ไซแมนเทค คอร์ป ( Nasdaq: SYMC ) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นด้านไอทีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วโลกประจำปี 2556 พบว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มบี) ที่มีคะแนนความเชื่อมั่นด้านไอทีสูง ได้แก่ กลุ่มที่มีการนำไอทีไปใช้ในการขับเคลื่อนจนประสบความสำเร็จทางธุรกิจ กลุ่มที่มีประสบการณ์ในการใช้ไอทีเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ และ กลุ่มผู้ประกอบการที่มีการเติบโตทางธุรกิจที่ดี ซึ่งมีผลมาจการใช้ ไอทีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
การลงทุนทางด้านไอที ช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเพิ่มผลผลิตในการทำงาน และ เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดกับ คู่แข่งในระดับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ดีขึ้น แต่ต้อง แลกด้วย การจัดการกับความซับซ้อนของระบบไอที และ ความเสี่ยงทางด้านไอที ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในการรับมือและรักษาความปลอดภัยของระบบไอที กับภาวะภัยพิบัติซึ่ง สิ่งเหล่านี้เองอาจทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถได้รับประโยชน์จากไอที เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ” คุณประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค ประเทศไทย จำกัด กล่าว
"ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และพบว่ามันสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่จะต้องผลักดันกลยุทธ์ทางด้านไอที ที่จะช่วยให้พวกเขาบรรลุศักยภาพทางธุรกิจอย่างเต็มที ดังนั้นธุรกิจจะต้องคิดแบบเดียวกับเจ้าของธุรกิจที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง โดย ลงทุนทางไอทีเพื่อเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางด้านไอทีให้ตอบสนองวัตถุประสงค์หลักทางธุรกิจ และ จัดการไอทีในองค์กรของพวกเขาให้เป็นไปตามแบบแผน" คุณประมุทกล่าวเสริม
ไซแมนเทคได้ทำการสำรวจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วโลกเกือบ 2,500 แห่ง เพื่อตรวจสอบทัศนคติของกลุ่มธุรกิจที่มีต่อไอที โดยมการสำรวจจากกลุ่มธุรกิจ SMB ในประเทศไทยจำนวน 100 ราย และนำผลการสำรวจเหล่านี้มา ใช้ สร้างเป็น ”ดัชนีความเชื่อมั่นด้านไอทีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” เพื่อใช้เป็นมาตรในการวัด ระดับความเชื่อมั่นในการใช้ไอทีของธุรกิจ SMB เพื่อตอบสนองกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในทางธุรกิจ
โดยทำการแบ่งธุรกิจที่ถูกสำรวจออกเป็น 3 ลำดับชั้น เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างธุรกิจที่อยู่ลำดับที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง( Top Tier ) และดัชนีความเชื่อมั่นในระดับค่อนข้างต่ำซึ่งเป็นพื้นฐานประเด็นสำคัญในการสำรวจครั้งนี้
ความเชื่อมั่นด้านไอทีเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง
หนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้คะแนนความเชื่อมั่นด้านไอทีสูงขึ้นก็คือมุมมองของผู้ก่อตั้งหรือเจ้าของธุรกิจ และวิธีการที่ส่งผลกระทบต่อไอที ร้อยละ 74 ของธุรกิจที่ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง กล่าวว่าประสบการณ์ทางธุรกิจที่ผ่านมาของผู้ก่อตั้ง ของพวกเขามีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อปรัชญาทางด้านไอทีของพวกเขา เมื่อเทียบกับร้อยละ 61 ของบริษัทที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับค่อนข้างต่ำและร้อยละ 73 ในประเทศไทย นอกจากนี้ร้อยละ 83 ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง ใช้ไอทีเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 44 ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดัชนีความเชื่อมั่นในระดับค่อนข้างต่ำและร้อยละ 81 ในประเทศไทย นอกจากนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ที่ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูงยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีคุณภาพสูง และปรับใช้แพลตฟอร์มด้านการประมวลผลชั้นสูง เช่น คลาวด์ และความสามารถในการทำงานแบบเคลื่อนที่ ตลอดจนเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ มีความคุ้มค่ากับความเสี่ยง
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง สะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างผลประกอบการทางธุรกิจที่ดี
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นด้านไอทีสูงสุดกำลังทำสิ่งที่ดีกว่าคู่แข่งที่ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับต่ำในหลากหลายวิธี ร้อยละ 81 ของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มี ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง กล่าวว่า"มีการใช้กลยุทธ์ด้านการประมวลผลเพื่อผลักดันธุรกิจขององค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า" ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด เมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 35 ของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ และร้อยละ 73 ของธุรกิจไทยที่มีส่วนร่วมในการแสดงทัศนคติทางด้านนี้
นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ได้ทำให้การรักษาความปลอดภัยข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญทางธุรกิจด้วย โดยมีร้อยละ 78 ระบุว่าพวกเขาจะค่อนข้างที่จะให้ความสำคัญในเรื่องรักษาความปลอดภัยอย่างมาก เทียบกับร้อยละ 39 สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ และร้อยละ 69 ในประเทศไทย พวกเขายังเล็งเห็นว่าการโจมตีทางไซเบอร์ยังมีไม่มากนัก และการสูญเสียค่าใช้จ่ายยังอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 51 สูญเสียค่าใช้จ่ายรายปีจากการโจมตีทางไซเบอร์ต่ำมาก เมื่อเทียบกับร้อยละ 13 ในองค์กรที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ และร้อยละ 25 ของประเทศไทยในส่วนอื่นๆ เช่นการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล ระยะเวลาในการสำรองข้อมูล และการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ บริษัทที่มีดัชนีความเชื่อมั่นในระดับสูง ให้เหตุผลว่าได้รับผลกระทบน้อยมากจากความซับซ้อนด้านไอที
จำลองแบบความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในระดับต้นๆ
ด้วยแนวคิดแบบเจ้าของธุรกิจ
ลงทุนในคุณค่าไม่ใช่ที่ราคา ในการประเมินโซลูชั่นด้านไอทีสำหรับธุรกิจ ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมควรพิจารณาค่าใช้จ่าย และมูลค่าในระยะยาว และตรวจสอบว่าเทคโนโลยีอะไรที่จะช่วยให้พวกเขาเกิดความแตกต่างในการแข่งขัน ในขณะเดียวกันยังช่วยสนับสนุนการเติบโตในอนาคต
ใช้กลยุทธ์ทางด้านไอทีเพื่อรองรับวัตถุประสงค์หลักทางธุรกิจ ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในอันดับต้นๆ จะจับคู่ความคิดริเริ่มด้านไอทีกับเป้าหมายทางธุรกิจของพวกเขาที่เหมาะสมกัน พวกเขามีความจริงจังมากขึ้นในการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ??เช่น โทรศัพท์มือถือ และคลาวด์ และพวกเขามุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มีดัชนีความเชื่อมั่นสูงควรพิจารณาใช้เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ และการประชุมผ่านทางวิดีโอเพื่อลดค่าใช้จ่ายพื้นฐานและการเดินทาง
การรักษาระบบไอทีไว้ในองค์กรให้เป็นไปตามแบบแผน โดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันข้อมูล การสูญเสียข้อมูล สามารถสร้างความสูญเสียอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและย่อมตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์มากขึ้น ดังนั้นธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่มีดัชนีความเชื่อมั่นสูง จะเข้าถึงความสำคัญของการทำให้ระบบรักษาความปลิดภัยทันสมัยอยู่เสมอ
ร้อยละ ??81 เอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบเดียวกับการเตรียมความพร้อมในการสำรองข้อมูลและภัยพิบัติจากข้อมูลของดัชนีความเชื่อมั่นด้านไอทีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วโลกประจำปี 2556 ของไซแมนเทค
ดัชนีความเชื่อมั่นด้านไอทีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วโลกประจำปี 2556 ของไซแมนเทคเป็นผลของการวิจัยที่ดำเนินการโดย ReRez ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2556 โดยทำการศึกษาธุรกิจ 2,452 แห่งจาก 20 ประเทศ คำตอบมาจากบริษัทต่างๆ ที่มีพนักงานตั้งแต่ 10 - 250 คน