นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์ด้านไอซีที บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ในขณะที่โซเชียล เน็ตเวิร์คและ อี คอมเมิร์สนับวันจะเติบโตมากขึ้น แต่อันตรายและความเสียหายจาก โจมตีทางไซเบอร์ หรือ Cyber Attack นั้นก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2556 มีการประมาณมูลค่าความเสียหายทั่วโลกจากอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์สูงถึง 2.9 ล้านล้านบาท”
“ผลจากการสำรวจในปี 2555 แสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของบริษัทชั้นนำในประเทศไทยประสบปัญหาจาก Cyber Attack และ Internet Fraud รวมไปถึง Hacking ข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามการจู่โจมบนโลกไซเบอร์นั้นมากกว่า 80% มาจากการจู่โจมในระดับผู้ใช้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฝึกอบรมและให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน Email account การเก็บรักษาพาสเวิร์ดและเข้าใช้ Social Media รวมไปถึงการเก็บรักษาข้อมูลบัตรเครดิตสำหรับ E-commerce
นอกจากนี้ นายธีระ ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า อาชญากรรมในโลกไซเบอร์ที่เรารู้เห็นใส่ใจส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาหรือ EU แต่ในความเป็นจริงแล้วกลุ่มที่ตกเป็นเป้าหมายหลักกลับเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาใน Emerging market ซึ่งมีอัตราการเติบโตของจำนวน Cyber Attack และมูลค่าความเสียหายสูงกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว
“แม้ว่า การแก้ไขปัญหาแฮกเกอร์ นั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่ก็สามารถการป้องกันได้ โดยต้องทำทั้งจาก Top Down และ Bottom up โดยที่ภาครัฐและหน่วยงานของเอกชนที่มีความรับผิดชอบต่อข้อมูลของผู้บริโภคต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ชัดเจน และในขณะเดียวกันต้องใส่ใจในการช่วยเหลือผู้ใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวด้วย”
“ในขณะที่การรวมตัวของ Social Media Platform นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน Megatrends ของปี 2557ดังนั้น คาดว่าการยกระดับ Cyber Security จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ ICT อย่างแน่นอน” นายธีระกล่าว