผลักดันให้นักลงทุนต่างชาติยังคงตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยและขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง” นายพยุงศักดิ์ฯ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO