รมว.พม. ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖

พฤหัส ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๑๐
วันนี้ (๓๐ ต.ค. ๕๖) เวลา ๑๓.๓๐ น. นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ

นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมครั้งนี้ มีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ ส่วนขยายด้านสิทธิเด็กตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติต่อรายงานผลการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพิธีสารเลือกรับ เรื่อง การขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก และพิธีสารเลือกรับ เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ โดยแผนดังกล่าววางแนวทางตาม ๔ ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ๑.๑) มาตรการพัฒนาคุณภาพเด็ก ๑.๒) มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของเด็กและเยาวชน ๑.๓) มาตรการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน ๑.๔) มาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การคุ้มครองครองและพัฒนาเด็กที่ต้องการการคุ้มครองพิเศษ และเด็กพิเศษ ประกอบด้วย ๒.๑) มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ๒.๒) มาตรการพัฒนาบริการพื้นฐานที่จำเป็นและมีคุณภาพให้เข้าถึงเด็ก ๒.๓) มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านเด็ก ๒.๔) มาตรการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ ๒.๕) มาตรการพัฒนาระบบข้อมูล องค์ความรู้ กลไกของรัฐ และชุมชน ๒.๖) มาตรการระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ต้องการการคุ้มครองพิเศษ ๒.๗) มาตรการเฉพาะกลุ่ม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ๓.๑) มาตรการส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับให้เข้มแข็ง ๓.๒) มาตรการส่งเสริมบทบาทของภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชน และ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการในการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและพัฒนาเยาวชน ประกอบด้วย ๔.๑) มาตรการการพัฒนาการบริหารจัดการในการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ๔.๒) มาตรการเสริมสร้างโอกาสและการเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคม ระบบบริการ และระบบการคุ้มครอง ทั้งทางด้านสาธารณสุข การศึกษา อาชีพ และสังคมแก่เด็กและเยาวชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร

"สำหรับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ ส่วนขยายด้านสิทธิเด็กตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติฯ เป็นการนำข้อเสนอของคณะกรรมการฯ มาประมวลกับยุทธศาสตร์และมาตรการตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฯ เพื่อให้เกิดเอกภาพและบูรณาการการพัฒนาและคุ้มครองเด็กของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเกิดการติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ ซึ่งแผนดังกล่าว จะนำไปเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาต่อไป" นางปวีณา กล่าวตอนท้าย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ