"ยุคล"เร่ง 33 จังหวัดปรับพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมมาปลูกอ้อย เป้าหมาย 8 แสนไร่ ให้แล้วเสร็จทันช่วงการปลูกเดือน พฤศจิกายนนี้ซึ่งเป็นช่วงที่ให้เปอร์เซนต์น้ำตาลสูง ด้านโรงงานน้ำตาลกว่า 20 แห่งสนองนโยบายร่วมโครงการ

จันทร์ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๕๘
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นอ้อยโรงงาน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดจาก 33 จังหวัดที่มีโรงงานน้ำตาลเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวเข้าร่วมประชุมว่า กระทรวงเกษตรฯ จำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่เป้าหมาย 33 จังหวัด จำนวน 8 แสนไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ 50 กิโลเมตรรอบโรงงานน้ำตาล 20 แห่งที่มีความต้องการวัตถุดิบเพิ่ม เพื่อให้ทันฤดูกาลปลูกอ้อยที่เหมาะสมของปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน หรือเรียกว่าช่วงข้ามแล้ง ที่ในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้อ้อยมีเปอร์เซนต์ความหวานสูง น้ำตาลมีคุณภาพดี

ดังนั้น การประชุมร่วมกันในครั้งนี้ จึงได้ขอความร่วมมือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโซนนิ่งระดับจังหวัด เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลา 2-3 เดือนนี้ โดยเฉพาะการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวมาเป็นอ้อยที่สร้างรายได้สูงกว่าหลายเท่า

ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยนั้น นอกจากการดำเนินการภายใต้พรบ.อ้อยน้ำตาล และโรงงานอ้อยน้ำตาลก็จะยังคงให้ช่วยเหลือเงินลงทุนบางส่วนหรือเรียกว่าเงินเกี๊ยว เช่น ค่าต้นพันธุ์ ค่าปรับเปลี่ยนพื้นที่ เฉลี่ยไร่ 8,000 บาท ซึ่งถือว่ายังเป็นไปตามกลไกเดิมที่โรงงานให้การสนับสนุนแก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยแล้ว กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมพัฒนาที่ดิน และกรมชลประทานจะเข้าไปสนับสนุนเรื่องแหล่งน้ำขนาดเล็กให้แก่เกษตรกรควบคู่กันไปด้วย และที่สำคัญคือการให้ความรู้ทางด้านวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตอ้อยต่อไร่ที่สูง จากปัจจุบันที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 11 ตัน/ไร่ ไปสู่เป้าหมาย 15 ตันต่อไร่

อย่างไรก็ตาม ในส่วนพื้นที่ที่ได้เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยของเกษตรกรขณะนี้ พบว่า จังหวัดมหาสารคามได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเป็นอ้อยแล้ว 2 หมื่นไร่ รวมทั้งจังหวัดบุรีรัมย์และกำแพงเพชรก็มีความคืบหน้าดำเนินการในเรื่องนี้แล้วเช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ