ผลสำรวจของ “ทาวเวอร์ส วัทสัน” ระบุ ระดับเงินเดือนในเอเชียพุ่งร้อยละ 7 ในปี 2014 จีนและเวียดนามนำโด่ง ขณะที่ญี่ปุ่นมีอัตราเพิ่มต่ำสุด

พฤหัส ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๑:๔๐
อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนเป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจบริการทางการเงินแต่ในภาคธุรกิจด้านเภสัชกรรมมีอัตราเพิ่มสูงสุด

การสำรวจจัดทำโดย ทาวเวอร์ส วัทสัน (Towers Watson) (NYSE, NASDAQ: TW) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลธุรกิจระดับโลกระบุ ระดับเงินเดือนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ในปี 2014 โดยจีนและเวียดนามนำโด่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในแง่ของอัตราที่เพิ่มขึ้นหลังจากหักลบอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ญี่ปุ่นมีอัตราเพิ่มต่ำสุด

ทั้งนี้ คาดว่าระดับเงินเดือนในประเทศจีนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และในเวียดนามร้อยละ 11.5 ในปี 2014 (ก่อนเทียบเคียงกับอัตราเงินเฟ้อ) และหลังหักลบอัตราเงินเฟ้อ ทั้งสองประเทศมีระดับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.9 ส่วนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ระดับเงินเดือนในฮ่องกงและสิงคโปร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 อินเดียร้อยละ 11 และญี่ปุ่นร้อยละ 2.3

ผลสำรวจดังกล่าวสนับสนุนมุมมองที่ว่า บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหาทั้งด้านการหาและรักษาพนักงานที่มีทักษะเหมาะสมกับงานไว้ ผลสำรวจที่น่าสนใจประการหนึ่ง ก็คือ กว่าร้อยละ 80 ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า ในปี 2014 การจัดสรรงบประมาณเพื่อเพิ่มเงินเดือนส่วนใหญ่ของพวกเขามุ่งไปที่พนักงานที่มีผลงานดี โดยมีบริษัทไม่ถึงร้อยละ 1 คาดว่าจะชะลอการขึ้นเงินเดือน เมื่อเทียบกับเกือบร้อยละ 4 ในปี 2013

"โดยรวม ข้อมูลสำหรับปี 2013 และ 2014 มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ดังนั้น บริษัทต่างๆ ควรจัดงบประมาณไว้สำหรับการขึ้นเงินเดือนไว้ให้มากเท่ากับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าจะจ่ายได้หรือไม่ หากบริษัทมีการเติบโตในอัตราที่รวดเร็วและรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายอย่างมาก ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะตั้งงบประมาณสำหรับจ่ายเงินเดือนแบบสูงโด่งเมื่อเทียบกับบริษัทที่มีการเติบโตต่ำ" แซมบาฟ ลัคคยาน (Sambhav Rakyan) Global Data Services practice leader ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ทาวเวอร์ส วัทสัน กล่าว

"หลายคนอาจกล่าวว่า 'เงินไม่ใช่ทุกสิ่ง' แต่ความจริงก็คือ จากรายงานการศึกษา Towers Watson 2012 Global Workforce Study ฐานเงินเดือนถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนอันดับหนึ่งในการดึงดูดและการรักษาพนักงานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เรายังเชื่อว่าการกำหนดคุณค่าของพนักงานในบริษัท (employee value proposition: EVP) อย่างเหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญมากเช่นกัน" มร. ลัคคยาน กล่าว โดยอ้างถึงความจำเป็นที่บริษัทต่างๆ จะต้องมี EVP ที่ชัดเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่กำหนดว่านายจ้างรายนั้นควรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไร จัดหาสถานที่ทำงานที่ดีอย่างไร และทำไมบริษัทจึงดึงดูดและรักษาคนดีมีฝีมือไว้ได้ เพื่อสนับสนุนการจ้างงาน การรักษาทรัพยากรบุคคล และการใช้พนักงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ศรีลังกา และบางประเทศในอินโดจีน ถือเป็นผู้นำในแง่มาตรฐานการขึ้นค่าจ้างในอัตราสูง และมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด (ร้อยละ 6-8.5) แต่ประเทศเหล่านี้ยังคงมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ (ร้อยละ 5-7 ยกเว้นกัมพูชา ร้อยละ 4.2) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น

ค่าจ้างและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนยุครุ่งเรืองของบริการทางการเงิน

การสำรวจของ ทาวเวอร์ส วัทสัน มุ่งความสนใจไปที่การขึ้นเงินเดือนในหลายภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ เคมีภัณฑ์ พลังงาน บริการทางการเงิน FMCG (Fast Moving Consumer Goods หมายถึง สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้แล้วหมดไปอย่างรวดเร็ว) เทคโนโลยี สื่อ และยา และช่วงของระดับตำแหน่งงานภายใน องค์กร

ในขณะที่มีการคาดว่าภาคธุรกิจเภสัชกรรมจะขึ้นเงินเดือนสูงสุดโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 7.3 ในปี 2014 สำหรับภูมิภาคนี้ ภาคธุรกิจค้าปลีกและสื่อสารมวลชนจะขึ้นเงินเดือนร้อยละ 5.4-5.7 ซึ่งลดลงจากปี 2013

อย่างไรก็ตาม เงินเดือนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในธุรกิจบริการทางการเงินเป็นที่สนใจอย่างมาก เพราะการขึ้นเงินเดือนดังกล่าวมุ่งไปที่ภาคธุรกิจที่หลุดออกจากภาวะซบเซามานานหลายปี ผู้ที่ทำงานในภาค ธุรกิจบริการทางการเงินคาดว่าจะได้อานิสงส์จากการขึ้นเงินเดือนกันถ้วนหน้าทั่วทั้งภูมิภาค เฉลี่ยร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในปี 2013 คาดว่าการขึ้นเงินเดือนระดับสูงสุดจะเกิดขึ้นในประเทศจีน (ร้อยละ 8.8) อินเดีย (ร้อยละ 10) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 9) ขณะที่ศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของภูมิภาคอย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น จะได้เห็นการขึ้นเงินเดือนไม่มาก คือ ร้อยละ 4, 4.5 และ 2.3 ตามลำดับ ในปี 2014

"การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงในภูมิภาคนี้เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น การเพิ่มขึ้นในส่วนของความต้องการพนักงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (compliance) เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นและการขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคโดยบริษัทที่ก้าวไปทำธุรกิจนอกประเทศของตน" มร. เจฟฟรีย์ แท็ง ผู้อำนวยการฝ่าย Talent and Rewards Practice ของทาวเวอร์ส วัทสัน ในฮ่องกง

คุณพิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของระดับเงินเดือนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดี โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับเงินเดือนในหลายภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นการเตือนให้องค์กรตระหนักถึงการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กรต่อไป อีกประเด็นที่มีความสำคัญที่องค์กรควรจะคำนึง คือการจ่ายเงินเดือนตามผลงานของพนักงาน และความสามารถในการสร้างความต่างในการจ่ายเงินเดือนอย่างมีประสิทธิภาพ (พนักงานที่ทำงานดีได้รับการขึ้นเงินเดือนมากกว่าพนักงานที่ทำงานธรรมดาหรือไม่ดีในเปอร์เซ็นต์ที่เห็นความต่างได้อย่างชัดเจน เป็นต้น) เพื่อที่จะรักษาพนักงานที่มีคุณภาพขององค์กรไว้”

สำหรับข้อมูลอื่นๆสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ :

จานีน ลายออนส์ (Janeen Lyons) [email protected]

หรือ รุจิเรข รัศมีจาตุรงค์ [email protected]

สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

โทร: 02 653 2717-9

แฟ็กซ์ : 02 653 2720

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ