ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 90.4 ลดลงจากระดับ 91.3 ในเดือนสิงหาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ทั้งนี้ค่าดัชนีปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 และต่ำที่สุดในรอบ 23 เดือน ปัจจัยสำคัญเกิดจากความกังวลของผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการคมนาคมขนส่ง ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การแข่งขันที่รุนแรง ความกังวลต่อปัญหาการเมือง ยังเป็นปัจจัยลบต่อการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการหวังว่าการขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจะมีความชัดเจนและจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในระยะต่อไป
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 98.1 ในเดือนสิงหาคม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของของกิจการในเดือนกันยายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม และขนาดกลาง ปรับลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม
โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 85.0 ลดลงจากระดับ 88.0 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมแก้วและกระจก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.0 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 89.6 ลดลงจากระดับ 91.9 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.9 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 98.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 94.3 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอลูมิเนียม เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 97.3 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ด้าน ดัชนีความเชื่อมั่นฯรายภูมิภาค ประจำเดือนกันยายน 2556 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากในเดือนสิงหาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในเดือนสิงหาคม
ภาคกลาง ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 92.5 ลดลงจากระดับ 93.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลางในเดือนกันยายนปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในเดือนนี้ ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคกลาง เช่น จ.ปราจีนบุรี และอยุธยา ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่ง การขาดแคลนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุทกภัยที่เกิดขึ้นทำให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่อยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องหยุดการผลิตชั่วคราว นอกจากปัจจัยดังกล่าวที่ทำให้ค่าดัชนีฯ ลดลงแล้ว ยังพบว่าผู้ประกอบการส่งออกยังประสบปัญหาจากการชะลอคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า และความกังวลต่อความผันผวนของค่าเงินบาท สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.2 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ภาคเหนือ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 83.5 ลดลงจากระดับ 85.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการลดลงในเดือนนี้ ได้แก่ ปัญหาต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากราคาวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่สามารถปรับตัวจากปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทำให้กิจการขาดสภาพคล่อง นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการชะลอคำสั่งซื้อ และปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องโดยเฉพาะภาค SMEs สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 87.1 ปรับลดลงจากระดับ 87.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า เครื่องจักร และอุปกรณ์ประเภทคุรุภัณฑ์และวัสดุสำนักงาน ได้รับความเสียหาย เนื่องจากไม่สามารถขนย้ายได้ทัน ขณะที่สถานประกอบการบางแห่งจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว สำหรับอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 97.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก พบว่ามีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 101.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 101.2 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของผู้ประกอบการภาคตะวันออก ในเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกในอุตสาหกรรมพลาสติก และปิโตรเคมี มียอดขายเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ ตลาดในประเทศแถบเอเชีย สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 102.2 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
และภาคใต้ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 83.5 ลดลงจากระดับ 84.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งจากค่าจ้างแรงงาน และราคาวัตถุดิบ จากการสำรวจพบว่าอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าใน 3 เดือนข้างหน้า การประกอบการจะดีขึ้นเนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมโรงเลื่อยโรงอบไม้ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.2 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศกับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นที่เน้นตลาดในประเทศ ปรับลดลง และค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเดือนสิงหาคม
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 89.8 ลดลงจาก 91.8 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสุมนไพร อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนอุตสาหกรรมแก้วและกระจก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 98.6 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกันยายน อยู่ที่ 93.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 87.7 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 94.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2556 พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นในปัจจัยสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน สภาวะเศรษฐกิจโลก และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนกันยายนนี้ คือ ต้องการให้ภาครัฐ จัดหาแหล่งเงินทุนกู้ยืมให้กับผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อฟื้นฟูกิจการ ซ่อมแซมเครื่องจักรและอาคารสำนักงาน พร้อมทั้งดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมาก หามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมือง และรักษาระดับราคาพลังงานและค่าไฟฟ้าให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม